ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

๒. กตาปัตติวาร
วาระว่าด้วยต้องอาบัติเท่าไร
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๙๓] ถาม : เพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : เพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ ๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในซากศพที่ยังมิได้ถูกสัตว์กัดกิน ต้องอาบัติ ปาราชิก ๒. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในซากศพที่ถูกสัตว์กัดกินโดยมาก ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ๓. ภิกษุสอดองคชาตเข้าในปากที่อ้าแต่มิได้ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ๔. ภิกษุณีต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะใช้ท่อนยาง เพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
ถาม : เพราะการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้เป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : เพราะการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก ๒. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก มีราคาเกิน กว่า ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๘๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

๓. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก มีราคา ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๑ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
ถาม : เพราะความจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิตเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : เพราะความจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิตเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. ขุดหลุมพรางไว้เจาะจงมนุษย์ว่า “บุคคลชื่อนี้จะตกลงไปตาย” ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒. เมื่อบุคคลชื่อนั้นตกไปได้รับทุกขเวทนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก เพราะความจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิตเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่าง เหล่านี้
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
ถาม : เพราะการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริงเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : เพราะการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริงเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริ- มนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก ๒. ภิกษุกล่าวว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเป็นพระ อรหันต์” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๘๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ

เพราะการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ไม่เป็นจริงเป็นปัจจัย ต้อง อาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้
ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ
๒. สังฆาทิเสสกัณฑาทิ
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในสังฆาทิเสสกัณฑ์เป็นต้น
๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท
[๑๙๔] ถาม : เพราะการพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเป็นปัจจัย ภิกษุต้อง อาบัติเท่าไร ตอบ : เพราะการพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. จงใจ พยายาม น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒. จงใจ พยายาม น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม เพราะการพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง เหล่านี้
๒. กายสังสัคคสิกขาบท
ถาม : เพราะการถูกต้องกายเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : เพราะการถูกต้องกายเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ ๑. ภิกษุณีมีความกำหนัด ยินดีการจับต้องกายของชายผู้กำหนัด บริเวณใต้รากขวัญลงมา เหนือหัวเข่าขึ้นไป ต้องอาบัติปาราชิก ๒. ภิกษุใช้กายจับต้องกาย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๓. ใช้กายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๙๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ

๔. ใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๕. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะจี้ด้วยนิ้วมือ เพราะการถูกต้องกายเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้
๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท
เพราะการพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ต้อง อาบัติ สังฆาทิเสส ๒. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงบริเวณใต้รากขวัญลงมา เหนือเข่า ขึ้นไป เว้นทวารหนัก ทวารเบา ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท
เพราะการกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนเป็นปัจจัย ภิกษุต้อง อาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้ามาตุคาม ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส ๒. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าบัณเฑาะก์ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ๓. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าสัตว์ดิรัจฉาน ต้อง อาบัติทุกกฏ
๕. สัญจริตตสิกขาบท
เพราะการทำหน้าที่ชักสื่อเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. รับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒. รับคำ ไปบอก ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. รับคำ ไม่ไปบอก ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๙๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ

๖. กุฏิการสิกขาบท
เพราะการสร้างกุฎีด้วยการขอเอาเองเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. กำลังใช้ให้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๗. วิหารการสิกขาบท
เพราะการสร้างวิหารใหญ่เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. กำลังใช้ให้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๘. ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท
เพราะการใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูลเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจากพรหมจรรย์ จึงโจท ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส ๒. ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่า จึงโจท ต้องอาบัติ เพราะ กล่าวเสียดสี
๙. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท
เพราะการอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความภิกษุด้วยปาราชิก เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจากพรหมจรรย์ จึงโจท ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส ๒. ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่า จึงโจท ต้องอาบัติ เพราะ กล่าวเสียดสี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๙๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑาทิ

๑๐. สังฆเภทสิกขาบท
เพราะการไม่สละ(เรื่องนั้น)จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย ภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท
เพราะการไม่สละ(เรื่องนั้น)จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย ภิกษุที่ประพฤติตามสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๑๒. ทุพพจสิกขาบท
เพราะการไม่สละ(เรื่องนั้น)จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย ภิกษุผู้ว่ายาก ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๑๓. กุลทูสกสิกขาบท
เพราะการไม่สละ(เรื่องนั้น)จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๙๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๓. วิปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : เพราะการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำเป็นปัจจัย ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : เพราะการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำเป็นปัจจัย ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ เพราะการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะหรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำเป็นปัจจัย ภิกษุผู้ไม่ เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติ ๑ อย่างนี้
กตาปัตติวารที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๑๘๘-๑๙๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=34              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=3443&Z=3527                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=487              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=487&items=18              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=487&items=18                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.10/en/brahmali# https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.10/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :