ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

๒. ภิกขุนีวิภังค์
โสฬสมหาวาร ตอน ๒
๑. กัตถปัญญัตติวาร
วาระว่าด้วยบัญญัติ ณ ที่ไหน
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในปาราชิกกัณฑ์
[๒๐๑] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันนบัญญัติ สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ บรรดาปาติโมกขุทเทส ๔ อุทเทส ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ จัดเข้าในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติไหน บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย อะไรเป็น พระปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิปาติโมกข์ อะไรเป็นวิบัติ อะไรเป็นสมบัติ อะไรเป็นข้อ ปฏิบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๐๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ทรง อาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร ใครศึกษาอยู่ ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว สิกขาบทนี้ ตั้งอยู่ในใคร ใครทรงเอาไว้ เป็นถ้อยคำของใคร ใครนำมา
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๐๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ ๑- แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีสุนทรีนันทา ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีสุนทรีนันทามีความกำหนัดยินดีการถูกต้องกาย กับชายผู้กำหนัด ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้นมีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุป- ปันนบัญญัติอยู่หรือ ตอบ : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่มีอนุปปันนบัญญัติ ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ @เชิงอรรถ : @ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑-๔ ของภิกษุณีอนุโลมตามของภิกษุ ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๔/๓๒, ๙๑/๘๐, @๑๗๑/๑๔๐-๑๔๑, ๑๙๗/๑๘๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๐๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

ถาม : บรรดาพระปาติโมกขุทเทส ๔ อุทเทส ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ จัด เข้าในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส ถาม : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสไหน ตอบ : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสที่ ๒ ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน ตอบ : เป็นสีลวิบัติ ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติไหน ตอบ : จัดเข้ากองอาบัติปาราชิก ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ถาม : บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน ตอบ : เป็นอาปัตตาธิกรณ์ ถาม : บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้นอะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระวินัย การจำแนกเป็นอภิวินัย ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น อะไรเป็นพระปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิ- ปาติโมกข์ ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์ ถาม : อะไรเป็นวิบัติ ตอบ : ความไม่สำรวมเป็นวิบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๐๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

ถาม : อะไรเป็นสมบัติ ตอบ : ความสำรวมเป็นสมบัติ ถาม : อะไรเป็นข้อปฏิบัติ ตอบ : การที่ภิกษุณีสมาทานอาปาณโกฏิกศีลตลอดชีวิตว่า “เราจะไม่ทำกรรม อย่างนี้อีก” แล้วศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเป็นข้อปฏิบัติ ถาม : พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร ตอบ : ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ทรงอาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ ๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๓. เพื่อข่มภิกษุณีผู้เก้อยาก ๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุณีผู้มีศีลดีงาม ๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส ๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว ๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย ถาม : ใครศึกษาอยู่ ตอบ : ภิกษุณีผู้เป็นพระเสขะและเป็นกัลยาณปุถุชนศึกษาอยู่ ถาม : ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว ตอบ : ภิกษุณีผู้เป็นพระอรหันต์เป็นผู้ศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว ถาม : สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๐๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

ตอบ : ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล(ผู้ใคร่ศึกษา) ถาม : ใครทรงเอาไว้ ตอบ : ภิกษุณีทั้งหลายผู้ทรงจำปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ ได้ทรงเอาไว้ ถาม : เป็นถ้อยคำของใคร ตอบ : เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถาม : ใครนำมา ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป เป็นผู้นำพระวินัยสืบๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ ฯลฯ พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๖
[๒๐๓] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๖ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา ถาม : เพราะเรื่องอะไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๐๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทารู้อยู่ ไม่ทักท้วงภิกษุณีผู้ต้องธรรมคือ ปาราชิกด้วยตนเอง ไม่บอกแก่คณะ ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๗
[๒๐๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๗ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาประพฤติตามภิกษุชื่ออริฏฐะผู้มีบรรพ- บุรุษเป็นนายพรานฆ่านกแร้งที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรม ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน๑- ฯลฯ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๘
[๒๐๕] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๘ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร @เชิงอรรถ : @ ธุรนิกเขปสมุฏฐาน คือเกิดจากการทอดธุระในการแสดงอาการทางกายหรือทางวาจาว่า “เราสละเรื่องนั้น” @(ดู วิ.อ. ๒/๔๑๕/๑๑๒) เกิดโดยสมุฏฐานที่ ๖ คือ กายวาจากับจิต ธุรนิกเขปสมุฏฐาน คือสมนุภาน- @สมุฏฐานนั่นเอง (วิ.อ. ๒/๖๖๙-๖๗๐/๔๖๗, สารตฺถ.ฏีกา ๒/๖๖/๑๑๖, วิมติ.ฏีกา ๑/๖๖/๑๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๐๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์

ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการ๑- ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
ปาราชิก ๘ สิกขาบท จบ
รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์
พระมหาวีระทรงบัญญัติปาราชิกซึ่งเป็นมูลเหตุแห่งการขาดอย่างไม่ต้องสงสัย คือ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการพรากกายมนุษย์ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการยินดีการจับต้องที่บริเวณเหนือเข่าขึ้นไปของชาย ปาราชิกสิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการปกปิดโทษ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการประพฤติตามภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ปาราชิกสิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยวัตถุ ๘ มีการยินดีการจับมือของชายเป็นต้น ปาราชิก ๘ สิกขาบทนี้เป็นมูลแห่งการตัดขาดอย่างไม่ต้องสงสัย @เชิงอรรถ : @ ทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการ ดูรายละเอียดในเชิงอรรถ วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๖๗๕/๒๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๐๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๒๐๒-๒๐๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=36              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=3627&Z=3754                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=511              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=511&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=511&items=6                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr2.1/en/brahmali# https://suttacentral.net/pli-tv-pvr2.1/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :