ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๖. อิสิคิลิสูตร
ว่าด้วยภูเขาอิสิคิลิ
[๑๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลิ เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นภูเขาเวภาระ นั่นไหม” ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า” “ภูเขาเวภาระนั่น มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอย่างหนึ่ง เธอทั้งหลายเห็นภูเขาปัณฑวะนั่นไหม” “เห็น พระพุทธเจ้าข้า” “แม้ภูเขาปัณฑวะนั่น มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอย่างหนึ่ง เธอทั้งหลายเห็นภูเขาเวปุลละนั่นไหม” “เห็น พระพุทธเจ้าข้า” “แม้ภูเขาเวปุลละนั่น มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอย่างหนึ่ง เธอทั้งหลายเห็นภูเขาคิชฌกูฏนั่นไหม” “เห็น พระพุทธเจ้าข้า” “แม้ภูเขาคิชฌกูฏนั่น มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอย่างหนึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๗๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๖. อิสิคิลิสูตร

เธอทั้งหลายเห็นภูเขาอิสิคิลินี้ไหม” “เห็น พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย แต่ภูเขาอิสิคิลินี้นั่น มีชื่อเช่นนี้ มีบัญญัติเช่นนี้ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลิ นี้มานาน พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นกำลังเข้าไปสู่ภูเขานี้ ประชาชนเห็น แต่ พอท่านเข้าไปแล้ว ประชาชนไม่เห็น ประชาชนทั้งหลายเห็นเหตุดังกล่าวนั้น จึง พูดกันอย่างนี้ว่า ‘ภูเขานี้กลืนกินฤาษีเหล่านี้’ ภูเขานี้จึงปรากฏชื่อว่า อิสิคิลิ อิสิคิลิ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย เราจักบอก ระบุ แสดงชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น จงใส่ใจให้ดี เรา จักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า [๑๓๔] “ภิกษุทั้งหลาย พระอริฏฐปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขา อิสิคิลินี้มานานแล้ว พระอุปริฏฐปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มา นานแล้ว พระตครสิขีปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระยสัสสีปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระสุทัสสน ปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระปิยทัสสีปัจเจก สัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระคันธารปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระปิณโฑลปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระอุปาสภปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขา อิสิคิลินี้มานานแล้ว พระนิถปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน แล้ว พระตถปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระสุตวา ปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระภาวิตัตตปัจเจก สัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๗๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๖. อิสิคิลิสูตร

[๑๓๕] เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังเราผู้ประกาศชื่อ ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่มีธรรมเป็นสาระกว่าสรรพสัตว์ ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความอยากได้ บรรลุพระสัมโพธิญาณเฉพาะตน ผู้ปราศจากลูกศรคือตัณหา สูงกว่านรชน ดังต่อไปนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้สิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ คือ อริฏฐพุทธะ ๑ อุปริฏฐพุทธะ ๑ ตครสิขีพุทธะ ๑ ยสัสสีพุทธะ ๑ สุทัสสนพุทธะ ๑ ปิยทัสสีพุทธะ ๑ คันธารพุทธะ ๑ ปิณโฑลพุทธะ ๑ อุปาสภพุทธะ ๑ นิถพุทธะ ๑ ตถพุทธะ ๑ สุตวาพุทธะ ๑ ภาวิตัตตพุทธะ ๑ สุมภพุทธะ ๑ สุภพุทธะ ๑ เมถุลพุทธะ ๑ อัฏฐมพุทธะ ๑ อัสสุเมฆพุทธะ ๑ อนิฆพุทธะ ๑ สุทาฐพุทธะ ๑ พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มีอานุภาพมาก คือ หิงคูพุทธะ ๑ หิงคพุทธะ ๑ พระมุนีชื่อชาลีมี ๒ องค์ และพระอัฏฐกพุทธะ ๑ โกสัลลพุทธะ ๑ อถพุทธะ ๑ สุพาหุพุทธะ ๑ อุปเนมิสพุทธะ ๑ เนมิสพุทธะ ๑ สันตจิตตพุทธะ ๑ สัจจพุทธะ ๑ ตถพุทธะ ๑ วิรชพุทธะ ๑ ปัณฑิตพุทธะ ๑ กาฬพุทธะ ๑ อุปกาฬพุทธะ ๑ วิชิตพุทธะ ๑ ชิตพุทธะ ๑ อังคพุทธะ ๑ ปังคพุทธะ ๑ คุติจฉิตพุทธะ ๑ ปัสสีพุทธะผู้ละอุปธิอันเป็นมูลแห่งทุกข์ได้ ๑ อปราชิตพุทธะผู้ชนะมารและพลมาร ๑ สัตถาพุทธะ ๑ ปวัตตาพุทธะ ๑ สรภังคพุทธะ ๑ โลมหังสพุทธะ ๑ อุจจังคมายพุทธะ ๑ อสิตพุทธะ ๑ อนาสวพุทธะ ๑ มโนมยพุทธะ ๑ พันธุมาพุทธะผู้ตัดขาดมานะได้ ๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๗๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๖. อิสิคิลิสูตร

ตทาธิมุตตพุทธะ ๑ วิมลพุทธะ ๑ เกตุมาพุทธะ ๑ เกตุมพราคพุทธะ ๑ มาตังคพุทธะ ๑ อริยพุทธะ ๑ อัจจุตพุทธะ ๑ อัจจุตคามพุทธะ ๑ พยามกพุทธะ ๑ สุมังคลพุทธะ ๑ ทัพพิลพุทธะ ๑ สุปติฏฐิตพุทธะ ๑ อสัยหพุทธะ ๑ เขมาภิรตพุทธะ ๑ โสรตพุทธะ ๑ ทุรันนยพุทธะ ๑ สังฆพุทธะ ๑ อุชชยพุทธะ ๑ พระมุนีองค์หนึ่งชื่อว่า สัยหะ ผู้มีความเพียร ไม่ต่ำทราม ๑ พระปัจเจกพุทธะพระนามว่า อานันทะ (๔ องค์) พระนามว่า นันทะ (๔ องค์) พระนามว่า อุปนันทะ (๔ องค์) รวม ๑๒ องค์ และภารทวาชพุทธะผู้ทรงพระวรกายในภพสุดท้าย ๑ โพธิพุทธะ ๑ มหานามพุทธะ ๑ อุตตรพุทธะ ๑ เกสีพุทธะ ๑ สิขีพุทธะ ๑ สุนทรพุทธะ ๑ ภารทวาชพุทธะ ๑ ติสสพุทธะ ๑ อุปติสสพุทธะ ผู้ตัดกิเลสเครื่องผูกในภพได้ ๑ อุปสีทรีพุทธะ ๑ และสีทรีพุทธะ ผู้ตัดตัณหาได้ ๑ มังคลพุทธะ ผู้ปราศจากราคะ ๑ อุสภพุทธะ ผู้ตัดข่ายอันเป็นมูลแห่งทุกข์ ๑ อุปณีตพุทธะ ได้บรรลุบทอันสงบ ๑ อุโปสถพุทธะ ๑ สุนทรพุทธะ ๑ สัจจนามพุทธะ ๑ เชตพุทธะ ๑ ชยันตพุทธะ ๑ ปทุมพุทธะ ๑ อุปปลพุทธะ ๑ ปทุมุตตรพุทธะ ๑ รักขิตพุทธะ ๑ ปัพพตพุทธะ ๑ มานัตถัทธพุทธะ ๑ โสภิตพุทธะ ๑ วีตราคพุทธะ ๑ กัณหพุทธะ ผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ๑ พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มีอานุภาพมากเหล่านี้ และอื่นๆ ผู้สิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๗๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๗. มหาจัตตารีสกสูตร

เธอทั้งหลายจงไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้ล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้องทั้งปวงได้แล้ว ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีคุณอันหาประมาณมิได้ ผู้ปรินิพพานแล้วเถิด”
อิสิคิลิสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๗๐-๑๗๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=16              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3647&Z=3723                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=247              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=247&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=2296              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=247&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=2296                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i247-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.116.piya.html https://suttacentral.net/mn116/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :