บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๙. อุพพาหิกวรรค หมวดว่าด้วยอุพพาหิกสมมติ ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา [๔๕๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้ง ด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ ๑. ไม่ฉลาดในอรรถ ๒. ไม่ฉลาดในธรรม ๓. ไม่ฉลาดในการกล่าวด้วยภาษา ๔. ไม่ฉลาดในกระบวนอักษร ๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๓๙}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๙. อุพพาหิกวรรค
แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ ๑. ฉลาดในอรรถ ๒. ฉลาดในธรรม ๓. ฉลาดในการกล่าวด้วยภาษา ๔. ฉลาดในกระบวนอักษร ๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกาไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ ๑. เป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ ๒. เป็นผู้ลบหลู่ ถูกความลบหลู่ครอบงำ ๓. เป็นผู้ตีเสมอ ถูกความตีเสมอครอบงำ ๔. เป็นผู้มีปกติริษยา ถูกความริษยาครอบงำ ๕. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกาแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ ๑. ไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ ๒. ไม่เป็นผู้ลบหลู่ ไม่ถูกความลบหลู่ครอบงำ ๓. ไม่เป็นผู้ตีเสมอ ไม่ถูกความตีเสมอครอบงำ ๔. ไม่เป็นผู้มีปกติริษยา ไม่ถูกความริษยาครอบงำ ๕. ไม่เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน ไม่มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ง่าย อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๔๐}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๙. อุพพาหิกวรรค
ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ ๑. โกรธ ๒. พยาบาท ๓. เบียดเบียน ๔. ยั่วให้โกรธ ๕. ไม่อดทน ไม่รับอนุสาสนีโดยเคารพ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกาแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ ๑. ไม่โกรธ ๒. ไม่พยาบาท ๓. ไม่เบียดเบียน ๔. ไม่ยั่วให้โกรธ ๕. อดทน ไม่รับอนุสาสนีโดยเคารพ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกาไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ ๑. เป็นผู้ให้หลงงมงาย ระลึกไม่ได้ ๒. เป็นผู้พูดไม่เปิดโอกาส ๓. ไม่เป็นผู้โจทก์ตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร ๔. ไม่เป็นผู้ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร ๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๔๑}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๙. อุพพาหิกวรรค
แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ ๑. เป็นผู้เตือนให้ระลึก ไม่ให้หลงงมงาย ๒. เป็นผู้พูดเปิดโอกาส ๓. เป็นผู้โจทก์ตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร ๔. เป็นผู้ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร ๕. ชี้แจงตามความเห็น อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกาไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว ๕. เป็นอลัชชี อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกาแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. เป็นลัชชี อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกาไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๔๒}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๙. อุพพาหิกวรรค
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว ๕. ไม่ฉลาดในพระวินัย อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกาแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. ฉลาดในพระวินัย อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกาองค์ของภิกษุผู้โง่เขลา [๔๕๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล นับ ว่าเป็นผู้โง่เขลาโดยแท้ พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้โง่ เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้พระสูตร ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระสูตร ๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย ๕. ไม่ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้องค์ของภิกษุผู้ฉลาด อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ ๑. รู้พระสูตร ๒. รู้ข้ออนุโลมพระสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๔๓}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๙. อุพพาหิกวรรค
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย ๕. ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก นับว่าโง่เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้พระธรรม ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระธรรม ๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย ๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้องค์ของภิกษุผู้ฉลาด อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ ๑. รู้พระธรรม ๒. รู้ข้ออนุโลมพระธรรม ๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย ๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก นับว่าโง่เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน ๓. ไม่รู้พระบัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง ๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๔๔}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๙. อุพพาหิกวรรค
องค์ของภิกษุผู้ฉลาด อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ ๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน ๓. รู้พระบัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง ๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก นับว่าโง่เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ ๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้องค์ของภิกษุผู้ฉลาด อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ ๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๓. รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ ๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก นับว่าโง่เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๔๕}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์ ๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้องค์ของภิกษุผู้ฉลาด อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ ๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์ ๓. รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์ ๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้อุพพาหิกวรรคที่ ๙ จบ หัวข้อประจำวรรค ภิกษุไม่ฉลาดในอรรถ มักโกรธ ยั่วให้โกรธ ไม่หลงงมงาย ลำเอียงเพราะชอบ ไม่ฉลาด ไม่ฉลาดอีก สุตะ ธรรม วัตถุ อาบัติ อธิกรณ์ ทั้งสองฝ่ายท่านประกาศไว้หมดแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงเข้าใจทั้งฝ่ายดำ และฝ่ายขาว เทอญเนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๖๓๙-๖๔๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=114 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=11734&Z=11942 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1208 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1208&items=3 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1208&items=3 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/brahmali#pli-tv-pvr17:169.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/horner-brahmali#Prv.17.9
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]