บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ]
๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
อปรคาถาสังคณิกะ ว่าด้วยกลุ่มคาถาอีกกลุ่มหนึ่ง ๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา ว่าด้วยคำถาม และคำตอบการโจท เป็นต้น [๓๕๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า การโจทเพื่อประโยชน์อะไร การสอบสวนเพื่อเหตุอะไร สงฆ์เพื่อประโยชน์อะไร ส่วนการลงมติเพื่อเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การโจทเพื่อประโยชน์ให้ระลึก การสอบสวนเพื่อประโยชน์จะข่ม สงฆ์เพื่อประโยชน์จะช่วยกันพิจารณา ส่วนการลงมติเพื่อช่วยกันวินิจฉัยแต่ละเรื่อง ถ้าเธอเป็นผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ อย่าด่วนพูด อย่าพูดด้วยความเกรี้ยวกราด อย่ายั่วความโกรธ อย่าพูดโดยผลุนผลัน อย่ากล่าวถ้อยคำชวนวิวาทไม่ประกอบด้วยประโยชน์ วัตรคือการซักถามอันอนุโลมแก่สิกขาบท ที่พระพุทธเจ้าผู้เฉียบแหลมมีพระปัญญาทรงวางไว้ ตรัสไว้ดีแล้วในพระสูตร ในพระวินัย ในอนุโลม ในพระบัญญัติ และอนุโลมิกะ๑- เธอจงพิจารณาวัตรคือการซักถามนั้น อย่าให้เสียคติที่เป็นไปในสัมปรายภพ เป็นผู้ไฝ่หาประโยชน์ จงซักถามถ้อยคำที่ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาล @เชิงอรรถ : @๑ พระสูตร คืออุภโตวิภังค์ พระวินัย คือขันธกะ อนุโลม คือปริวาร พระบัญญัติ คือพระวินัยปิฎก @อนุโลมิกะ คือมหาปเทส (วิ.อ. ๓/๓๕๙/๔๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๓๙}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ]
๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
สำนวนที่กล่าวโดยผลุนผลันของจำเลยและโจทก์ เธออย่าเชื่อถือ โจทก็ฟ้องว่าต้องอาบัติ แต่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ต้องอาบัติ เธอต้องสอบสวนทั้งสองฝ่าย พึงปรับตามคำรับสารภาพ และถ้อยคำสำนวน คำรับสารภาพ เรากล่าวไว้ในหมู่ลัชชี แต่ข้อนั้น ไม่มีในหมู่อลัชชี อนึ่ง ภิกษุอลัชชีพูดมาก เธอพึงปรับตามถ้อยคำสำนวนดังกล่าวแล้วอลัชชีบุคคล พระอุบาลีกราบทูลว่า อลัชชี เป็นคนเช่นไร คำรับสารภาพของผู้ใดฟังไม่ขึ้น ข้าพระพุทธเจ้าทูลถามพระองค์ถึงข้อนั้น คนเช่นไร พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า อลัชชีบุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้ที่จงใจต้องอาบัติ ปกปิดอาบัติ และถึงความลำเอียง คนเช่นนี้ เราเรียกว่า อลัชชีบุคคลลัชชีบุคคล พระอุบาลีกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า คนเช่นนี้เป็นอลัชชีบุคคล ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น คนเช่นไร พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า ลัชชีบุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้ที่ไม่จงใจต้องอาบัติ ไม่ปกปิดอาบัติ ไม่ถึงความลำเอียง คนเช่นนี้ เราเรียกว่า ลัชชีบุคคล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๔๐}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ]
๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
บุคคลผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม พระอุบาลีกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า ลัชชีบุคคล ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุโจทโดยกาลไม่ควร โจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง โจทด้วยคำหยาบ โจทด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มุ่งร้ายโจท ไม่มีเมตตาจิตโจท คนเช่นนี้ เราเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรมบุคคลผู้โจทก์เป็นธรรม พระอุบาลีกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุโจทโดยกาล โจทด้วยเรื่องจริง โจทด้วยคำสุภาพ โจทด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ มีเมตตาจิต ไม่มุ่งร้ายโจท คนเช่นนี้ เราเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรมคนโจทก์ผู้โง่เขลา พระอุบาลีกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้โง่เขลา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๔๑}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ]
๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลไม่รู้คำต้นและคำหลัง ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง ไม่รู้ทางแห่งถ้อยคำสำนวน ไม่ฉลาดในถ้อยคำสำนวน คนเช่นนี้ เราเรียกว่า โจทก์ผู้โง่เขลาคนโจทก์ผู้ฉลาด พระอุบาลีกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้เขลา ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลรู้คำต้นและคำหลัง ฉลาดในคำต้นและคำหลัง รู้ทางแห่งถ้อยคำสำนวน ฉลาดในถ้อยคำสำนวน คนเช่นนี้ เราเรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาดการโจท พระอุบาลีกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น กิริยาเช่นไร พระองค์ตรัสเรียกว่า การโจท พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กิริยาที่ถูกโจทด้วยสีลวิบัติ ด้วยอาจารวิบัติ ด้วยทิฏฐิวิบัติ และแม้ด้วยอาชีววิบัติ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า การโจทอปรคาถาสังคณิกะ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๔๒}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๕๓๙-๕๔๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=96 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=9497&Z=9564 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1069 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1069&items=8 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=11204 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1069&items=8 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=11204 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr12/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr12/en/horner-brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]