ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๒. สติวินัย

๒. สติวินัย
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์โดยประกาศสมมติให้ว่าเป็นผู้มีสติสมบูรณ์
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร๑-
[๑๘๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระทัพพมัลลบุตร ได้บรรลุ พระอรหัตตผล เมื่ออายุ ๗ ขวบ นับแต่เกิด คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระสาวก จะพึงบรรลุ ท่านก็ได้บรรลุแล้วทั้งหมด อนึ่ง ท่านไม่มีกิจอะไรๆ ที่จะพึงทำยิ่งกว่านี้ หรือกิจที่ทำเสร็จแล้ว ซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี ต่อมา ท่านพระทัพพมัลลบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึงอย่าง นี้ว่า “เราได้บรรลุอรหัตตผลเมื่ออายุ ๗ ขวบ นับแต่เกิด คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่พระสาวกพึงบรรลุ เราก็ได้บรรลุแล้วทั้งหมด ไม่มีกิจอะไรๆ ที่จะพึงทำยิ่งกว่านี้ หรือกิจที่ทำเสร็จแล้วซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี เราควรช่วยอะไรสงฆ์ได้บ้าง” ลำดับนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรตกลงใจว่า “ถ้ากระไร เราควรจัดแจเสนาสนะ และแจกภัตตาหารแก่สงฆ์” ครั้นออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง ณ ที่ สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้า หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้บรรลุอรหัตตผลเมื่ออายุ ๗ ขวบ นับแต่เกิด คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง เราก็ได้บรรลุแล้วทั้งหมด ไม่มีกิจอะไรๆ ที่ จะพึงทำยิ่งไปกว่านี้ หรือกิจที่ทำเสร็จแล้วซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี เราควรช่วยอะไร สงฆ์ได้บ้าง’ พระพุทธเจ้าข้า ถ้ากระไร ข้าพระพุทธเจ้าพึงจัดแจงเสนาสนะและแจก ภัตตาหารแก่สงฆ์ ข้าพระพุทธเจ้า ปรารถนาจะจัดแจงเสนาสนะและแจกภัตตาหาร แก่สงฆ์” @เชิงอรรถ : @ วิ.มหา. (แปล) ๑/๓๘๐/๔๑๒-๔๑๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๐}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๒. สติวินัย

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ดีแล้ว ทัพพะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงจัดแจงเสนาสนะ และแจกภัตตาหารแก่สงฆ์” พระทัพพมัลลบุตรทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว
แต่งตั้งเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงแต่งตั้งทัพพมัลลบุตร ให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจาแต่งตั้ง
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอให้ทัพพมัลลบุตรรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๑๙๐] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง ท่านพระทัพพมัลลบุตร ให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งพระทัพพมัลลบุตรให้เป็น เสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งท่านพระ ทัพพมัลลบุตร ให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ท่านพระทัพพมัลลบุตร สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุท- เทสกะแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติ อย่างนี้” [๑๙๑] เมื่อท่านพระทัพพมัลลบุตร ไดัรับแต่งตั้งแล้ว ย่อมจัดแจงเสนาสนะ สำหรับหมู่ภิกษุผู้มีคุณสมบัติเสมอกันไว้ที่เดียวกัน ดังนี้ คือ จัดแจงเสนาสนะสำหรับ ภิกษุผู้ทรงพระสูตรรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุเหล่านั้นจักซักซ้อมพระ สูตรกัน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๑}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๒. สติวินัย

จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ทรงพระวินัยรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุเหล่านั้นจักวินิจฉัยพระวินัยกัน” จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุเหล่านั้นจักสนทนาพระอภิธรรมกัน” จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ได้ฌานรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุ เหล่านั้นจักไม่รบกวนกัน” จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ชอบกล่าวติรัจฉานกถา ผู้มากไปด้วยการบำรุง ร่างกายรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุเหล่านี้ จะอยู่ตามความพอใจ” ท่านพระทัพพมัลลบุตรนั้นเข้าเตโชกสิณแล้วจัดแจงเสนาสนะด้วยแสงสว่างนั้น สำหรับภิกษุที่มาในเวลาค่ำคืน ภิกษุทั้งหลายจงใจมาในเวลาค่ำคืน ด้วยประสงค์ว่า “พวกเราจะชมอิทธิ- ปาฏิหาริย์ของท่านพระทัพพมัลลบุตร” ก็มี ภิกษุเหล่านั้นพากันเข้าไปหาท่านพระ ทัพพมัลลบุตรกล่าวว่า “ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผม” ท่านพระทัพพมัลลบุตรกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายต้องการพักที่ไหนเล่า ข้าพเจ้า จะจัดแจงในที่ไหน” ภิกษุเหล่านั้นจงใจอ้างที่ไกลๆ ว่า “ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่ ภูเขาคิชฌกูฏ ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่เหวสำหรับทิ้งโจร ท่านจง จัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่กาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้ พวกกระผมที่ถ้ำสัตตบรรณคูหาข้างภูเขาเวภาระ ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวก กระผมที่เงื้อมสัปปโสณฑิกะใกล้สีตวัน ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่ ซอกเขาโคตมกะ ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่ซอกเขาติณฑุกะ ท่าน จงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่ซอกเขากโปตะ ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวก กระผมที่ตโปทาราม ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่ชีวกัมพวัน ท่านจง จัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่มัททกุจฉิมฤคทายวัน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๒}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๒. สติวินัย

ท่านพระทัพพมัลลบุตรเข้าเตโชกสิณ ใช้องคุลีส่องแสงสว่างเดินนำหน้าภิกษุ เหล่านั้น ท่านเหล่านั้นเดินตามท่านพระทัพพมัลลบุตรไปด้วยแสงสว่างนั้น ท่านได้ จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุเหล่านั้น ชี้แจงว่า “นี่เตียง นี่ตั่ง นี่ฟูก นี่หมอน นี่ที่ ถ่ายอุจจาระ นี่ที่ถ่ายปัสสาวะ นี่น้ำฉัน นี่น้ำใช้ นี่ไม้เท้า นี่ระเบียบกติกาสงฆ์ ควร เข้าเวลานี้ ควรออกเวลานี้” ครั้นจัดแจงเสร็จแล้ว กลับมาพระเวฬุวันวิหารตามเดิม
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๓๐๐-๓๐๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=47              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=7937&Z=8017                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=589              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=589&items=5              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=589&items=5                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/brahmali#pli-tv-kd14:4.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/horner-brahmali#Kd.14.3.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :