ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องบานประตู
[๒๙๖] คนทั้งหลายได้ทราบข่าวว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตวิหาร” จึง พากันสร้างวิหารอย่างกระตือรือร้น วิหารเหล่านั้นไม่มีบานประตู งูบ้าง แมงป่องบ้าง ตะขาบบ้างจึงเข้าไปได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู” ภิกษุทั้งหลายเจาะช่องฝา ใช้เถาวัลย์บ้าง เชือกบ้างผูกบานประตู หนูบ้าง ปลวกบ้าง กัดเชือกที่ผูกไว้ บานประตูที่ถูกกัดตกลงมา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกรอบเช็ดหน้า รูครกที่ รับเดือยประตู ห่วงข้างบน” บานประตูปิดได้ไม่สนิท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๙๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตช่องสำหรับชัก เชือก สำหรับชัก”๑- บานประตูปิดไม่อยู่ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม กลอน”
เรื่องลูกดาล
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถปิดประตูได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกดาล ๓ ชนิด คือ ลูกดาลโลหะ ลูกดาลไม้ ลูกดาลเขาสัตว์” ใครๆ ก็เปิดเข้าไปได้ วิหารทั้งหลายคุ้มกันไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลิ่มยนต์” สมัยนั้น วิหารที่มุงหญ้าทั้งหลายพอถึงฤดูหนาวก็หนาว ถึงฤดูร้อนก็ร้อน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบ ทั้งภายในภายนอก”
เรื่องบานหน้าต่าง
สมัยนั้น วิหารทั้งหลายยังไม่มีหน้าต่าง ทำให้เสียสายตา มีกลิ่นอับ ภิกษุ ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @ ช่องสำหรับชัก คือช่องที่สอดนิ้วมือเข้าไปแล้วจับบานประตูดึงปิดจนสนิท @เชือกสำหรับชัก คือเชือกที่สอดเข้าทางช่องประตูที่เจาะไว้ผูกสำหรับปิดประตู (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๙๖/๔๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๙๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหน้าต่าง ๓ ชนิด คือ หน้าต่างมีลวดลายทำเป็นกะบัง(ชุกชี) หน้าต่างมีตาข่าย หน้าต่างมีลูกกรง” กระแตบ้าง ค้างคาวบ้างก็ยังเข้าไปที่ซอกหน้าต่างได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผืนผ้าเล็กสำหรับกั้น หน้าต่าง” กระแตบ้าง ค้างคาวบ้างก็ยังเข้าไปทางช่องหน้าต่าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม่านหน้าต่าง” กระแตบ้าง ค้างคาวบ้างเข้าไปทางม่านหน้าต่าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานหน้าต่าง เครื่องอัด บานหน้าต่าง”
เรื่องเครื่องลาดตั่งไม้เตียงถักสาน
สมัยนั้น ภิกษุนอนบนพื้นดิน เนื้อตัวบ้าง จีวรบ้างเปื้อนฝุ่น ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้หญ้ารองนั่ง” หญ้าที่รองถูกหนูบ้าง ปลวกบ้างกัด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งไม้” เมื่อนอนบนตั่งนั้น เนื้อตัวเจ็บ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงถักหรือเตียงสาน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๙๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

มัญจปีฐาทิอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตเตียงและตั่งเป็นต้น
เรื่องเตียงและตั่ง
[๒๙๗] สมัยนั้น เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เกิดขึ้นแก่ สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงชนิดมีแม่แคร่สอด เข้าในเท้า” ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้า” สมัยนั้น เตียงมีแม่แคร่ติดกับเท้า ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุ ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงชนิดมีแม่แคร่ติดกับ เท้า” ตั่งชนิดมีแม่แคร่ติดกับเท้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งชนิดมีแม่แคร่ติดกับเท้า” สมัยนั้น เตียงมีเท้าดังก้ามปู ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงชนิดมีเท้าดังก้ามปู” ตั่งมีเท้าดังก้ามปูที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๙๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งชนิดมีเท้าดังก้ามปู” สมัยนั้น เตียงมีเท้าจดแม่แคร่ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงชนิดมีเท้าจดแม่แคร่” ตั่งมีเท้าจดแม่แคร่ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งชนิดมีเท้าจดแม่แคร่”
เรื่องม้านั่งชนิดต่างๆ
สมัยนั้น ม้านั่งสี่เหลี่ยม เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้านั่งสี่เหลี่ยม” ม้านั่งสี่เหลี่ยมสูง เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้านั่งสี่เหลี่ยมสูง” ม้านั่งสี่เหลี่ยมสูงมีพนัก ๓ ด้าน เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้านั่งสี่เหลี่ยมสูงมีพนัก ๓ ด้าน” ม้านั่งสี่เหลี่ยมมีพนัก ๓ ด้านชนิดสูง เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้านั่งสี่เหลี่ยมมีพนัก ๓ ด้านชนิดสูง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๙๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

ตั่งหวาย เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งหวาย” ตั่งหุ้มด้วยผ้า เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งหุ้มด้วยผ้า” ตั่งขาทราย เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ ภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งขาทราย” ตั่งก้านมะขามป้อม เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งก้านมะขามป้อม” แผ่นกระดาน เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผ่นกระดาน” เก้าอี้เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเก้าอี้” ตั่งฟาง เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งฟาง”
เรื่องห้ามนอนบนเตียงสูง
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นอนบนเตียงสูง คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมวิหาร เห็นจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๙๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนอนบนเตียงสูง รูปใด นอน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องไม้หนุนเท้าเตียง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนอนบนเตียงต่ำ ถูกงูกัด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้หนุนเท้าเตียง” สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ไม้หนุนเท้าเตียงสูง สลักติดกับไม้หนุนเท้าเตียง คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมวิหารเห็นจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ ผู้บริโภคกาม” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุไม่พึงใช้ไม้หนุนเท้าเตียงสูง รูปใดใช้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้หนุนเท้าเตียงสูง ๘ นิ้วเป็นอย่างมาก”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๙๒-๙๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=29              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=1687&Z=1777                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=204              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=204&items=13              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=204&items=13                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/brahmali#pli-tv-kd16:2.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/horner-brahmali#Kd.16.2



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :