ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับวัตถุ ๑๐ ประการ
[๔๕๒] ครั้งนั้น ท่านพระสัมภูตสาณวาสี บอกท่านพระยสกากัณฑกบุตรว่า “ท่าน ท่านพระเรวตะรูปนี้ เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรง มาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่ การศึกษา ถ้าพวกเราจะถามปัญหา ท่านสามารถจะแก้ปัญหาข้อเดียวได้ตลอดทั้งคืน แต่เวลานี้ท่านพระเรวตะจะเชิญภิกษุอันเตวาสิกให้สวดสรภัญญะ เมื่อภิกษุรูปนั้นสวด สรภัญญะจบ ท่านควรเข้าไปหาท่านพระเรวตะถามวัตถุ ๑๐ ประการเหล่านี้” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรรับคำท่านพระสัมภูตสาณวาสีแล้ว @เชิงอรรถ : @ สหชาตินคร เป็นเมืองเล็กๆ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่(น้ำคง) เป็นนิคมหนึ่งแห่งแคว้นเจตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๔๐๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติกขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะเชิญภิกษุอันเตวาสิกให้สวดสรภัญญะ เมื่อภิกษุรูปนั้น สวดสรภัญญะจบ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรจึงเข้าไปหาท่านพระเรวตะ ครั้นแล้ว อภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระเรวตะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สิงคิโลณกัปปะ ควรหรือ” ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน สิงคิโลณกัปปะนั้นคืออะไร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การเก็บเกลือไว้ในเขนงด้วย ตั้งใจว่า ‘จะฉันกับอาหารรสไม่เค็ม’ ควรหรือ” ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทวังคุลกัปปะควรหรือ” ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน ทวังคุลกัปปะนั้นคืออะไร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การฉันโภชนะในเวลาวิกาล เมื่อเงา(ของดวงอาทิตย์)เลย(เวลาเที่ยง)ไป ๒ องคุลี ควรหรือ” ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ คามันตรกัปปะควรหรือ” ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน คามันตรกัปปะนั้นคืออะไร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุฉันเสร็จแล้ว ห้าม ภัตตาหารแล้วคิดว่า ‘จะเข้าไปละแวกหมู่บ้านในบัดนี้’ แล้วฉันโภชนะที่ไม่เป็นเดน ควรหรือ” ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ อาวาสกัปปะควรหรือ” ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน อาวาสกัปปะนั้นคืออะไร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ อาวาสหลายแห่งที่มีสีมาเสมอกัน จะแยกกันทำอุโบสถ ควรหรือ” ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ อนุมติกัปปะควรหรือ” ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน อนุมติกัปปะคืออะไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๔๐๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติกขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ สงฆ์แบ่งพวกกันทำกรรมด้วย ตั้งใจว่า ‘พวกเราจะให้ผู้มาแล้วอนุมัติ’ ควรหรือ” ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ อาจิณณกัปปะควรหรือ” ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน อาจิณณกัปปะนั้นคืออะไร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การประพฤติตามด้วยเข้าใจ ว่า ‘สิ่งนี้พระอุปัชฌาย์ของเราประพฤติมา สิ่งนี้พระอาจารย์ของเราประพฤติมา’ ควรหรือ” ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน สิ่งที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์ประพฤติมา บางอย่าง ควร บางอย่างไม่ควร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “อมถิตกัปปะควรหรือ” ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน อมถิตกัปปะนั้นคืออะไร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ นมสดที่ละความเป็นนมสด แล้วแต่ยังไม่ถึงกับเป็นนมเปรี้ยว ภิกษุทั้งหลายฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตตาหารแล้ว จะ ดื่มนมนั้นที่ไม่เป็นเดน ควรหรือ” ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญการดื่มชโลคิควรหรือ” พระเรวตะย้อมถามว่า “ท่าน ชโลคินั้นคืออะไร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การดื่มสุราชนิดอ่อนที่ยังไม่ แปรเป็นน้ำเมา ควรหรือ” ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควรหรือ” ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทองและเงิน ควรหรือ” ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี แสดงวัตถุ ๑๐ ประการนี้ในกรุงเวสาลี ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ พวกเรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๔๐๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติกขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

จงช่วยกันวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ ก่อนที่อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกคัดค้าน สิ่งมิใช่วินัย จะรุ่งเรือง วินัยจะถูกคัดค้าน ก่อนที่พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะอ่อน กำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง พวกวินยวาทีจะอ่อนกำลัง ท่านพระเรวตะรับคำของท่านพระยสกากัณฑกบุตรแล้ว
ปฐมภาณวาร จบ
๒. ทุติยภาณวาร
[๔๕๓] พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีพอได้ทราบข่าวว่า “ท่านพระยส- กากัณฑกบุตรประสงค์จะรับหน้าที่วินิจฉัยอธิกรณ์นี้ กำลังหาพรรคพวก และได้ พรรคพวกแล้ว” ครั้งนั้นแล พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อธิกรณ์ เรื่องนี้หยาบคายรุนแรง ทำอย่างไรพวกเราจึงจะได้พรรคพวกที่ทำให้เข้มแข็งมากกว่า นี้เล่า” ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้ปรึกษากันต่อไปดังนี้ว่า “ท่าน พระเรวตะรูปนี้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็น บัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา ถ้าพวกเราได้ท่านพระเรวตะมาร่วมเป็นพรรคพวก ก็จะเข้มแข็งยิ่งกว่านี้” ต่อมา พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีจัดเตรียมสมณบริขารอย่างเพียงพอ คือ บาตรบ้าง จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง กล่องเข็มบ้าง ประคดเอวบ้าง ผ้ากรองน้ำบ้าง กระบอกกรองน้ำบ้าง ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีขนสมณบริขารนั้นโดยสารเรือไป สหชาตินคร ขึ้นจากเรือ หยุดพักผ่อนฉันอาหารร่วมกันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๔๐๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๔๐๓-๔๐๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=116              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=7891&Z=7963                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=642              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=642&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=642&items=2                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd22/en/brahmali#pli-tv-kd22:1.10.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd22/en/horner-brahmali#Kd.22.1.10



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :