ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร
๔. อสาธารณาทิ
ว่าด้วยอสาธารณสิกขาบท เป็นต้น
จำนวนสิกขาบทของภิกษุ เป็นต้น
[๓๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สิกขาบทของภิกษุมาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ(ยกขึ้นสวดทุกวันอุโบสถ) รวม ๒๒๐ สิกขาบท ของภิกษุณีมาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ รวม ๓๐๔ สิกขาบท สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔๖ สิกขาบท สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๑๓๐ สิกขาบท สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ทั่วไป มี ๑๗๖ สิกขาบท สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกัน มี ๑๗๔ สิกขาบท๑-
ประเภทสิกขาบทของภิกษุ
สิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐ สิกขาบท มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป @เชิงอรรถ : @ พระผู้มีพระภาคทรงวิสัชนาปัญหาที่พระอุบาลีทูลถามในข้อ ๓๓๖ (สาธารณํ อสาธารณํ : สิกขาบททั่วไป @สิกขาบทที่ไม่ทั่วไป วิ.อ. ๓/๓๓๘/๔๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๑๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ]

๔. อสาธารณาทิ

ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคีย์ ๓๐ ขุททกะ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕ สิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐ สิกขาบทเหล่านี้ มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ
ประเภทสิกขาบทของภิกษุณี
สิกขาบทของภิกษุณี ๓๐๔ สิกขาบท มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป ปาราชิก ๘ สังฆาทิเสส ๑๗ นิสสัคคีย์ ๓๐ ขุททกะ ๑๖๖ ปาฏิเทสนียะ ๘ เสขิยะ ๗๕ สิกขาบทของภิกษุณี ๓๐๔ สิกขาบทเหล่านี้ มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ
อสาธารณสิกขาบทของภิกษุ
สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔๖ สิกขาบท เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป สังฆาทิเสส ๖ รวมกับอนิยต ๒ สิกขาบท เป็น ๘ นิสสัคคีย์ ๑๒ รวมกันเป็น ๒๐ ขุททกะ ๒๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณีนี้ รวม ๔๖ สิกขาบท๑- @เชิงอรรถ : @ คือ สังฆาทิเสส ๖ สิกขาบท คือสิกขาบทที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๖ ที่ ๗ อนิยต ๒ สิกขาบท @นิสสัคคีย์ ๑๒ สิกขาบท คือ สิกขาบทที่ ๔ ที่ ๕ แห่งจีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ @ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ แห่งโกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๔ ที่ ๙ แห่งปัตตวรรค ปาจิตตีย์ ๒๒ คือ โอวาทวรรค @๑๐ สิกขาบท สิกขาบทที่ ๓ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๙ แห่งโภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑ แห่งอเจลกวรรค สิกขาบท @ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๗ แห่งสัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๗ ที่ ๙ แห่งรตนวรรค และ ปาฏิเทสนียะ @๔ สิกขาบท (วิ.อ. ๓/๓๓๘/๔๘๑-๔๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๑๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ]

๔. อสาธารณาทิ

อสาธารณสิกขาบทของภิกษุณี
สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๑๓๐ สิกขาบท เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสสที่ทำให้ถูกขับออกจากหมู่ ๑๐ นิสสัคคีย์ ๑๒ ขุททกะ ๙๖ ปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุนี้ รวม ๑๓๐ สิกขาบท
สิกขาบทที่ไม่ทั่วไปแก่สองฝ่าย
สิกขาบทของทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่ทั่วไป มี ๑๗๖ สิกขาบท เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๖ อนิยต ๒ นิสสัคคีย์ ๒๔ ขุททกะ ๑๑๘ ปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบทของทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่ทั่วไปนี้ รวม ๑๗๖ สิกขาบท
สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกัน
สิกขาบทของทั้ง ๒ ฝ่ายที่ศึกษาร่วมกัน มี ๑๗๔ สิกขาบท เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๗ นิสสัคคีย์ ๑๘ ขุททกะ ๗๐ ถ้วน เสขิยะ ๗๕ สิกขาบทของทั้ง ๒ ฝ่ายที่ศึกษาร่วมกันนี้ รวม ๑๗๔ สิกขาบท
อาบัติที่ระงับไม่ได้
บุคคลผู้เป็นปาราชิก ๘ จำพวก เข้าใกล้ได้ยาก เปรียบเหมือนต้นตาลเหลือแต่พื้นที่ บุคคลผู้เป็นปาราชิกเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ไม่งอกงาม เปรียบเหมือนใบไม้เหี่ยวเหลือง แผ่นศิลาหนา คนถูกตัดศีรษะ ต้นตาลยอดด้วน ฉะนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๑๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ]

๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ

อาบัติที่ระงับได้
สังฆาทิเสส ๒๓ อนิยต ๒ นิสสัคคีย์ ๔๒ ปาจิตตีย์ ๑๘๘ ปาฏิเทสนียะ ๑๒ เสขิยะ ๗๕ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ
ส่วนที่ทรงจำแนก
อุโบสถ ๒ ปวารณา ๒ กรรม ๔ อันพระชินเจ้าทรงแสดงแล้ว อุทเทส ๕ และอุทเทส ๔ ย่อมไม่มีโดยประการอื่น และกองอาบัติ มี ๗
อธิกรณ์
อธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๗ คือ ระงับด้วยสมถะ ๒ สมถะ ๔ สมถะ ๓ แต่กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๑”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๕๑๒-๕๑๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=90              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=8905&Z=8955                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1024              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1024&items=11              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1024&items=11                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr10/en/brahmali#pli-tv-pvr10:38.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr10/en/horner-brahmali#BD.6.238



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :