ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค]

๑. กรรมวรรค

ปัญจวรรค
ว่าด้วยหมวด ๕ หมวด
๑. กรรมวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องกรรม
กรรม ๔
[๔๘๒] กรรม(สังฆกรรม) ๔ อย่าง คือ ๑. อปโลกนกรรม ๒. ญัตติกรรม ๓. ญัตติทุติยกรรม ๔. ญัตติจตุตถกรรม ถาม : กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการเท่าไร ตอบ : กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. โดยวัตถุ ๒. โดยญัตติ ๓. โดยอนุสาวนา ๔. โดยสีมา ๕. โดยบริษัท
วัตถุวิบัติ
[๔๘๓] ถาม : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างไร ตอบ : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างนี้ คือ กรรมที่ควรทำพร้อมหน้า แต่สงฆ์ทำลับหลัง กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ กรรมที่ควรสอบถามก่อนทำ แต่สงฆ์ไม่สอบถามก่อนทำ กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา แต่สงฆ์ไม่ทำตามปฏิญญา กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่า วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๗๐๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค]

๑. กรรมวรรค

สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อ ว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติ โดยวัตถุ สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติ โดยวัตถุ สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่า วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่า วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติ โดยวัตถุ สงฆ์อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ทำอุโบสถในวันมิใช่วันอุโบสถ กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ปวารณาในวันมิใช่วันปวารณา กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ อย่างนี้ กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
ญัตติวิบัติ
[๔๘๔] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติอย่างไร ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๗๐๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค]

๑. กรรมวรรค

๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ไม่ระบุญัตติ ๕. ตั้งญัตติภายหลัง กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติด้วยอาการ ๕ อย่างนี้
อนุสาวนาวิบัติ
[๔๘๕] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาอย่างไร ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์ ๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ทิ้งวาจาประกาศ ๕. สวดในกาลไม่ควร กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาด้วยอาการ ๕ อย่างนี้
สีมาวิบัติ
[๔๘๖] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาอย่างไร ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาด้วยอาการ ๑๑ อย่าง คือ ๑. สมมติสีมาเล็กเกิน ๒. สมมติสีมาใหญ่เกิน ๓. สมมติสีมามีนิมิตขาด ๔. สมมติสีมาใช้เงาเป็นนิมิต ๕. สมมติสีมาไม่มีนิมิต ๖. ภิกษุอยู่ภายนอกสีมาสมมติสีมา ๗. สมมติสีมาในแม่น้ำ ๘. สมมติสีมาในทะเล ๙. สมมติสีมาในสระเกิดเอง ๑๐. คาบเกี่ยวสีมาด้วยสีมา ๑๑. ทับสีมาด้วยสีมา กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาด้วยอาการ ๑๑ อย่างนี้
บริษัทวิบัติ
[๔๘๗] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทอย่างไร ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๗๐๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค]

๑. กรรมวรรค

๑. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อมเพรียงกัน คัดค้าน ๒. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อมเพรียง กันคัดค้าน ๓. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่ภิกษุพร้อมเพรียงกัน คัดค้าน ๔. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ ๕. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ ๖. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ ๗. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ ๘. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ ๙. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ ๑๐. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน เท่าไร ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อม เพรียงกันคัดค้าน ๑๑. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน เท่าไร ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุ พร้อมเพรียงกันคัดค้าน ๑๒. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน เท่าไร ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่ภิกษุพร้อม เพรียงกันคัดค้าน กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๗๐๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค]

๑. กรรมวรรค

กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ เป็นต้น
[๔๘๘] ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๔ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและ ไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๕ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะ ที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๑๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะ ที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๒๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
กรรม ๔
[๔๘๙] กรรม ๔ อย่าง คือ (๑) อปโลกนกรรม (๒) ญัตติกรรม (๓) ญัตติทุติยกรรม (๔) ญัตติจตุตถกรรม ถาม : กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการเท่าไร ตอบ : กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. โดยวัตถุ ๒. โดยญัตติ ๓. โดยอนุสาวนา ๔. โดยสีมา ๕. โดยบริษัท
วัตถุวิบัติ
[๔๙๐] ถาม : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างไร ตอบ : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างนี้ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๗๐๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค]

๑. กรรมวรรค

สงฆ์ให้บัณเฑาะก์อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนไถยสังวาสอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนผู้เข้ารีดเดียรถีย์อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้สัตว์ดิรัจฉานอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนผู้ฆ่ามารดาอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนผู้ฆ่าบิดาอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนผู้ฆ่าพระอรหันต์อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนผู้ประทุษร้ายภิกษุณีอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนผู้ทำลายสงฆ์อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนผู้ยังพระโลหิตห้ออุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนสองเพศอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนมีอายุไม่ถึง ๒๐ ปี อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ อย่างนี้ กรรมชื่อว่าย่อมวิบัติโดยวัตถุ
ญัตติวิบัติ
[๔๙๑] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติอย่างไร ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์ ๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ไม่ระบุญัตติ ๕. ตั้งญัตติภายหลัง กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๗๐๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค]

๑. กรรมวรรค

อนุสาวนาวิบัติ
[๔๙๒] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาอย่างไร ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์ ๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ไม่ระบุญัตติ ๕. ตั้งญัตติภายหลัง กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาด้วยอาการ ๕ อย่างนี้
สีมาวิบัติ
[๔๙๓] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาอย่างไร ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาด้วยอาการ ๑๑ อย่าง คือ ๑. สมมติสีมาเล็กเกิน ๒. สมมติสีมาใหญ่เกิน ๓. สมมติสีมามีนิมิตขาด ๔. สมมติสีมาใช้เงาเป็นนิมิต ๕. สมมติสีมาไม่มีนิมิต ๖. ภิกษุอยู่ภายนอกสีมาสมมติสีมา ๗. สมมติสีมาในแม่น้ำ ๘. สมมติสีมาในทะเล ๙. สมมติสีมาในสระเกิดเอง ๑๐. คาบเกี่ยวสีมาด้วยสีมา ๑๑. ทับสีมาด้วยสีมา กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาด้วยอาการ ๑๑ อย่างนี้
บริษัทวิบัติ
[๔๙๔] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัท อย่างไร ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๗๐๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค]

๑. กรรมวรรค

๑. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมีจำนวน เท่าไร ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อม เพรียงกันคัดค้าน ๒. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมีจำนวน เท่าไร ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อม เพรียงกันคัดค้าน ๓. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมีจำนวน เท่าไร ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่ภิกษุพร้อม เพรียงกันคัดค้าน ๔. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ ๕. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ ๖. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ ๗. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ ๘. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ ๙. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ ๑๐. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมี จำนวนเท่าไร ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุ พร้อมเพรียงกันคัดค้าน ๑๑. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมี จำนวนเท่าไร ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อมเพรียงกันคัดค้าน ๑๒. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมี จำนวนเท่าไร ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่ ภิกษุพร้อมเพรียงกันคัดค้าน กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๗๐๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค]

๑. กรรมวรรค

อปโลกนกรรม เป็นต้น
[๔๙๕] ถาม : อปโลกนกรรมย่อมถึงฐานะเท่าไร ญัตติกรรมย่อมถึงฐานะเท่าไร ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะเท่าไร ญัตติจตุตถกรรมย่อมถึงฐานะเท่าไร ตอบ : อปโลกนกรรมย่อมถึงฐานะ ๕ อย่าง ญัตติกรรมย่อมถึงฐานะ ๙ อย่าง ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ อย่าง ญัตติจตุตถกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ อย่าง
ฐานะแห่งอปโลกนกรรม
[๔๙๖] ถาม : อปโลกนกรรมย่อมถึงฐานะ ๕ เหล่าไหน ตอบ : ฐานะ ๕ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา ภัณฑุกรรม พรหมทัณฑ์ ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๕ อปโลกนกรรมย่อมถึงฐานะ ๕ เหล่านี้
ฐานะแห่งญัตติกรรม
ถาม : ญัตติกรรมย่อมถึงฐานะ ๙ เหล่าไหน ตอบ : ฐานะ ๙ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา อุโบสถ ปวารณา สมมติ การให้ การรับ การเลื่อนปวารณาออกไป ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๙ ญัตติกรรมย่อมถึงฐานะ ๙ เหล่านี้
ฐานะแห่งญัตติทุติยกรรม
ถาม : ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่าไหน ตอบ : ฐานะ ๗ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ การถอน การแสดง ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๗ ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่านี้
ฐานะแห่งญัตติจตุตถกรรม
ถาม : ญัตติจตุตถกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่าไหน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๗๐๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค]

๒. อัตถวสมวรรค

ตอบ : ฐานะ ๗ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ นิคคหะ สมนุภาสน์ ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๗ ญัตติจตุตถกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่านี้
กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ เป็นต้น
[๔๙๗] ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๔ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและ ไม่ใช่เป็นผู้ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๒๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ใช่เป็นผู้ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
กรรมวรรคที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๗๐๑-๗๑๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=123              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=12991&Z=13224                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1340              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1340&items=19              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=12305              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1340&items=19              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=12305                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr21/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr21/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :