ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑
พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๑
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. กัมมขันธกะ
๑. ตัชชนียกรรม
เรื่องภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ
[๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะ๑- ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความ บาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์แล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถกว่าภิกษุ นั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน” ทำให้ความบาดหมาง ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป @เชิงอรรถ : @ ปณฺฑุกโลหิตกา ตามศัพท์แปลว่า พระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ แต่ในที่นี้ ท่านหมายเอาพวกภิกษุผู้เป็น @นิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ (วิ.อ. ๓/๑/๒๕๑, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑/๔๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ จึงก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่าน เป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถกว่าภิกษุนั้น อย่า กลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’ ดังนี้เล่า ทำให้ความบาดหมาง ที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป”
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
[๒] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง ทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความ บาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบ ให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถ กว่าภิกษุนั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’ ดังนี้ ทำให้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ เหล่านั้นไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

ทำเลย ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษทั้งหลายจึงก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่อ อธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลาย จงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และ สามารถกว่าภิกษุนั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอย เป็นฝ่ายพวกท่าน’ ดังนี้เล่า ทำให้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออก ไป ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคน ที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริงกลับจะ ทำให้คนที่ไม่เลื่อมใส ก็ไม่เลื่อมใส ไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่บางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป”
ทรงรับสั่งให้ลงตัชชนียกรรม
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ โลหิตกะโดยประการต่างๆ แล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก บำรุงยาก มักมาก ไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคน เลี้ยงง่าย บำรุงง่าย มักน้อย สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัดกิเลส อาการน่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่างๆ ทรงแสดงธรรมีกถา ให้เหมาะสม ให้คล้อยตามกับเรื่องนั้นแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ”
วิธีลงตัชชนียกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงโจทพวกภิกษุ นิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ครั้นแล้วให้ภิกษุเหล่านั้นให้การแล้วจึงปรับ อาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ จตุตถกรรมวาจาว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

[๓] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและ พระโลหิตกะ ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าว อย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถกว่าภิกษุนั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’ ทำให้ความบาดหมางที่ ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึง ลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ โลหิตกะ ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไป หาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่านเป็น บัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถกว่าภิกษุนั้น อย่ากลัว ภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน” ทำให้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป สงฆ์ลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุ นิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงตัชชนียกรรม แก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่ เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่อ อธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลาย จงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถกว่าภิกษุนั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

ทำให้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป สงฆ์ ลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปใดเห็น ด้วยกับการลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุ พวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่อ อธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลาย จงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถกว่าภิกษุนั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’ ทำให้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป สงฆ์ ลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปใดเห็นด้วย กับการลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูป นั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ตัชชนียกรรมสงฆ์ลงแล้วแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยตัชชนียกรรมที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๔] ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบ ด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

๑. ลงลับหลัง๑- ๒. ลงโดยไม่สอบถาม ๓. ไม่ลงตามปฏิญญา ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี๒- ๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๓) @เชิงอรรถ : @ ลงลับหลัง หมายถึงลงโดยที่สงฆ์ ธรรมวินัยและบุคคลไม่อยู่พร้อมหน้ากัน (วิ.อ. ๓/๔/๒๕๑) @ อาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ได้แก่ อาบัติปาราชิกและอาบัติสังฆาทิเสส (วิ.อ. ๓/๔/๒๕๑) @ที่ชื่อว่าอเทสนาคามินี เพราะเป็นอาบัติที่ไม่อาจพ้นได้ด้วยการแสดง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๔)
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๕)
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๗)
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๘)
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๐)
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๑)
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๒)
อธัมมกัมมทวาทสกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยตัชชนียกรรมที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๕] ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบ ด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน ๓. ลงตามปฏิญญา ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี๑- ๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ @เชิงอรรถ : @ อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ได้แก่ อาบัติเบา ๕ อย่าง (คือ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ @ทุพภาสิต) (วิ.อ. ๓/๔๗๕/๕๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๓)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๔)
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๕)
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๖)
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๗)
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๘)
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๙)
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๐)
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๑)
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๒)
ธัมมกัมมทวาทสกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๑-๑๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=1&Z=274                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=1              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=1&items=27              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=5650              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=1&items=27              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=5650                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :