บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
[๒๒๐] วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล อกุศล หรืออัพยากฤต วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์ เป็นกุศล เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายมีจิตเป็นกุศล วิวาทกันว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓๘}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๘. อธิกรณะ
๑. นี้ธรรม นี้อธรรม ฯลฯ ๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้นใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายมีจิตเป็นอกุศล วิวาทกันว่า ๑. นี้ธรรม นี้อธรรม ฯลฯ ๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่น ในเรื่องนั้นใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายมีจิตเป็นอัพยากฤต วิวาทกันว่า ๑. นี้ธรรม นี้อธรรม ฯลฯ ๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่น ในเรื่องนั้นใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓๙}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๘. อธิกรณะ
[๒๒๑] อนุวาทาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤตหรือ อนุวาทาธิกรณ์ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นกุศล เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้มีจิตเป็นกุศล ย่อมโจทภิกษุ ด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การ ฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตาม เพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นกุศล บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้มีจิตเป็นอกุศล ย่อมโจท ภิกษุด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การ ตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้มีจิตเป็นอัพยากฤต ย่อมโจท ภิกษุด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การ ตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต [๒๒๒] อาปัตตาธิกรณ์เป็นอกุศล หรืออัพยากฤต อาปัตตาธิกรณ์เป็น อกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี อาปัตตาธิกรณ์เป็นกุศลไม่มี บรรดาอาปัตตาธิกรณ์นั้น อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็นไฉน ภิกษุรู้อยู่ เข้าใจอยู่ จงใจ ฝ่าฝืน ล่วงละเมิดอาบัติใด นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอกุศล บรรดาอาปัตตาธิกรณ์นั้น อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๔๐}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๘. อธิกรณะ
ภิกษุไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่จงใจ ไม่ฝ่าฝืน ล่วงละเมิดอาบัติใด นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอัพยากฤต [๒๒๓] กิจจาธิกรณ์เป็นกุศล อกุศล หรืออัพยากฤต กิจจาธิกรณ์เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นกุศล เป็นไฉน สงฆ์มีจิตเป็นกุศล ทำกรรมใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์เป็นกุศล บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็นไฉน สงฆ์มีจิตเป็นอกุศล ทำกรรมใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยิ- กรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์เป็นอกุศล บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน สงฆ์มีจิตเป็นอัพยากฤต ทำกรรมใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์เป็นอัพยากฤตวิวาทาธิกรณ์ [๒๒๔] วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย หรือวิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ก็มี วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วยก็มี บรรดาวิวาทนั้น วิวาทที่เป็นวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมวิวาทกันว่า ๑. นี้ธรรม นี้อธรรม ฯลฯ ๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๔๑}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๘. อธิกรณะ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความกล่าวต่างกัน ความกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้นใด นี้ชื่อว่า วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ บรรดาวิวาทนั้น วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน มารดาวิวาทกับบุตรบ้าง บุตรวิวาทกับมารดาบ้าง บิดาวิวาทกับบุตรบ้าง บุตร วิวาทกับบิดาบ้าง พี่ชายวิวาทกับน้องชายบ้าง พี่ชายวิวาทกับน้องหญิงบ้าง น้อง หญิงวิวาทกับพี่ชายบ้าง สหายวิวาทกับสหายบ้าง นี้ชื่อว่าวิวาท ไม่เป็นอธิกรณ์ บรรดาวิวาทนั้น อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท เป็นไฉน อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ นี้ชื่อว่าอธิกรณ์ ไม่เป็นวิวาท บรรดาวิวาทนั้น อธิกรณ์เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วยเป็นไฉน วิวาทาธิกรณ์เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วยอนุวาทาธิกรณ์ [๒๒๕] การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ การโจทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็น การโจท เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วยหรือ การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ก็มี การโจทไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นการโจทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจท ด้วยก็มี บรรดาการโจทนั้น การโจทที่เป็นอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความ เป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นใด นี้ ชื่อว่า การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ บรรดาการโจทนั้น การโจทที่ไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๔๒}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๘. อธิกรณะ
มารดากล่าวหาบุตรบ้าง บุตรกล่าวหามารดาบ้าง บิดากล่าวหาบุตรบ้าง บุตร กล่าวหาบิดาบ้าง พี่ชายกล่าวหาน้องชายบ้าง พี่ชายกล่าวหาน้องหญิงบ้าง น้อง หญิงกล่าวหาพี่ชายบ้าง สหายกล่าวหาสหายบ้าง นี้ชื่อว่าการโจท ไม่เป็นอธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่ไม่เป็นการโจท เป็นไฉน อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์ไม่เป็นการโจท บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย เป็นไฉน อนุวาทาธิกรณ์เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วยอาปัตตาธิกรณ์ [๒๒๖] อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ก็มี อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วยก็มี บรรดาอธิกรณ์นั้น อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน อาบัติ ๕ กองเป็นอาปัตตาธิกรณ์บ้าง อาบัติ ๗ กองเป็นอาปัตตาธิกรณ์บ้าง นี้ชื่อว่า อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอาบัตินั้น อาบัติที่ไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน โสดาบัติ สมาบัติ นี้ชื่อว่า อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่ไม่เป็นอาบัติ เป็นไฉน กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติ บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย เป็นไฉน อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย [๒๒๗] กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ กิจไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ เป็นอธิกรณ์ ด้วย เป็นกิจด้วย หรือกิจเป็นกิจจาธิกรณ์ก็มี กิจไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็น กิจก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วยก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๔๓}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
บรรดาอธิกรณ์นั้น กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน ความเป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีย์แห่งสงฆ์ใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้ชื่อว่า กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์นั้น กิจไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน กิจที่จะต้องทำแก่พระอาจารย์ กิจที่จะต้องทำแก่พระอุปัชฌาย์ กิจที่จะต้อง ทำแก่ภิกษุผู้เสมออุปัชฌาย์ กิจที่จะต้องทำแก่ภิกษุผู้เสมอพระอาจารย์ นี้ชื่อว่ากิจไม่ เป็นอธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ เป็นไฉน วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย เป็นไฉน กิจจาธิกรณ์เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วยอธิกรณะ จบ ๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ ว่าด้วยความสงบระงับอธิกรณ์ สัมมุขาวินัย วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง [๒๒๘] วิวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร วิวาทาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสมถะ ๒ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) เยภุยยสิกา บางทีวิวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ เยภุยยสิกา พึงระงับด้วย สมถะอย่างเดียว คือ สัมมุขาวินัย บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมวิวาทกันว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๔๔}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
๑. นี้ธรรม นี้อธรรม ๒. นี้วินัย นี้มิใช่วินัย ๓. นี้ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ นี้ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้ ๔. นี้จริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมา นี้จริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา ๕. นี้ตถาคตทรงบัญญัติไว้ นี้ตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ ๖. นี้อาบัติ นี้อนาบัติ ๗. นี้อาบัติเบา นี้อาบัติหนัก ๘. นี้อาบัติมีส่วนเหลือ นี้อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพวกนั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ นี้เรียกว่า อธิกรณ์ ระงับแล้ว อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ พร้อมหน้าบุคคล อนึ่ง ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควร ฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัย นั้น อนึ่ง ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัยและโดยสัตถุศาสน์ใด นี้ชื่อว่า ความพร้อม หน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัยในสัมมุขาวินัยนั้น อนึ่ง ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๔๕}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
โจทก์และจำเลยทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อม หน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น๑- ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน๒- [๒๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาส นั้นได้ พวกเธอพึงไปสู่อาวาสที่มีภิกษุมากกว่า ถ้าพวกเธอกำลังไปสู่อาวาสนั้นสามารถ ระงับอธิกรณ์นั้นได้ในระหว่างทาง นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ พร้อมหน้าบุคคล อนึ่ง ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควร ฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัย นั้น อนึ่ง ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ใด นี้ชื่อว่า ความ พร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัยในสัมมุขาวินัยนั้น อนึ่ง ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร โจทก์และจำเลยทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อม หน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้น @เชิงอรรถ : @๑ อาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น เรียกว่า อุกโกฏนกปาจิตตีย์ @๒ อาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน เรียกว่า ขียนกปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๔๖}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน [๒๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นกำลังไปสู่อาวาสนั้น ไม่สามารถระงับ อธิกรณ์นั้นในระหว่างทางได้ พวกเธอไปถึงอาวาสนั้นแล้ว พึงกล่าวกับภิกษุที่อยู่ ประจำในอาวาสว่า ท่านทั้งหลาย อธิกรณ์นี้เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้วอย่างนี้ ขอโอกาสท่านทั้งหลาย จงระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ตามวิถีทางที่อธิกรณ์นี้จะระงับด้วยดี ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสเป็นผู้แก่พรรษากว่า พวก ภิกษุอาคันตุกะอ่อนพรรษากว่า พวกเธอพึงกล่าวกับภิกษุอาคันตุกะว่า ท่านทั้งหลาย ขอนิมนต์ท่านทั้งหลายจงรวมอยู่ ณ ที่สมควรสักครู่หนึ่ง ตลอดเวลาที่พวกผมจะ ปรึกษากัน แต่ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสเป็นผู้อ่อนกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะ แก่กว่า พวกเธอพึงกล่าวกับภิกษุอาคันตุกะว่า ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่าน ทั้งหลายจงอยู่ ณ ที่นี้สักครู่หนึ่งจนกว่าพวกผมจะปรึกษากัน ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสกำลังปรึกษา คิดกันอย่างนี้ว่า พวกเราไม่สามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัยและโดยสัตถุศาสน์ พวกเธอ ไม่พึงรับอธิกรณ์นั้นไว้ แต่ถ้ากำลังปรึกษา คิดกันอย่างนี้ว่า พวกเราสามารถ ระงับ อธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ พวกเธอพึงกล่าวกะพวก ภิกษ ุอาคันตุกะว่า ท่านทั้งหลาย ถ้าพวกท่านจักแจ้งอธิกรณ์นี้ตามที่เกิดแล้ว ตามที่อุบัติ แล้วแก่พวกเรา เหมือนอย่างพวกเราจักระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดย สัตถุศาสน์ ฉันใด อธิกรณ์นี้จักระงับด้วยดีฉันนั้น อย่างนี้พวกเราจึงจักรับ อธิกรณ์นี้ ถ้าพวกท่านจักไม่แจ้งอธิกรณ์นี้ตามที่เกิดแล้ว ตามที่อุบัติแล้วแก่พวกเรา เหมือนอย่าง พวกเราจักระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ฉันใด อธิกรณ์นี้ จักไม่ระงับด้วยดี ฉันนั้น พวกเราจักไม่รับอธิกรณ์นี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๔๗}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสพึงรอบคอบอย่างนี้แล้วรับอธิกรณ์ นั้นไว้ พวกภิกษุอาคันตุกะนั้น พึงกล่าวกะพวกภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสว่า พวกผม จักแจ้งอธิกรณ์นี้ตามที่เกิดแล้ว ตามที่อุบัติแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลาย สามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ระหว่างเวลาเท่านี้ได้ อธิกรณ์จักระงับด้วยดีเช่นว่านั้น อย่างนี้ พวกผมจักมอบอธิกรณ์แก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายไม่สามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัยและโดยสัตถุศาสน์ ระหว่างเวลาเท่านี้ได้ อธิกรณ์จักไม่ระงับด้วยดีเช่นว่านั้น พวกผมจักไม่มอบอธิกรณ์นี้ แก่ท่านทั้งหลาย พวกผมนี้แหละจักเป็นเจ้าของอธิกรณ์นี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุอาคันตุกะพึงรอบคอบอย่างนี้ แล้วจึงมอบอธิกรณ์นั้น แก่พวกภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาส ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ นี้เรียกว่า อธิกรณ์ ระงับดีแล้ว อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๔๘}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
อุพพาหิกายวูปสมนะ ว่าด้วยการระงับอธิกรณ์ด้วยอุพพาหิกวิธี๑- [๒๓๑] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ มีเสียงเซ็ง แซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุดและไม่มีใครทราบความแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น เราอนุญาต ให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๐ ประการ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกวิธี คือ ๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด ที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง และงามในที่สุด ย่อมสรรเสริญพรหมจรรย์พร้อม ทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ธรรมทั้งหลาย เห็นปานนั้น ย่อมเป็นอันเธอสดับมาก ทรงไว้ สั่งสมด้วยวาจาเข้าไป เพ่งด้วยใจ ประจักษ์ชัดดีแล้วด้วยทิฏฐิ ๓. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ ได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี สวดดี วินิจฉัยถูก ต้องโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ ๔. เป็นผู้ตั้งมั่นในพระวินัย ไม่คลอนแคลน ๕. เป็นผู้อาจชี้แจงให้คู่ต่อสู้ในอธิกรณ์ยินยอม เข้าใจ เพ่ง เห็น เลื่อมใส ๖. เป็นผู้ฉลาดเพื่อยังอธิกรณ์อันเกิดขึ้นให้ระงับ ๗. รู้อธิกรณ์ ๘. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๙. รู้ความระงับแห่งอธิกรณ์ ๑๐. รู้ทางระงับอธิกรณ์ @เชิงอรรถ : @๑ อุพพาหิกวิธี คือ วิธีระงับวิวาทาธิกรณ์ ในกรณีที่ประชุมสงฆ์มีความไม่สะดวกด้วยเหตุบางอย่าง สงฆ์จึง @เลือกภิกษุบางรูปในที่ประชุมนั้น ตั้งเป็นคณะแล้วมอบเรื่องให้นำไปวินิจฉัย (วิ.อ. ๓/๒๓๑/๒๙๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๔๙}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๐ นี้ ด้วย อุพพาหิกวิธีวิธีแต่งตั้ง และกรรมวาจา ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุนั้นอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๒๓๒] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีใครทราบอรรถแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ด้วย ชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วย อุพพาหิกวิธี นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่ มีเสียง เซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีใครทราบความแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น สงฆ์ แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ด้วย ชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี ท่านรูปใดเห็น ด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ด้วย ชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ภิกษุชื่อนี้ด้วย ชื่อนี้ด้วย สงฆ์แต่งตั้งแล้ว เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้นด้วยอุพพาหิกวิธี นี้ เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๕๐}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
[๒๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ ในบริษัท นั้นเกิดมีภิกษุธรรมกถึก ภิกษุนั้นจำสูตรไม่ได้เลย จำวิภังค์แห่งสูตรก็ไม่ได้ ภิกษุนั้น ไม่ได้สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตามเค้าพยัญชนะ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง ประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบด้วยญัตติกรรมวาจาญัตติกรรมวาจา ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นธรรมกถึก ท่านจำสูตรไม่ ได้เลย จำวิภังค์แห่งสูตรก็ไม่ได้ ท่านไม่ได้สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตามเค้า พยัญชนะ ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้ว พวกเราพึงขับภิกษุชื่อนี้ให้ออกไปแล้วที่ เหลือพึงระงับอธิกรณ์นี้ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นขับภิกษุนั้นออกไปแล้ว สามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ ในบริษัทนั้นเกิดมี ภิกษุธรรมกถึก ท่านจำสูตรได้ แต่จำวิภังค์แห่งสูตรไม่ได้เลย ท่านไม่ได้สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตามเค้าพยัญชนะ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้น ทราบด้วยคณญัตติว่าญัตติกรรมวาจา ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นธรรมกถึก ท่านจำสูตรได้แต่ จำวิภังค์แห่งสูตรไม่ได้เลย ท่านไม่สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตามเค้าพยัญชนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๕๑}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้ว พวกเราพึงขับภิกษุชื่อนี้ให้ออกไป แล้วที่เหลือพึงระงับ อธิกรณ์นี้ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นขับภิกษุนั้นออกไปแล้ว สามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้นเยภุยยสิกาวินัย [๒๓๔] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถระงับอธิกรณ์นั้นด้วย อุพพาหิก วิธี ภิกษุเหล่านั้นพึงมอบอธิกรณ์นั้นแก่สงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้า ไม่สามารถ ระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ขอสงฆ์นั่นแหละจงระงับอธิกรณ์นี้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยเยภุยยสิกา พึงแต่งตั้ง ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๕ ให้เป็นผู้ให้จับสลาก คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. พึงรู้จักสลากที่จับแล้วและยังไม่จับ ฯลฯวิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ ให้เป็นผู้ให้จับสลาก นี่เป็นญัตติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๕๒}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับสลาก ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับสลาก ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์แต่งตั้งแล้วให้เป็นผู้ให้จับสลาก สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้นพึงให้ภิกษุทั้งหลายจับสลาก พวกธรรมวาทีภิกษุมากกว่า ย่อมกล่าวฉันใด พึงระงับอธิกรณ์นั้นฉันนั้น นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย และเยภุยยสิกา ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ พร้อมหน้าบุคคล อนึ่ง ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควร ฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขา วินัยนั้น อนึ่ง ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ใด นี้ชื่อว่า ความพร้อม หน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัยในสัมมุขาวินัยนั้น อนึ่ง ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร โจทก์และจำเลยทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อม หน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้น อนึ่ง ในเยภุยยสิกานั้นมีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่ คัดค้านกรรมในเยภุยยสิกาอันใด มีในเยภุยยสิกานั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๕๓}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียนติวิธสลากคาหะ ว่าด้วยการจับสลาก ๓ วิธี [๒๓๕] สมัยนั้น อธิกรณ์เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้วอย่างนี้ ในกรุงสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของสงฆ์ในกรุงสาวัตถี ได้ทราบข่าวว่า ใน อาวาสโน้น มีพระเถระอยู่หลายรูป เป็นพหูสูต ชำนาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา ถ้าพระเถระเหล่านั้นพึงระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดย สัตถุศาสน์ อย่างนี้อธิกรณ์นี้พึงระงับด้วยดี จึงไปสู่อาวาสนั้นแล้วเรียนกับพระเถระ พวกนั้นว่า ท่านผู้เจริญ อธิกรณ์นี้เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้ว อย่างนี้ ขอโอกาสขอรับ ขอพระเถระทั้งหลายจงระงับอธิกรณ์นี้ โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ตามวิถีทางที่อธิกรณ์นี้พึงระงับด้วยดี พระเถระพวกนั้นช่วยระงับอธิกรณ์นั้นแล้ว เหมือนอย่างที่สงฆ์ในกรุงสาวัตถี ระงับแล้ว ตามวิธีที่ระงับด้วยดีแล้วฉะนั้น ครั้งนั้น ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่พอใจ ด้วยการ ระงับอธิกรณ์ของสงฆ์ในกรุงสาวัตถีนั้น ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของพระเถระ มากรูป ได้ทราบข่าวว่า ในอาวาสโน้น มีพระเถระอยู่ ๓ รูป ฯลฯ มีพระเถระอยู่ ๒ รูป ฯลฯ มีพระเถระอยู่รูปเดียว เป็นพหูสูต ชำนาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา ถ้าพระเถระนั้นพึงระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ อย่างนี้อธิกรณ์นี้พึงระงับด้วยดี จึงไปสู่อาวาสนั้น แล้วกราบเรียนพระเถระนั้นว่า ท่านขอรับ อธิกรณ์นี้เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้วอย่างนี้ ขอโอกาสขอรับ ขอพระเถระ จงระงับอธิกรณ์นี้ โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ตามวิถีทางที่อธิกรณ์นี้ จะพึงระงับด้วยดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๕๔}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
พระเถระนั้นช่วยระงับอธิกรณ์นั้นแล้ว เหมือนอย่างที่สงฆ์ในกรุงสาวัตถีระงับแล้ว เหมือนอย่างที่พระเถระมากรูประงับแล้ว เหมือนอย่างที่พระเถระ ๓ รูประงับแล้ว และเหมือนอย่างที่พระเถระ ๒ รูประงับแล้ว ตามวิธีที่ระงับด้วยดีแล้ว ฉะนั้น ครั้งนั้น พวกภิกษุเหล่านั้นผู้ที่ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของสงฆ์ในกรุง สาวัตถี ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของพระเถระมากรูป ไม่พอใจด้วยการระงับ อธิกรณ์ของพระเถระ ๓ รูป ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของพระเถระ ๒ รูป ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของพระเถระรูปเดียว แล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มี พระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ที่พิจารณาแล้วนั้นเป็นอัน สงบระงับ ระงับดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวิธีจับสลาก ๓ อย่าง คือ ปกปิด ๑ กระซิบบอก ๑ เปิดเผย ๑ ตามความยินยอมของภิกษุพวกนั้น ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง วิธีจับสลากปกปิด เป็นไฉน ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้นพึงทำสลากให้มีสี และไม่มีสี แล้วเข้าไปหาภิกษุทีละรูปๆ แล้วแนะนำอย่างนี้ว่า นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ ท่าน จงจับสลากที่ชอบใจ เมื่อภิกษุนั้นจับแล้ว พึงแนะนำว่า ท่านอย่าแสดงแก่ใครๆ ถ้ารู้ว่า อธรรมวาทีมากกว่า พึงบอกว่า สลากจับไม่ดี แล้วให้จับใหม่ ถ้ารู้ว่า ธรรมวาทีมากกว่า พึงประกาศว่า สลากจับดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย วิธีจับสลาก ปกปิดเป็นอย่างนี้แหละ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง วิธีจับสลากกระซิบบอก เป็นไฉน ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้น พึงกระซิบบอกที่ใกล้หูของภิกษุแต่ละรูปๆ ว่า นี้ สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ ท่านจงจับสลากที่ชอบใจ เมื่อ ภิกษุนั้นจับแล้ว พึงแนะนำว่า ท่านอย่าบอกแก่ใครๆ ถ้ารู้ว่า อธรรมวาทีมาก กว่า พึงบอกว่า สลากจับไม่ดี แล้วให้จับใหม่ ถ้ารู้ว่า ธรรมวาทีมากกว่า พึง ประกาศว่า สลากจับดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย วิธีจับสลาก กระซิบบอกเป็นอย่าง นี้แหละ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๕๕}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง วิธีจับสลากเปิดเผย เป็นไฉน ถ้ารู้ว่าธรรมวาทีมากกว่า พึงให้จับสลากเปิดเผย อย่างแจ่มแจ้ง วิธีจับสลาก เปิดเผยเป็นอย่างนี้แหละ ภิกษุทั้งหลาย วิธีจับสลาก ๓ อย่างนี้แลเนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๓๓๘-๓๕๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=56 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=8948&Z=9329 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=650 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=650&items=32 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=650&items=32 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/brahmali#pli-tv-kd14:14.8.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/horner-brahmali#Kd.14.14.8
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]