บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๓. ติกวาร ว่าด้วยหมวด ๓ [๓๒๓] ๑. อาบัติที่เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่ ภิกษุจึงต้อง เมื่อ ปรินิพพานแล้วไม่ต้อง มีอยู่ ๒. อาบัติที่เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ภิกษุจึงต้อง เมื่อทรง พระชนม์อยู่ไม่ต้อง มีอยู่ ๓. อาบัติที่เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่ก็ดี ปรินิพพานแล้วก็ดี ภิกษุก็ต้อง มีอยู่ ๑. อาบัติที่ภิกษุต้องในกาล ไม่ต้องในเวลาวิกาล มีอยู่ ๒. อาบัติที่ภิกษุต้องในเวลาวิกาล ไม่ต้องในกาล มีอยู่ ๓. อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในกาล ทั้งในเวลาวิกาล มีอยู่ ๑. อาบัติที่ภิกษุต้องในกลางคืน ไม่ต้องในกลางวัน มีอยู่ ๒. อาบัติที่ภิกษุต้องในกลางวัน ไม่ต้องในกลางคืน มีอยู่ ๓. อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในกลางคืน ทั้งในกลางวัน มีอยู่ ๑. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา ๑๐ จึงต้อง มีพรรษาหย่อน ๑๐ ไม่ต้อง มีอยู่ ๒. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๑๐ จึงต้อง มีพรรษา ๑๐ ไม่ต้อง มีอยู่ ๓. อาบัติที่ภิกษุทั้งมีพรรษา ๑๐ ทั้งมีพรรษาหย่อน ๑๐ ก็ต้อง มีอยู่ ๑. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา ๕ จึงต้อง มีพรรษาหย่อน ๕ ไม่ต้อง มีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๓๗}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๓. ติกวาร
๒. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๕ จึงต้อง มีพรรษา ๕ ไม่ต้อง มีอยู่ ๓. อาบัติที่ภิกษุทั้งมีพรรษา ๕ ทั้งมีพรรษาหย่อน ๕ ก็ต้อง มีอยู่ ๑. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลจึงต้อง มีจิตเป็นอกุศลไม่ต้อง มีอยู่ ๒. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลจึงต้อง มีจิตเป็นกุศลไม่ต้อง มีอยู่ ๓. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตจึงต้อง มีอยู่ ๑. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยสุขเวทนาจึงต้อง มีอยู่ ๒. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยทุกขเวทนาจึงต้อง มีอยู่ ๓. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยอทุกขมสุขเวทนาจึงต้อง มีอยู่ว่าด้วยวัตถุแห่งการโจท เป็นต้น วัตถุแห่งการโจทมี ๓ อย่าง คือ ๑. เห็น ๒. ได้ยิน ๓. นึกสงสัย การจับสลากมี ๓ อย่าง คือ ๑. ปกปิด ๒. เปิดเผย ๓. กระซิบที่หู ข้อห้ามมี ๓ อย่าง คือ ๑. ความมักมาก ๒. ความไม่สันโดษ ๓. ความไม่ขัดเกลา ข้ออนุญาตมี ๓ อย่าง คือ ๑. ความมักน้อย ๒. ความสันโดษ ๓. ความขัดเกลา ข้อห้ามแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ ๑. ความมักมาก ๒. ความไม่สันโดษ ๓. ความไม่รู้จักประมาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๓๘}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๓. ติกวาร
ข้ออนุญาตมี ๓ คือ ๑. ความมักน้อย ๒. ความสันโดษ ๓. ความรู้จักประมาณ บัญญัติมี ๓ คือ ๑. บัญญัติ ๒. อนุบัญญัติ ๓. อนุปปันนบัญญัติ บัญญัติแม้อื่นอีกมี ๓ คือ ๑. สัพพัตถบัญญัติ ๒. ปเทสบัญญัติ ๓. สาธารณบัญญัติ บัญญัติแม้อื่นอีกมี ๓ คือ ๑. อสาธารณบัญญัติ ๒. เอกโตบัญญัติ ๓. อุภโตบัญญัติว่าด้วยภิกษุโง่เขลาและฉลาด เป็นต้น อาบัติที่ภิกษุผู้โง่เขลาจึงต้อง ผู้ฉลาดไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุผู้ฉลาดจึงต้อง ผู้โง่เขลาไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุทั้งผู้โง่เขลาทั้งผู้ฉลาดก็ต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในกาฬปักษ์ ไม่ต้องในชุณหปักษ์ มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในชุณหปักษ์ ไม่ต้องในกาฬปักษ์ มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในกาฬปักษ์ ทั้งในชุณหปักษ์ มีอยู่ การเข้าพรรษาย่อมสำเร็จในกาฬปักษ์ ไม่สำเร็จในชุณหปักษ์ มีอยู่ ปวารณาในวันมหาปวารณาย่อมสำเร็จในชุณหปักษ์ ไม่สำเร็จในกาฬปักษ์ มีอยู่ สังฆกิจที่เหลือย่อมสำเร็จทั้งในกาฬปักษ์ ทั้งในชุณหปักษ์ มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในฤดูหนาว ไม่ต้องทั้งในฤดูร้อน ทั้งในฤดูฝน มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในฤดูร้อน ไม่ต้องทั้งในฤดูหนาว ทั้งในฤดูฝน มีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๓๙}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๓. ติกวาร
อาบัติที่ภิกษุต้องในฤดูฝน ไม่ต้องทั้งในฤดูหนาว ทั้งในฤดูร้อน มีอยู่ อาบัติที่สงฆ์ต้อง คณะและบุคคลไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่คณะต้อง สงฆ์และบุคคลไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่บุคคลต้อง สงฆ์และคณะไม่ต้อง มีอยู่ สังฆอุโบสถและสังฆปวารณาย่อมสำเร็จแก่สงฆ์ ไม่สำเร็จแก่คณะและบุคคล มีอยู่ คณะอุโบสถและคณะปวารณาย่อมสำเร็จแก่คณะ ไม่สำเร็จแก่สงฆ์และบุคคล มีอยู่ อธิษฐานอุโบสถและอธิษฐานปวารณาย่อมสำเร็จแก่บุคคล ไม่สำเร็จแก่สงฆ์และ คณะ มีอยู่ว่าด้วยการปิด เป็นต้น การปิดมี ๓ อย่าง คือ ๑. ปิดวัตถุ ไม่ปิดอาบัติ ๒. ปิดอาบัติ ไม่ปิดวัตถุ ๓. ปิดทั้งวัตถุ ทั้งอาบัติ เครื่องปกปิดมี ๓ อย่าง คือ ๑. เครื่องปกปิดคือเรือนไฟ ๒. เครื่องปกปิดคือน้ำ ๓. เครื่องปกปิดคือผ้า สิ่งที่ปิดบังไม่เปิดเผยไปมี ๓ อย่าง คือ ๑. มาตุคาม ปิดบังไม่เปิดเผยไป ๒. มนต์ของพวกพราหมณ์ ปิดบังไม่เปิดเผยไป ๓. มิจฉาทิฏฐิ ปิดบังไม่เปิดเผยไป สิ่งที่เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรืองมี ๓ อย่าง คือ ๑. ดวงจันทร์ เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรือง ๒. ดวงอาทิตย์ เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรือง ๓. ธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรือง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๔๐}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๓. ติกวาร
การให้ถือเสนาสนะมี ๓ อย่าง คือ ๑. ให้ถือในวันเข้าพรรษาต้น ๒. ให้ถือในวันเข้าพรรษาหลัง ๓. ให้ถือในช่วงพ้นจากระยะนั้นว่าด้วยอาพาธ เป็นต้น อาบัติที่ภิกษุอาพาธจึงต้อง ไม่อาพาธไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุไม่อาพาธจึงต้อง อาพาธไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุทั้งอาพาธ ทั้งไม่อาพาธก็ต้อง มีอยู่ว่าด้วยงดปาติโมกข์ เป็นต้น การงดปาติโมกข์ที่ไม่ชอบธรรมมี ๓ การงดปาติโมกข์ที่ชอบธรรมมี ๓ ปริวาสมี ๓ อย่าง คือ ๑. ปฏิจฉันนปริวาส ๒. อัปปฏิจฉันนปริวาส ๓. สุทธันตปริวาส มานัตมี ๓ อย่าง คือ ๑. ปฏิจฉันนมานัต ๒. อัปปฏิจฉันนมานัต ๓. ปักขมานัต รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ อย่าง คือ ๑. สหวาสะ(การอยู่ร่วมกัน) ๒. วิปปวาสะ(การอยู่ปราศ) ๓. อนาโรจนา(การไม่บอก)ว่าด้วยต้องอาบัติภายใน เป็นต้น อาบัติที่ภิกษุต้องภายใน ไม่ต้องภายนอก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องภายนอก ไม่ต้องภายใน มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งภายใน ทั้งภายนอก มีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๔๑}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๓. ติกวาร
อาบัติที่ภิกษุต้องภายในสีมา ไม่ต้องภายนอกสีมา มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องภายนอกสีมา ไม่ต้องภายในสีมา มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งภายในสีมา ทั้งภายนอกสีมา มีอยู่ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่าง เป็นต้น ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑. ต้องทางกาย ๒. ต้องทางวาจา ๓. ต้องทางกายกับวาจา ภิกษุต้องอาบัติแม้อื่นอีกด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑. ต้องในท่ามกลางสงฆ์ ๒. ต้องในท่ามกลางคณะ ๓. ต้องในสำนักบุคคล ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑. ออกด้วยกาย ๒. ออกด้วยวาจา ๓. ออกด้วยกายกับวาจา ภิกษุออกจากอาบัติแม้อื่นอีกด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑. ออกในท่ามกลางสงฆ์ ๒. ออกในท่ามกลางคณะ ๓. ออกในสำนักบุคคล ให้อมูฬหวินัยที่ไม่ชอบธรรมมี ๓ ให้อมูฬหวินัยที่ชอบธรรมมี ๓ว่าด้วยข้อที่สงฆ์มุ่งหวัง เป็นต้น สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๔๒}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๓. ติกวาร
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. ประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว๑- สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. ด่าบริภาษคฤหัสถ์ สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ @เชิงอรรถ : @๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร (วิ.จู. (แปล) ๖/๒๗/๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๔๓}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๓. ติกวาร
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๓ คือ ๑. ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาป สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงตั้งใจมั่นลงอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นผู้โง่เขลา ๓. ไม่เป็นปกตัตตะ สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อีกอย่าง คือ ๑. มีสีลวิบัติในอธิศีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อีกอย่าง คือ ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่นคะนองทางกาย ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่นคะนองทางวาจา ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่นคะนองทางกายและทางวาจา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๔๔}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๓. ติกวาร
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติที่ไม่สมควรทางกาย ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติที่ไม่สมควรทางวาจา ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติที่ไม่สมควรทางกายและทางวาจา สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยการทำลายทางกาย ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยการทำลายทางวาจา ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยการทำลายทางกายและทางวาจา สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางกาย ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางวาจา ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางกายและทางวาจา สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ ๑. ต้องอาบัติถูกสงฆ์ลงโทษ แล้วให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ ๑. ต้องอาบัติที่สงฆ์ลงโทษ ๒. ต้องอาบัติอื่นเช่นนั้น ๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ ๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม ๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา ๓. ไม่เป็นปกตัตตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๔๕}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๓. ติกวาร
งดอุโบสถในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า พอทีภิกษุ อย่าก่อความ บาดหมาง อย่าก่อความทะเลาะ อย่าก่อความแก่งแย่ง อย่าก่อความวิวาท แล้ว จึงทำอุโบสถ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา ๓. ไม่เป็นปกตัตตะ งดปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า พอทีภิกษุ อย่าก่อความ บาดหมาง อย่าก่อความทะเลาะ อย่าก่อความแก่งแย่ง อย่าก่อความวิวาท แล้ว พึงปวารณา สงฆ์ไม่พึงให้สังฆสมมติอะไรๆ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา ๓. ไม่เป็นปกตัตตะ สงฆ์ไม่พึงว่ากล่าวแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา ๓. ไม่เป็นปกตัตตะ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไว้ในตำแหน่งเฉพาะไรๆ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา ๓. ไม่เป็นปกตัตตะ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงอาศัยภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา ๓. ไม่เป็นปกตัตตะ ไม่พึงให้นิสัยแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา ๓. ไม่เป็นปกตัตตะ ไม่พึงให้โอกาสภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ที่ขอโอกาส คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา ๓. มิใช่เป็นปกตัตตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๔๖}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๓. ติกวาร
ไม่พึงเชื่อถือคำให้การของภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา ๓. ไม่เป็นปกตัตตะ ไม่พึงถามวินัยภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา ๓. ไม่เป็นปกตัตตะ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงถามวินัย คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา ๓. ไม่เป็นปกตัตตะ ไม่พึงวิสัชนาวินัยแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา ๓. ไม่เป็นปกตัตตะ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงวิสัชนาวินัย คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา ๓. ไม่เป็นปกตัตตะ ไม่พึงให้คำซักถามแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา ๓. ไม่เป็นปกตัตตะ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงสนทนาวินัยด้วย คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา ๓. ไม่เป็นปกตัตตะ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงให้กุลบุตรอุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา ๓. ไม่เป็นปกตัตตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๔๗}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๓. ติกวาร
ว่าด้วยอุโบสถ เป็นต้น อุโบสถมี ๓ อย่าง คือ ๑. อุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ ๒. อุโบสถในวัน ๑๕ ค่ำ ๓. อุโบสถสามัคคี อุโบสถแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ ๑. สังฆอุโบสถ ๒. คณอุโบสถ ๓. บุคคลอุโบสถ อุโบสถแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ ๑. สัตตุทเทสอุโบสถ ๒. ปาริสุทธิอุโบสถ ๓. อธิฐานอุโบสถ ปวารณามี ๓ อย่าง คือ ๑. ปวารณาในวัน ๑๔ ค่ำ ๒. ปวารณาในวัน ๑๕ ค่ำ ๓. สามัคคีปวารณา ปวารณาแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ ๑. สังฆปวารณา ๒. คณปวารณา ๓. บุคคลปวารณา ปวารณาแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ ๑. ปวารณา ๓ หน ๒. ปวารณา ๒ หน ๓. ปวารณามีพรรษาเท่ากัน บุคคลต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรกมี ๓ จำพวก คือ๑- ๑. บุคคลที่ไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี ๒. บุคคลผู้ใส่ความพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ ด้วยอพรหมจรรย์ไม่มีมูล ๓. บุคคลผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โทษในกามไม่มีแล้วถึง ความเป็นผู้หมกมุ่นในกามทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @๑ องฺ.ติก (แปล) ๒๐/๑๑๔/๓๕๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๔๘}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๓. ติกวาร
อกุศลมูลมี ๓ อย่าง คือ ๑. อกุศลมูลคือโลภะ ๒. อกุศลมูลคือโทสะ ๓. อกุศลมูลคือโมหะ กุศลมูลมี ๓ อย่าง คือ ๑. กุศลมูลคืออโลภะ ๒. กุศลมูลคืออโทสะ ๓. กุศลมูลคืออโมหะ ทุจริตมี ๓ อย่าง คือ ๑. กายทุจริต ๒. วจีทุจริต ๓. มโนทุจริต สุจริตมี ๓ อย่าง คือ ๑. กายสุจริต ๒. วจีสุจริต ๓. มโนสุจริต พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติติกโภชนะในตระกูล โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ คือ ๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๒. เพื่ออยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม ด้วยประสงค์ว่า พวกมักมาก อย่าอาศัยฝักฝ่ายทำลายสงฆ์ ๓. เพื่อทรงอนุเคราะห์ตระกูล พระเทวทัตมีจิตถูกอสัทธรรม ๓ อย่าง คือ ๑. ความปรารถนาชั่ว ๒. ความมีมิตรชั่ว ๓. การได้บรรลุคุณวิเศษขั้นต่ำแล้วเลิกเสียกลางคัน ครอบงำย่ำยี จึงไปเกิดในอบาย ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ สมมติมี ๓ อย่าง คือ ๑. สมมติไม้เท้า ๒. สมมติสาแหรก ๓. สมมติไม้เท้าและสาแหรก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๔๙}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
หัวข้อประจำวาร
ฐานวางเท้า มี ๓ อย่าง คือ ๑. ฐานวางเท้าถ่ายอุจจาระ ๒. ฐานวางเท้าถ่ายปัสสาวะ ๓. ฐานวางเท้าชำระ สิ่งของสำหรับถูเท้ามี ๓ อย่าง คือ ๑. ศิลา ๒. กรวด ๓. ศิลาฟองน้ำติกวาร จบ หัวข้อประจำวาร อาบัติที่ต้องเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์ อาบัติที่ต้องในกาล ในกลางคืน อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา ๑๐ ต้อง อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา ๕ ต้อง อาบัติที่ภิกษุมีกุศลจิตต้อง อาบัติที่ภิกษุมีเวทนาต้อง วัตถุแห่งการโจท การจับสลาก ข้อห้าม ๒ เรื่อง ข้อบัญญัติ ข้อบัญญัติอื่นอีก ๒ เรื่อง ภิกษุโง่เขลา การสำเร็จในกาฬปักษ์ การต้องอาบัติในฤดูหนาว สังฆอุโบสถสำเร็จแก่สงฆ์ การปิด เครื่องปกปิด สิ่งปิดบัง สิ่งเปิดเผย การให้ถือเสนาสนะ ภิกษุอาพาธ การงดปาติโมกข์ ปริวาส มานัต ปริวาสิกภิกษุ อาบัติที่ต้องภายใน อาบัติที่ต้องภายในสีมา การต้องอาบัติด้วยอาการ ๓ การต้องอาบัติอื่นอีก ๓ การออกจากอาบัติ ๓ การออกจากอาบัติอื่นอีก ๓ อมูฬหวินัย ๒ อย่าง ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ ไม่สละทิฏฐิ การตั้งใจมั่นลงอุกเขปนียกรรม ผู้มีศีลวิบัติในอธิศีล ผู้คะนอง การประพฤติไม่สมควร การทำลาย อาชีววิบัติ ต้องอาบัติ ต้องอาบัติเช่นนั้น การกล่าวติเตียน การงดอุโบสถ การงดปวารณา สมมติ ว่ากล่าว ตำแหน่งเฉพาะ ไม่อาศัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๕๐}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๔. จตุกกวาร
ไม่ให้นิสัย ไม่ให้โอกาส ไม่เชื่อถือคำให้การ ไม่ถาม ๒ เรื่อง ไม่ตอบ ๒ เรื่อง ไม่พึงให้ซักถาม ไม่สนทนา ไม่พึงอุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก อุโบสถ ๓ หมวด ปวารณา ๓ หมวด ผู้ไปเกิดในอบาย อกุศล กุศล ทุจริต สุจริต ติกโภชนะ อสัทธรรม สมมติ ฐานวางเท้า สิ่งของถูเท้า หัวข้อตามที่กล่าวมานี้ จัดเข้าในหมวด ๓เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๔๓๗-๔๕๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=78 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=7628&Z=7850 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=954 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=954&items=11 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=10129 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=954&items=11 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=10129 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/brahmali#pli-tv-pvr7:25.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/horner-brahmali#Prv.7.3.1
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]