บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
๕. โพธิราชกุมารสูตร ว่าด้วยโพธิราชกุมาร [๓๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน สถานที่ให้อภัยหมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ สมัยนั้นแล ปราสาทชื่อโกกนุทของพระราชกุมาร พระนามว่าโพธิ สร้างเสร็จแล้วใหม่ๆ สมณะ พราหมณ์ หรือมนุษย์คนใดคนหนึ่ง ยังไม่ได้เข้าไปอยู่อาศัย ต่อมา โพธิราชกุมารรับสั่งเรียกมาณพชื่อสัญชิกาบุตรมา ตรัสว่า มาเถิด สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ ตามคำของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพธิราชกุมาร ขอกราบพระยุคลบาทของ พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์โปรดรับนิมนต์ฉัน ภัตตาหารของโพธิราชกุมารในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด มาณพสัญชิกาบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่ สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โพธิราชกุมารขอกราบพระยุคลบาทของพระโคดม ผู้เจริญ ด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ และกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทรงรับนิมนต์ฉันภัตตาหารของโพธิราชกุมารในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๙๒}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ เวลานั้น มาณพสัญชิกาบุตร ทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากที่นั่งเข้าไปเฝ้าโพธิราชกุมาร ถึงที่ประทับแล้วกราบทูลว่า ข้าพระองค์ได้กราบทูลพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นตามรับสั่งของพระองค์ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โพธิราชกุมารขอกราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ และกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทรงรับนิมนต์ฉันภัตตาหารของโพธิราชกุมารในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด และพระสมณโคดมทรงรับนิมนต์แล้ว พระเจ้าข้าพระพุทธเจ้าไม่ทรงเหยียบผ้าขาว [๓๒๕] ครั้งนั้น เมื่อล่วงราตรีนั้นไป โพธิราชกุมารรับสั่งให้จัดเตรียมของเคี้ยว ของฉันอันประณีตไว้ในพระนิเวศน์ของพระองค์ และรับสั่งให้ปูลาดโกกนุทปราสาท ด้วยผ้าขาวถึงบันไดขั้นล่างสุด รับสั่งเรียกมาณพสัญชิกาบุตรมาตรัสว่า มาเถิด สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลภัตตกาลว่า ได้เวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว มาณพสัญชิกาบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ กราบทูลภัตตกาลว่า ได้เวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเสด็จ เข้าไปยังพระราชนิเวศน์ของโพธิราชกุมาร ขณะนั้น โพธิราชกุมารทรงยืนคอย รับเสด็จพระผู้มีพระภาคอยู่ที่นอกซุ้มประตู ได้ทรงเห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมา แต่ไกล จึงเสด็จออกไปต้อนรับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วเสด็จนำหน้าเข้าไป จนถึงโกกนุทปราสาท ครั้นถึงบันไดขั้นล่างสุด พระผู้มีพระภาคทรงหยุด โพธิราชกุมาร จึงกราบทูลว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๙๓}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงเหยียบผ้าขาวเสด็จเข้าไปเถิด ขอพระสุคตทรงเหยียบผ้าขาวเสด็จเข้าไปเถิด ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน พระพุทธเจ้าข้า เมื่อโพธิราชกุมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่ง แม้ครั้งที่ ๒ โพธิราชกุมารก็กราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคทรงเหยียบผ้าขาว เสด็จเข้าไปเถิด ขอพระสุคตทรงเหยียบผ้าขาวเสด็จเข้าไปเถิด ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน พระพุทธเจ้าข้า เมื่อโพธิราชกุมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่ง แม้ครั้งที่ ๓ โพธิราชกุมารก็กราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคทรงเหยียบผ้าขาว เสด็จเข้าไปเถิด ขอพระสุคตทรงเหยียบผ้าขาวเสด็จเข้าไปเถิด ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน พระพุทธเจ้าข้า [๓๒๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชำเลืองดูท่านพระอานนท์ จากนั้น ท่านพระอานนท์ได้ทูลตอบโพธิราชกุมารว่า พระราชกุมารจงเก็บผ้าขาวเสียเถิด พระผู้มีพระภาคไม่ทรงเหยียบผ้าขาว พระตถาคตทรงเห็นแก่ประชุมชนผู้เกิดใน ภายหลัง โพธิราชกุมารรับสั่งให้เก็บผ้าขาวแล้วรับสั่งให้ปูอาสนะที่โกกนุทปราสาทชั้นบน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จขึ้นโกกนุทปราสาท แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ที่ปูลาดไว้แล้วพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โพธิราชกุมารทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข ถวายของเคี้ยวของฉันอันประณีตจนอิ่มหนำด้วยพระองค์เอง ทรงทราบ ว่าพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จละพระหัตถ์จากบาตรแล้ว จึงเลือกประทับนั่งอาสนะที่ สมควร ที่ใดที่หนี่งซึ่งต่ำกว่า แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมีความเห็นอย่างนี้ว่า บุคคลจะไม่ประสบ ความสุขด้วยความสุข แต่บุคคลจะประสบความสุขด้วยความทุกข์เท่านั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๙๔}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
พุทธประวัติตอนบำเพ็ญสมาบัติ ในสำนักอาฬารดาบส๑- [๓๒๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ราชกุมาร ก่อนการตรัสรู้ แม้อาตมภาพ ยังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า บุคคลจะไม่ประสบความสุข ด้วยความสุข แต่บุคคลจะประสบความสุขได้ด้วยความทุกข์เท่านั้น ในกาลต่อมา อาตมภาพยังหนุ่มแน่น แข็งแรง มีเกศาดำสนิท อยู่ในปฐมวัย เมื่อพระราชมารดา และพระราชบิดาไม่ทรงปรารถนาจะให้ผนวช มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสงอยู่ จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวังบวชเป็น บรรพชิต เมื่อบวชแล้วก็แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทางอันประเสริฐคือ ความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วกล่าวว่า ท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงกล่าวกับอาตมภาพว่า เชิญท่านอยู่ก่อน ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ตามแบบอาจารย์ของตน เข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน จากนั้น ไม่นาน อาตมภาพก็เรียนรู้ธรรมนั้นได้อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัย เท่านั้น ก็กล่าวญาณวาทะ๒- และเถรวาทะ๓- ได้ ทั้งอาตมภาพและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า เรารู้ เราเห็น อาตมภาพจึงคิดว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศธรรมนี้ ด้วยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ก็หามิได้ แต่อาฬารดาบส กาลามโคตร ยังรู้ ยังเห็นธรรมนี้ด้วยอย่างแน่นอน จากนั้น อาตมภาพจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ท่าน กาลามะ ท่านประกาศธรรมนี้ว่า ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๗๗-๒๘๖/๓๐๐-๓๑๓ และดูข้อ ๔๗๕-๔๘๔ หน้า ๖๐๐-๖๑๒ ในเล่มนี้ @๒ ญาณวาทะ หมายถึงลัทธิที่ว่า ข้าพเจ้ารู้ (ม.มู.อ. ๒/๒๗๗/๗๙) @๓ เถรวาทะ หมายถึงลัทธิที่ว่า ข้าพเจ้าเป็นใหญ่ (ม.มู.อ. ๒/๒๗๗/๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๙๕}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
เมื่ออาตมภาพถามอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงประกาศอากิญ- จัญญายตนสมาบัติแก่อาตมภาพ อาตมภาพจึงคิดว่า มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้นที่มีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา ... มีวิริยะ ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มีปัญญา ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญเพียรเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศว่า ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ จากนั้นไม่นาน อาตมภาพก็ทำให้ แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ จากนั้น อาตมภาพจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ท่าน กาลามะ ท่านประกาศว่า ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ อาฬารดาบส กาลามโคตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราประกาศว่า ข้าพเจ้า ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล (อาตมภาพจึงกล่าวว่า) ท่านกาลามะ แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ (อาฬารดาบส กาลามโคตรกล่าวว่า) ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน เพราะข้าพเจ้าประกาศว่า ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านก็ทำให้แจ้งธรรมนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านทำให้แจ้งธรรมใด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ข้าพเจ้าก็ประกาศว่า ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ข้าพเจ้าทราบธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด ข้าพเจ้าก็ทราบ ธรรมนั้น เป็นอันว่าข้าพเจ้าเป็นเช่นใด ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด ข้าพเจ้า ก็เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้ เราทั้งสองจะอยู่ร่วมกันบริหารคณะนี้ ราชกุมาร อาฬารดาบส กาลามโคตรทั้งที่เป็นอาจารย์ของอาตมภาพ ก็ยกย่อง อาตมภาพผู้เป็นศิษย์ให้เสมอกับตน และบูชาอาตมภาพด้วยการบูชาอย่างดี ด้วย ประการอย่างนี้ แต่อาตมภาพคิดว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ คลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไป เพียงเพื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น อาตภาพไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น จึงลาจากไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๙๖}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
ในสำนักอุทกดาบส [๓๒๘] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหา ทางอันประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตร แล้วกล่าวว่า ท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้ อุทกดาบส รามบุตรจึงกล่าวกับอาตมภาพว่า เชิญท่านอยู่ก่อน ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ตามแบบอาจารย์ของตนเข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน จากนั้นไม่นาน อาตมภาพก็เรียนรู้ธรรมนั้นได้อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัยเท่านั้น ก็กล่าวญาณวาทะและเถรวาทะได้ ทั้งอาตมภาพและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า เรารู้ เราเห็น อาตมภาพจึงคิดว่า อุทกดาบส รามบุตรประกาศธรรมนี้ด้วยเหตุเพียง ความเชื่ออย่างเดียวว่า เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ก็หามิได้ แต่ อุทกดาบส รามบุตรยังรู้ยังเห็นธรรมนี้ด้วยอย่างแน่นอน จากนั้น อาตมภาพจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วถามว่า ท่านรามะ ท่านประกาศว่า ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุ เพียงเท่าไร เมื่ออาตมภาพถามอย่างนี้ อุทกดาบส รามบุตรจึงประกาศเนวสัญญานา- สัญญายตนสมาบัติแก่อาตมภาพ อาตมภาพจึงคิดว่า มิใช่แต่อุทกดาบส รามบุตร เท่านั้นที่มีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา ... มีวิริยะ ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มิใช่แต่ อุทกดาบส รามบุตรเท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มีปัญญา ทางที่ดี เราควรเริ่มบำเพ็ญ เพียรเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่อุทกดาบส รามบุตรประกาศว่า ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ จากนั้นไม่นาน อาตมภาพก็ได้ทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ จากนั้น อาตมภาพจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วถามว่า ท่านรามะ ท่านประกาศว่า ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุ เพียงเท่านี้หรือ อุทกดาบส รามบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าประกาศว่า ข้าพเจ้าทำให้ แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๙๗}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
(อาตมภาพจึงกล่าวว่า) แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่าน (อุทกดาบส รามบุตรกล่าวว่า) ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า พวก ข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน เพราะ(ข้าพเจ้า)รามะประกาศว่า ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านก็ทำให้แจ้งธรรมนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ รามะก็ประกาศว่า ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ รามะทราบ ธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด รามะก็ทราบธรรมนั้น เป็นอันว่า รามะเป็นเช่นใด ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด รามะก็เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้ ท่านจงบริหารคณะนี้' ราชกุมาร อุทกดาบส รามบุตรทั้งที่เป็นเพื่อนพรหมจารีของอาตมภาพ ก็ยัง ยกย่องอาตมภาพไว้ในฐานะอาจารย์ และบูชาอาตมภาพด้วยการบูชาอย่างดี ด้วย ประการอย่างนี้ แต่อาตมภาพคิดว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลาย กำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไปเพียง เพื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเท่านั้น อาตมภาพไม่พอใจ เบื่อหน่าย ธรรมนั้น จึงลาจากไปทรงบำเพ็ญเพียร [๓๒๙] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหา ทางอันประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า เมื่อเที่ยวจาริกไปในแคว้นมคธ โดยลำดับ ได้ไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้เห็นภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่า น่าเพลิดเพลินใจ มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคาม อยู่โดยรอบ อาตมภาพจึงคิดว่า ภูมิประเทศเป็นที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่าน่าเพลิดเพลินใจ มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคามอยู่โดยรอบ เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ปรารถนาจะบำเพ็ญเพียร อาตมภาพจึงนั่ง ณ ที่นั้นด้วยคิดว่า ที่นี้เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๙๘}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
อุปมา ๓ ข้อ ราชกุมาร ครั้งนั้น อุปมา ๓ ข้อ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคย ได้ยินมาก่อน ได้ปรากฏแก่อาตมภาพ คือ ๑. เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่แช่อยู่ในน้ำ บุรุษนำไม้นั้นมาทำไม้สีไฟ ด้วยหวังว่า เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้สดที่มี ยางซึ่งแช่อยู่ในน้ำมาทำไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้สดนั้นมียาง ทั้งยังแช่อยู่ในน้ำ บุรุษนั้นก็มีแต่ ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า ราชกุมาร อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกายและจิตยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลาย ยังมิได้ละและมิได้ระงับ อย่างเบ็ดเสร็จในภายใน สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นแม้เสวยทุกขเวทนา ที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้ การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้ การเห็น และการ ตรัสรู้อันยอดเยี่ยม นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๑ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคยได้ยิน มาก่อน ได้ปรากฏแก่เรา [๓๓๐] ๒. เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่วางอยู่บนบกห่างจากน้ำ บุรุษนำไม้นั้น มาทำไม้สีไฟด้วยหวังว่า เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้สดที่มียาง ซึ่งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำมาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๙๙}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้ยังสดและมียาง แม้จะวางอยู่บนบกห่าง จากน้ำ บุรุษนั้นก็มีแต่ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า ราชกุมาร อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้มีกายและจิตหลีกออกจากกามแล้ว แต่ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลาย ยังมิได้ละและมิได้ระงับ อย่างเบ็ดเสร็จในภายใน สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นแม้เสวยทุกขเวทนา ที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้ การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้ การเห็น และการ ตรัสรู้อันยอดเยี่ยม นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๒ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคยได้ยิน มาก่อน ได้ปรากฏแก่อาตมภาพ [๓๓๑] ๓. เปรียบเหมือนไม้ที่แห้งสนิทซึ่งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ บุรุษนำมา ทำเป็นไม้สีไฟด้วยหวังว่า เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้ที่แห้งสนิท ซึ่งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำมาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม ได้ พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้แห้งสนิท ทั้งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ ราชกุมาร อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีกาย และจิตหลีกออกจากกามแล้ว ทั้งละและระงับความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลายได้อย่างเบ็ดเสร็จในภายในแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๐๐}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น แม้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ควรแก่การรู้ การเห็น และการตรัสรู้อัน ยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะ ความเพียร ก็เป็นผู้ควรแก่การรู้ การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๓ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคยได้ยินมาก่อน ได้ปรากฏแก่อาตมภาพ ราชกุมาร นี้คืออุปมา ๓ ข้ออันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคยได้ ยินมาก่อน ได้ปรากฏแก่อาตมภาพทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา [๓๓๒] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นมีความดำริว่า ทางที่ดี เราควรกดฟัน ด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน อาตมภาพนั้น ก็กดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน เมื่อ อาตมภาพทำดังนั้น เหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง คนที่แข็งแรงจับคนที่ อ่อนแอกว่าที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วบีบคั้นรัดไว้ให้แน่น แม้ฉันใด อาตมภาพก็ฉันนั้น เหมือนกัน เมื่อกดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้ เร่าร้อน เหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ [๓๓๓] ราชกุมาร อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌาน อันไม่มีลมปราณเถิด อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปาก และทางจมูก เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากและ ทางจมูก ลมก็ออกทางหูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ๆ ลมที่ช่างทองสูบอยู่มีเสียงดังอู้ๆ แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากและ ทางจมูก ลมก็ออกทางหูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๐๑}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน- กระวาย ไม่สงบระงับ อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง ช่องหู ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะ คนที่แข็งแรงใช้เหล็กที่แหลมคมแทงศีรษะ แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูก และทางช่องหู ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะ ฉันนั้นเหมือนกัน อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน- กระวาย ไม่สงบระงับ อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง ช่องหู ก็มีทุกขเวทนาในศีรษะอย่างแรงกล้า คนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียว ขันศีรษะ แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปาก ทางจมูกและทางช่องหู ก็มีทุกขเวทนาในศีรษะอย่างแรงกล้า ฉันนั้นเหมือนกัน อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน- กระวาย ไม่สงบระงับ อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง ช่องหู ลมอันแรงกล้าก็บาดในช่องท้อง คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีลมอันแรงกล้าบาดในช่องท้อง ฉันนั้นเหมือนกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๐๒}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน- กระวาย ไม่สงบระงับ อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง ช่องหู ก็มีความกระวนกระวายในร่างกายอย่างแรงกล้า คนที่แข็งแรง ๒ คนจับแขน คนที่อ่อนแอกว่าคนละข้างย่างให้ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพ กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความ กระวนกระวายในร่างกายอย่างแรงกล้า ฉันนั้นเหมือนกัน อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน- กระวาย ไม่สงบระงับ เทวดาทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้วก็พากันกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม สิ้นพระชนม์แล้ว บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมยังมิได้สิ้นพระชนม์ แต่กำลังจะสิ้นพระชนม์ บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมยังไม่สิ้นพระชนม์ ทั้งจะไม่สิ้นพระชนม์ พระสมณโคดมจะเป็นพระอรหันต์ การอยู่เช่นนี้นั้น เป็นวิหาร ธรรม๑- ของท่านผู้เป็นพระอรหันต์ [๓๓๔] ราชกุมาร อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ทางที่ดี เราควรปฏิบัติ ด้วยการอดอาหารทุกอย่าง ขณะนั้น เทวดาทั้งหลายเข้ามาหาอาตมภาพแล้ว กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าได้ปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง ถ้าท่านจักปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง ข้าพเจ้าทั้งหลายจะแทรกโอชาอันเป็น ทิพย์เข้าทางขุมขนของท่าน ท่านจะได้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชานั้น อาตมภาพ @เชิงอรรถ : @๑ วิหารธรรม ในที่นี้หมายถึงสมาบัติ ๘ กล่าวคือ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ อันเป็นโลกิยะ (ดูประกอบ @ใน องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๔๑/๕๒๕-๕๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๐๓}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
จึงมีความดำริว่า เราปฏิญญาว่า จะต้องอดอาหารทุกอย่าง แต่เทวดาเหล่านี้จะ แทรกโอชาอันเป็นทิพย์เข้าทางขุมขนของเรา เราจะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชานั้น การปฏิญญานั้นก็จะพึงเป็นมุสาแก่เรา อาตมภาพจึงกล่าวห้ามเทวดาเหล่านั้นว่า อย่าเลย อาตมภาพมีความดำริว่า ทางที่ดี เราควรกินอาหารให้น้อยลงๆ เพียง ครั้งละ ๑ ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง อาตมภาพจึงฉันอาหารน้อยลงๆ เพียงครั้งละ ๑ ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง เมื่ออาตมภาพฉันอาหารน้อยลงๆ เพียงครั้งละ ๑ ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายจึงซูบผอมมาก อวัยวะน้อยใหญ่ ของอาตมภาพจึงเป็นเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากหรือเถาวัลย์ที่มีข้อดำ เนื้อสะโพก ก็ลีบเหมือนกีบเท้าอูฐ กระดูกสันหลังก็ผุดเป็นหนามเหมือนเถาวัลย์ ซี่โครงทั้ง ๒ ข้าง ขึ้นสะพรั่ง เหมือนกลอนศาลาเก่า ดวงตาทั้ง ๒ ก็ลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือน ดวงดาวปรากฏอยู่ในบ่อน้ำลึก หนังบนศีรษะก็เหี่ยวหดเหมือนลูกน้ำเต้าที่เขาตัดมา ขณะยังดิบต้องลมและแดดเข้าก็เหี่ยวหดไป เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อยนั้น อาตมภาพ คิดว่า จะลูบพื้นท้อง ก็จับถึงกระดูกสันหลัง คิดว่า จะลูบกระดูกสันหลัง ก็จับถึง พื้นท้อง เพราะพื้นท้องของอาตมภาพแนบติดจนถึงกระดูกสันหลัง อาตมภาพคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือถ่ายปัสสาวะ ก็ซวนเซล้มลง ณ ที่นั้น เมื่อจะให้กายสบายบ้าง จึงใช้ฝ่ามือลูบตัว ขนทั้งหลายที่มีรากเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อย มนุษย์ทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้ว ก็กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมดำไป บางพวก ก็กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ดำเพียงแต่คล้ำไป บางพวกก็กล่าวอย่างนี้ว่า ไม่ดำ ไม่คล้ำ เพียงแต่พร้อยไป เรามีผิวพรรณบริสุทธิ์ เปล่งปลั่ง เพียงแต่เสียผิวไป เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อยเท่านั้น [๓๓๕] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นมีความดำริว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่งในอดีตเสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะความเพียร ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๐๔}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
เหล่าหนึ่งในอนาคตเสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะ ความเพียร ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะความเพียร ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป แต่เราก็ยังมิได้บรรลุญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของ มนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้ จะพึงมีทางอื่นเพื่อการตรัสรู้บ้างไหม อาตมภาพจึงมีความดำริว่า เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าวสักกาธิบดี ซึ่งเป็นพระราชบิดา เรานั่งอยู่ใต้ต้นหว้าอันร่มเย็น ได้สงัดจากกามและอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ทางนั้น พึงเป็นทางแห่งการตรัสรู้หรือหนอ อาตมภาพมีความรู้แจ้งที่ตามระลึกด้วยสติว่า ทางนั้นเป็นทางแห่งการตรัสรู้ อาตมภาพจึงมีความดำริว่า เรากลัวความสุขที่เว้น จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายหรือ อาตมภาพก็ดำริว่า เราไม่กลัวความสุขที่เว้น จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายเลย ราชกุมาร อาตมภาพจึงมีความดำริต่อไปว่า เราผู้มีกายซูบผอมมากอย่างนี้ จะบรรลุความสุขนั้นไม่ใช่ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรกินอาหารหยาบ คือข้าวสุก และขนมกุมมาส อาตมภาพก็ฉันอาหารหยาบคือข้าวสุกและขนมกุมมาส ครั้งนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์เฝ้าบำรุงอาตมภาพ ด้วยหวังว่า พระสมณโคดมบรรลุธรรมใด จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย เมื่อใด อาตมภาพฉันอาหารหยาบ คือข้าวสุก และขนมกุมมาส เมื่อนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์นั้น ก็เบื่อหน่าย จากไปด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้วฌาน ๔ และวิชชา ๓ [๓๓๖] ราชกุมาร อาตมภาพฉันอาหารหยาบให้ร่างกายมีกำลัง สงัดจาก กามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิด จากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๐๕}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
ตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เพราะ ละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มี ทุกข์ไม่มีสุขมีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ อาตมภาพนั้น น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ อาตมภาพระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ ชีวประวัติอย่างนี้ อาตมภาพได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้ ในปฐมยามแห่งราตรี กำจัด อวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือน บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ อาตมภาพนั้น น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่ สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ อาตมภาพได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ในมัชฌิมยามแห่ง ราตรี กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่าง ก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ อาตมภาพนั้น น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่ออาตมภาพรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๐๖}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
ราชกุมาร อาตมภาพบรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ในปัจฉิมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชา ได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้ ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ทรงมีความขวนขวายน้อย [๓๓๗] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นได้มีความดำริว่า ธรรม๑- ที่เราได้บรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด บัณฑิต(เท่านั้น)จึงจะรู้ได้ ส่วนหมู่ประชาผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลิน ในอาลัย ฐานะที่หมู่สัตว์ผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย๒- ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย นี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือหลักอิทัปปัจจยตา(ความที่มีสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นปัจจัย ของสิ่งนี้) หลักปฏิจจสมุปบาท(การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมี) ถึงแม้ฐานะ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยากนัก กล่าวคือความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดทิ้ง อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม และผู้อื่นจะไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึง เป็นความลำบากเปล่าแก่เรา อนึ่งเล่า คาถาอันน่าอัศจรรย์เหล่านี้ที่ไม่เคยสดับมาก่อน ได้ปรากฏแก่เราว่า บัดนี้ เรายังไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุด้วยความลำบาก เพราะธรรมนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ถูกราคะและโทสะครอบงำจะรู้ได้ง่าย แต่เป็นสิ่งที่พาทวนกระแส๓- ละเอียด ลึกซึ้ง รู้เห็นได้ยาก ประณีต ผู้กำหนัดด้วยราคะ ถูกกองโมหะหุ้มห่อไว้ จักรู้เห็นไม่ได้๔- ราชกุมาร เมื่ออาตมภาพพิจารณาดังนี้ จิตก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย มิได้น้อมไป เพื่อแสดงธรรม @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๘๒/๓๐๖ @๒ อาลัย คือกามคุณ ๕ ที่สัตว์พัวพัน ยินดี เพลิดเพลิน (วิ.อ. ๓/๗/๑๓) เป็นชื่อเรียกกิเลส ๒ อย่าง คือ @กามคุณและตัณหาวิจริต ๑๐๘ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๑/๘๒, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๗/๑๘๔) @ดู อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๙๗๓-๙๗๖/๖๒๒-๖๓๓ @๓ พาทวนกระแส ในที่นี้หมายถึงพาเข้าถึงนิพพาน (วิ.อ. ๓/๗/๑๔) @๔ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๗/๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๐๗}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
สหัมบดีพรหมอาราธนาแสดงธรรม [๓๓๘] ครั้งนั้น สหัมบดีพรหมทราบความดำริในใจของอาตมภาพด้วยใจ (ของตน) จึงได้มีความรำพึงว่า ท่านผู้เจริญ โลกจะฉิบหายหนอ โลกจะพินาศหนอ เพราะพระตถาคตอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมพระทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย มิได้น้อมพระทัยไป เพื่อทรงแสดงธรรม ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมอันตรธานจากพรหมโลกมาปรากฏ ณ เบื้องหน้า อาตมภาพ เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า แล้วห่มอุตตราสงค์ เฉวียงบ่า ประนมมือมาทางทิศที่อาตมภาพอยู่ ได้กล่าวกับอาตมภาพว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดแสดงธรรม ขอพระสุคตเจ้าได้โปรดแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาน้อย๑- มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมเพราะไม่ได้สดับธรรม สัตว์เหล่านั้นจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรม๒- สหัมบดีพรหมได้ทูลอาราธนาดังนี้ แล้วได้ทูลเป็นคาถาประพันธ์ต่อไปว่า ในกาลก่อน ธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ อันคนที่มีมลทิน๓- คิดค้นไว้ ปรากฏในแคว้นมคธ พระองค์โปรดทรงเปิดประตูอมตธรรมนั้นเถิด ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรมที่พระสัมพุทธเจ้า ผู้ปราศจากมลทิน ได้ตรัสรู้แล้วตามลำดับ ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาดี มีพระสมันตจักษุ บุรุษผู้ยืนอยู่บนยอดเขาศิลาล้วน พึงเห็นหมู่ชนได้โดยรอบ ฉันใด พระองค์ผู้หมดความโศกแล้ว @เชิงอรรถ : @๑ มีธุลีในดวงตาน้อย หมายถึงมีธุลีคือราคะ โทสะ โมหะ ปิดบังดวงตาคือปัญญา เบาบาง @(วิ.อ. ๓/๘-๙/๑๔-๑๕) @๒ เหตุการณ์นี้เป็นที่มาแห่งพิธีอาราธนาพระสงฆ์แสดงธรรม (ดู ขุ.พุทธ. ๓๓/๑/๔๓๕) @๓ คนที่มีมลทิน ในที่นี้หมายถึงครูทั้ง ๖ (วิ.อ. ๓/๘/๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๐๘}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความเศร้าโศก และถูกชาติชราครอบงำได้ชัดเจน ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ผู้ชนะสงคราม๑- ผู้นำหมู่๒- ผู้ไม่มีหนี้๓- ขอพระองค์โปรดลุกขึ้นเสด็จจาริกไปในโลก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์โปรดจงทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรม๔-เวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว๕- [๓๓๙] ราชกุมาร ครั้งนั้น อาตมภาพรับคำทูลอาราธนาของพรหม และ เพราะอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ๖- เมื่อตรวจดู โลกด้วยพุทธจักษุได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตา๗- น้อย มีธุลีในดวงตามาก มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ ได้ยาก บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว บางพวกเห็นปรโลกและโทษ ว่าเป็นสิ่งไม่น่ากลัว @เชิงอรรถ : @๑ ผู้ชนะสงคราม หมายถึงชนะเทวบุตรมาร มัจจุมาร และกิเลสมาร (ม.มู.อ. ๒/๒๘๒/๘๗) @๒ ผู้นำหมู่ หมายถึงสามารถนำสัตว์ข้ามที่กันดารคือชาติ(ความเกิด) และสามารถเป็นผู้นำของหมู่สัตว์คือ @เวไนยสัตว์ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๒/๘๗) @๓ ผู้ไม่มีหนี้ หมายถึงไม่มีหนี้คือกามฉันทะ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๒/๘๗) @๔ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๘/๑๒-๑๓ @๕ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๙/๑๔, ที.ม. (แปล) ๑๐/๖๙/๓๙-๔๐, ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๘๓/๓๐๗-๓๐๘, @องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๓/๒๐๒, อภิ.ก. ๓๗/๘๕๖/๔๙๐ @๖ พุทธจักษุ หมายถึง @(๑) อินทริยปโรปริยัตติญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือรู้ @ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก มีกิเลสน้อย มีความพร้อม @ที่จะตรัสรู้หรือไม่ @(๒) อาสยานุสยญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย ความมุ่งหมาย สภาพจิตที่นอนเนื่องอยู่ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๓/๘๗, @วิ.อ. ๓/๙/๑๕) และดู ขุ.ป. ๓๑/๑๑๑-๑๑๕/๑๒๔-๑๒๘ @๗ ดวงตา ในที่นี้หมายถึงปัญญาจักษุ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๓/๘๗, วิ.อ. ๓/๙/๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๐๙}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
ในกออุบล(บัวขาบ) ในกอปทุม(บัวหลวง) หรือในกอบุณฑริก(บัวขาว) ดอก อุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ ใต้น้ำ และมีน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่เสมอน้ำ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่พ้นน้ำ ไม่แตะน้ำ แม้ฉันใด อาตมภาพเมื่อตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาน้อย มีธุลีในดวงตามาก มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก บางพวก เห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งไม่น่ากลัว๑- ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ลำดับนั้น อาตมภาพได้กล่าวคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า พรหม สัตว์เหล่าใดมีโสตประสาท จงปล่อยศรัทธามาเถิด เรามิได้ปิดประตูอมตธรรมสำหรับสัตว์เหล่านั้น แต่เรารู้สึกว่าเป็นการยากลำบาก จึงไม่คิดจะแสดงธรรมอันประณีต ที่เราคล่องแคล่ว ในหมู่มนุษย์๒- @เชิงอรรถ : @๑ นอกจากบัวจมอยู่ในน้ำ บัวอยู่เสมอน้ำ บัวพ้นน้ำ ๓ เหล่านี้ อรรถกถาได้กล่าวถึงบัวเหล่าที่ ๔ คือ บัวที่มีโรค @ยังไม่พ้นน้ำเป็นอาหารของปลาและเต่า ซึ่งมิได้ยกขึ้นสู่บาลี แล้วแบ่งบุคคลเป็น ๔ เหล่า (ตามที่ปรากฏใน @องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๑๓๓/๒๐๒, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๐/๑๔๒, ๑๔๘-๑๕๑/๑๘๖-๑๘๗) คือ (๑) อุคฆิตัญญู @(๒) วิปจิตัญญู (๓) เนยยะ (๔) ปทปรมะ แล้วเปรียบอุคฆฏิตัญญู เป็นเหมือนบัวพ้นน้ำที่พอต้องแสง @อาทิตย์แล้วก็บานในวันนี้ เปรียบวิปจิตัญญู เป็นเหมือนบัวอยู่เสมอน้ำที่จะบานในวันรุ่งขึ้น เปรียบเนยยะ @เป็นเหมือนบัวจมอยู่ในน้ำที่จะขึ้นมาบานในวันที่ ๓ ส่วนปทปรมะ เปรียบเหมือนบัวที่มีโรคยังไม่พ้นน้ำ ไม่มี @โอกาสขึ้นมาบาน เป็นอาหารของปลาและเต่า @พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูหมื่นโลกธาตุอันเป็นเหมือนกออุบลเป็นต้น ได้ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวงว่า @หมู่ประชาผู้มีธุลีในดวงตาน้อยมีประมาณเท่านี้ หมู่ประชาผู้มีธุลีในตามากมีประมาณเท่านี้ และในหมู่ประชา @ทั้ง ๒ นั้น อุคฆฏิตัญญูบุคคลมีประมาณเท่านี้ (ที.ม.อ. ๒/๖๙/๖๔-๖๕, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๙/๑๙๒-๑๙๓) @๒ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๙/๑๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๑๐}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
ทรงรำพึงถึงผู้ควรรับธรรมเทศนา [๓๔๐] ราชกุมาร ครั้งนั้น สหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคได้ ทรงประทานโอกาสเพื่อจะแสดงธรรมแก่เราแล้ว จึงถวายอภิวาทอาตมภาพ กระทำ ประทักษิณแล้วได้หายไปจากที่นั้น ราชกุมาร อาตมภาพดำริว่า เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ ธรรมนี้ได้ฉับพลัน แล้วดำริต่อไปว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา มีธุลีในดวงตาน้อยมานาน ทางที่ดี เราควรแสดงธรรม แก่อาฬารดาบส กาลามโคตรก่อน เธอจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน ครั้งนั้น เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาหาอาตมภาพแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ อาฬารดาบส กาลามโคตร ทำกาละได้ ๗ วันแล้ว อนึ่ง อาตมภาพก็ได้เกิดญาณทัสสนะขึ้นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร ทำกาละได้ ๗ วันแล้ว จึงดำริว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร เป็นผู้มีความเสื่อม จากคุณอันยิ่งใหญ่๑- แล้วหนอ เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ ก็จะพึงรู้ได้ฉับพลัน อาตมภาพจึงดำริว่า เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรม นี้ได้ฉับพลัน จึงดำริต่อไปว่า อุทกดาบส รามบุตรนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา มีธุลีในดวงตาน้อยมานาน ทางที่ดี เราควรแสดงธรรมแก่อุทกดาบส รามบุตรก่อน เธอจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน ลำดับนั้น เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาหาอาตมภาพแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ อุทกดาบส รามบุตร ได้ทำกาละเมื่อวานนี้ อนึ่ง อาตมภาพก็ได้เกิดญาณทัสสนะขึ้นว่า อุทกดาบส รามบุตร ได้ทำกาละ เมื่อวานนี้ จึงดำริว่า อุทกดาบส รามบุตร เป็นผู้มีความเสื่อมจากคุณอันยิ่งใหญ่ แล้วหนอ เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ ก็จะพึงรู้ได้ฉับพลัน @เชิงอรรถ : @๑ มีความเสื่อมจากคุณอันยิ่งใหญ่ หมายถึงมีความเสื่อมมากเพราะเสื่อมจากมรรคและผลที่จะพึงบรรลุ @เพราะเกิดในอักขณะ คือ อาฬารดาบส ตายไปเกิดในอากิญจัญญายตนภพ ส่วนอุทกดาบสตายไปเกิดใน @เนวสัญญานาสัญญายตนภพ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๔/๙๔, วิ.อ. ๓/๑๐/๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๑๑}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
ทรงพบอุปกาชีวก [๓๔๑] ราชกุมาร อาตมภาพจึงดำริว่า เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน จึงดำริว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะแก่เรามาก ที่ได้เฝ้า ปรนนิบัติเราผู้มุ่งบำเพ็ญเพียร ทางที่ดี เราควรแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อน แล้วดำริต่อไปว่า บัดนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ ก็ได้เห็นภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ราชกุมาร ครั้งนั้น อาตมภาพพักอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาตามความต้องการแล้ว จึงหลีกจาริกไปทางกรุงพาราณสี ราชกุมาร อาชีวกชื่ออุปกะได้พบอาตมภาพผู้กำลังเดินทางไกล ณ ระหว่าง แม่น้ำคยากับต้นโพธิพฤกษ์ ได้ถามเราว่า อาวุโส อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชอุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือ ท่านชอบใจธรรมของใคร เมื่ออุปกาชีวกถามอย่างนี้แล้ว อาตมภาพจึงได้กล่าวคาถาตอบอุปกาชีวกว่า เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง๑- รู้ธรรมทั้งปวง๒- มิได้แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง๓- ละธรรมทั้งปวง๔- ได้สิ้นเชิง หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา ตรัสรู้ยิ่งเอง แล้วจะพึงกล่าวอ้างใครเล่า เราไม่มีอาจารย์๕- เราไม่มีผู้เสมอเหมือน เราไม่มีผู้ทัดเทียมในโลกกับทั้งเทวโลก @เชิงอรรถ : @๑ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๕/๙๗, วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖) @๒ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๕/๙๗, วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖) @๓ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๕/๙๗, วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖) @๔ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๕/๙๗, วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖) @๕ เราไม่มีอาจารย์ในที่นี้หมายถึงไม่มีอาจารย์ในระดับโลกุตตรธรรม (ม.มู.อ. ๒/๒๘๕/๙๗, วิ.อ. ๓/๑๑/๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๑๒}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
เพราะเราเป็นอรหันต์ เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม เราผู้เดียวเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้เยือกเย็น ดับกิเลสในโลกได้แล้ว เราจะไปเมืองหลวงของชาวกาสี ประกาศธรรมจักร ตีกลองอมตธรรมไปในโลกอันมีความมืดมน๑- อุปกาชีวกกล่าวว่า อาวุโส ท่านสมควรเป็นพระอนันตชินะตามที่ท่านประกาศ อาตมภาพจึงกล่าวตอบว่า ชนเหล่าใดได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว ชนเหล่านั้นย่อมเป็นพระชินะเช่นเรา อุปกะ เราชนะความชั่วได้แล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าพระชินะ๒- เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนั้นแล้ว อุปกาชีวกจึงกล่าวว่า อาวุโส ควรจะเป็น อย่างนั้น โคลงศีรษะแลบลิ้นแล้วเดินสวนทางหลีกไปทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุปัญจวัคคีย์ [๓๔๒] ราชกุมาร ลำดับนั้น อาตมภาพจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าอิสิปตน- มฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ได้เข้าไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ถึงที่อยู่ ภิกษุปัญจวัคคีย์ เห็นอาตมภาพเดินมาแต่ไกล จึงนัดหมายกันและกันว่า อาวุโส พระสมณโคดมนี้ เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก กำลังเสด็จมา พวกเราไม่พึงกราบไหว้ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงรับบาตรและจีวรของพระองค์ แต่จะจัด อาสนะไว้ ถ้าพระองค์ปรารถนาก็จักประทับนั่ง อาตมภาพเข้าไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ลืมข้อนัดหมายของตน บางพวกต้อนรับอาตมภาพแล้วรับบาตรและจีวร บางพวกปูลาดอาสนะ บางพวกจัด หาน้ำล้างเท้า แต่ภิกษุปัญจวัคคีย์เรียกอาตมภาพโดยออกนามและใช้คำว่า อาวุโส @เชิงอรรถ : @๑-๒ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๑/๑๗, อภิ.ก. ๓๗/๔๐๕/๒๔๕-๒๔๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๑๓}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว อาตมภาพจึงห้ามภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าเรียกตถาคตโดยออกชื่อและใช้คำว่า อาวุโส ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เธอทั้งหลายจงเงี่ยโสตสดับ เราจะ สั่งสอนอมตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว จะแสดงธรรม เธอทั้งหลายเมื่อปฏิบัติตามที่เรา สั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้ เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวกับอาตมภาพว่า อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยานั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยัง มิได้บรรลุญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ บัดนี้ พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจัก บรรลุญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้เล่า เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว อาตมภาพจึงได้กล่าวกับภิกษุปัญจ- วัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมาก ไม่ได้คลายความเพียร ไม่ได้ เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ตถาคตเป็นอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ เธอทั้งหลาย จงเงี่ยโสตสดับ เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว จะแสดงธรรม เธอทั้งหลาย เมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งประโยชน์ยอดยี่ยมอันเป็นที่สุด แห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้ แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวกับอาตมภาพว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๒ อาตมภาพก็ได้กล่าวกับภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวกับอาตมภาพว่า อาวุโสโคดม แม้ด้วย จริยานั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังมิได้บรรลุญาณทัสสนะ ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ บัดนี้ พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุญาณทัสสนะ ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้เล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๑๔}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมภาพได้กล่าวกับภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังจำได้หรือไม่ว่า ถ้อยคำเช่นนี้เราได้เคยกล่าวในกาล ก่อนแต่นี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวว่า ถ้อยคำเช่นนี้ไม่เคยได้ฟังมาก่อน พระพุทธเจ้าข้า อาตมภาพจึงกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง โดยชอบ เธอทั้งหลายจงเงี่ยโสตสดับ เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว จะแสดงธรรม เธอทั้งหลายเมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้ อาตมภาพสามารถทำให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ยินยอมได้แล้ว อาตมภาพกล่าวสอน ภิกษุ ๒ รูป ภิกษุ ๓ รูปก็เที่ยวบิณฑบาต เราทั้ง ๖ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุ ๓ รูป นำมา อาตมภาพกล่าวสอนภิกษุ ๓ รูป ภิกษุ ๒ รูปก็เที่ยวบิณฑบาต เราทั้ง ๖ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุ ๒ รูปนำมา๑-ทรงแก้ปัญหาของโพธิราชกุมาร [๓๔๓] ครั้งนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์ที่อาตมภาพสั่งสอนและพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตร ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ในปัจจุบัน เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมารได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุได้พระตถาคตเป็นผู้แนะนำนานเพียงไรหนอ จึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน ปัจจุบัน @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๘๑-๒๘๖/๓๐๕-๓๑๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๑๕}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ราชกุมาร ถ้าเช่นนั้น ในข้อนี้อาตมภาพขอย้อนถาม พระองค์ก่อน พระองค์พึงตอบตามที่พอพระทัย พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้น ว่าอย่างไร พระองค์เป็นผู้ฉลาดในศิลปะ คือ การทรงช้าง การใช้ขอช้าง มิใช่หรือ โพธิราชกุมารทูลว่า ใช่ พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในศิลปะคือ การทรงช้าง การใช้ขอช้าง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่า อย่างไร บุรุษมาในเมืองนี้ด้วยเข้าใจว่า โพธิราชกุมารทรงรู้ศิลปะคือการทรงช้าง การใช้ขอช้าง เราจักศึกษาศิลปะคือการขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของโพธิราชกุมารนั้น แต่เขาไม่มีศรัทธา จึงไม่บรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีศรัทธาจะพึงบรรลุ เขามีสุขภาพ มีโรคาพาธมาก จึงไม่บรรลุผลเท่ากับคนที่มีสุขภาพมีโรคาพาธน้อยจะพึงบรรลุ เขาเป็นคนโอ้อวด มีมารยา จึงไม่บรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาจะพึง บรรลุ เขาเป็นผู้เกียจคร้าน จึงไม่บรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ปรารภความเพียรจะพึง บรรลุ และเขาเป็นผู้มีปัญญาทรามจึงไม่บรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีปัญญาจะพึงบรรลุ ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นควรศึกษา ศิลปะ คือการขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของพระองค์บ้างไหม โพธิราชกุมารทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้จะประกอบด้วยองค์ ประกอบแต่ละอย่าง ก็ไม่ควรศึกษาศิลปะ คือ การขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของ หม่อมฉัน ไม่จำต้องกล่าวถึงองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ [๓๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัย ความข้อนั้นว่าอย่างไร เปรียบเหมือนบุรุษมาเมืองนี้ด้วยเข้าใจว่า โพธิราชกุมาร ทรงรู้ศิลปะคือการทรงช้าง การใช้ขอช้าง เราจักศึกษาศิลปะคือการขี่ช้าง การใช้ ขอช้างในสำนักของโพธิราชกุมารนั้น เขาเป็นผู้มีศรัทธา จึงบรรลุผลเท่าที่บุคคล ผู้มีศรัทธาจะพึงบรรลุ เขามีโรคาพาธน้อย จึงบรรลุผลเท่าที่คนผู้มีโรคาพาธน้อย จะพึงบรรลุ เขาเป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา จึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาจะพึงบรรลุ เขาเป็นผู้ปรารภความเพียร จึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ปรารภ ความเพียรจะพึงบรรลุ และเขาเป็นผู้มีปัญญาจึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีปัญญาจะพึง บรรลุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๑๖}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นควรจะ ศึกษาศิลปะคือการขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของพระองค์บ้างไหม โพธิราชกุมารทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้จะประกอบด้วยองค์ ประกอบแต่ละอย่างก็ควรศึกษาศิลปะคือการขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของ หม่อมฉันได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ราชกุมาร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ ก็อย่างนั้นเหมือนกัน องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา๑- เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะ เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ๒. เป็นผู้มีสุขภาพ มีโรคาพาธน้อย ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อย อาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลางพอเหมาะแก่การ บำเพ็ญเพียร ๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามความเป็นจริงในศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @๑ เป็นผู้มีศรัทธา หมายถึงศรัทธา ๔ ประการ คือ (๑) อาคมนสัทธา ได้แก่ ความเชื่อต่อพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ @เพราะศรัทธานั้นมีมาแต่ตั้งความปรารถนา (๒) อธิคมนสัทธา ได้แก่ ความเชื่อต่อการบรรลุอมตธรรม @ของพระอริยสาวกทั้งหลาย (๓) โอกัปปนสัทธา ได้แก่ ความปลงใจเชื่อโดยไม่หวั่นไหว เมื่อกล่าวว่า @พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์' (๔) ปสาทสัทธา ได้แก่ การเกิดขึ้นแห่งความเลื่อมใส แต่ในที่นี้ประสงค์ @เอาโอกัปปนสัทธา (ม.ม.อ. ๒/๓๔๔/๒๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๑๗}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึง พร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศล ธรรมทั้งหลาย ๕. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เป็นอริยะ เห็นความเกิดและ ความดับ สามารถชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ราชกุมาร นี้แล คือองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการ [๓๔๕] ราชกุมาร ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๗ ปี ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๗ ปี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๖ ปี ฯลฯ ๕ ปีฯลฯ ๔ ปี ฯลฯ ๓ ปี ฯลฯ ๒ ปี ฯลฯ ๑ ปี ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๑ ปี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๗ เดือน ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๗ เดือน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๑๘}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๖ เดือน ฯลฯ ๕ เดือน ฯลฯ ๔ เดือน ฯลฯ ๓ เดือน ฯลฯ ๒ เดือน ฯลฯ ๑ เดือน ฯลฯ กึ่งเดือน ราชกุมาร ไม่ต้องถึงกึ่งเดือน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๗ คืน ๗ วัน ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๗ คืน ๗ วัน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๖ คืน ๖ วัน ฯลฯ ๕ คืน ๕ วัน ฯลฯ ๔ คืน ๔ วัน ฯลฯ ๓ คืน ๓ วัน ฯลฯ ๒ คืน ๒ วัน ฯลฯ ๑ คืน ๑ วัน ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๑ คืน ๑ วัน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ มีตถาคตสั่งสอนในเวลาเย็น ก็จักบรรลุ คุณวิเศษได้ในเวลาเช้า มีตถาคตสั่งสอนในเวลาเช้า ก็จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น๑- เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมารได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า พระพุทธเจ้ามีคุณน่าอัศจรรย์จริง พระธรรมมีคุณน่าอัศจรรย์จริง พระธรรมที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วน่าอัศจรรย์จริง เพราะภิกษุที่พระตถาคตทรงสั่งสอนใน เวลาเย็น จักบรรลุคุณวิเศษในเวลาเช้า ภิกษุที่พระตถาคตทรงสั่งสอนในเวลาเช้า จักบรรลุคุณวิเศษในเวลาเย็น @เชิงอรรถ : @๑ พระธรรมเทศนานี้พระพุทธเจ้าตรัสหมายถึงเนยยบุคคล เพราะเนยยบุคคลผู้มีปัญญารู้ได้ช้าจะบรรลุ @อรหัตตผลได้ใน ๗ วัน ผู้มีปัญญารู้เร็วจะบรรลุอรหัตตผลได้ใน ๑ วัน (ม.ม.อ. ๒/๓๔๕/๒๓๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๑๙}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]
๕. โพธิราชกุมารสูตร
โพธิราชกุมารถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตั้งแต่อยู่ในครรภ์ [๓๔๖] เมื่อโพธิราชกุมารตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพสัญชิกาบุตรได้กราบทูล โพธิราชกุมารว่า ท่านโพธิราชพระองค์นี้ทรงประกาศไว้ว่า พระพุทธเจ้ามีคุณน่าอัศจรรย์จริง พระธรรมมีคุณน่าอัศจรรย์จริง พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วน่าอัศจรรย์จริง แต่พระองค์ไม่ทรงถึงพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะ โพธิราชกุมารตรัสว่า สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น เรื่องนั้นเราได้ฟังมาแล้ว ได้รับมา ต่อพระพักตร์ของพระราชมารดาของเราแล้ว คือ ครั้งหนึ่ง(ครั้งที่ ๑) พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ขณะนั้น เสด็จแม่ของเรากำลังทรง พระครรภ์ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ลูกคนที่อยู่ในครรภ์ของหม่อมฉันนี้จะเป็นชายก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม เขาย่อมถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มี พระภาคจงทรงจำเขาว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต ครั้งหนึ่ง(ครั้งที่ ๒) พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน สถานที่ให้อภัย หมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะนี้ เวลานั้น แม่นมอุ้มเราใส่สะเอวพาเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพธิราชกุมารพระองค์นี้ ย่อมถึงพระผู้มี พระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำ โพธิราชกุมารนั้นว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก แม้ครั้งที่ ๓ เรานี้ย่อมถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระ ธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต ดังนี้แลโพธิราชกุมารสูตรที่ ๕ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๒๐}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๓๙๒-๔๒๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=35 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7663&Z=8236 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=486 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=486&items=35 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=5890 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=486&items=35 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=5890 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i486-e1.php# https://suttacentral.net/mn85/en/sujato https://suttacentral.net/mn85/en/horner
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]