ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๒. ปัญจราชสูตร
ว่าด้วยพระราชา ๕ พระองค์
[๑๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระราชา ๕ พระองค์ มีพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นประมุขผู้ เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับบำเรออยู่ มีคำถามเกิดขึ้นในระหว่างการ สนทนากันว่า “อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย” บรรดาพระราชาเหล่านั้น บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “รูปเป็นยอดแห่งกาม ทั้งหลาย” บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “เสียงเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย” บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “กลิ่นเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย” บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “รสเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย” บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “โผฏฐัพพะเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย” ในขณะนั้น พระราชาเหล่านั้นไม่อาจจะตกลงกันได้ พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงได้ตรัสกับพระราชาเหล่านั้นดังนี้ว่า “มาเถิดท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พวกเราจัก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามความข้อนี้กับพระองค์ พระองค์ทรงพยากรณ์ แก่พวกเราอย่างใด พวกเราก็พึงจำคำพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้น” พระราชาเหล่านั้น ทรงรับพระดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๔๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๒. ปัญจราชสูตร

ต่อมา พระราชา ๕ พระองค์นั้น มีพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นประมุข เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้าปเสนทิโกศลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายในที่นี้ เป็นราชาทั้ง ๕ องค์ เอิบอิ่ม เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับบำเรออยู่ มีคำถามเกิดขึ้นในระหว่างการสนทนา กันว่า ‘อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’ บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘รูปเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’ บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘เสียงเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’ บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘กลิ่นเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’ บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘รสเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’ บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘โผฏฐัพพะเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ที่สุดแห่งความพอใจนั่นแหละ อาตมภาพ กล่าวว่า เป็นยอดในกามคุณ ๕ รูปเหล่าใดเป็นที่พอใจของคนบางคน รูปเหล่านั้น ไม่เป็นที่พอใจของคนบางคน เขาพอใจ มีความดำริเต็มรอบด้วยรูปเหล่าใด รูปอื่น จากรูปเหล่านั้นจะยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เขาก็ไม่ปรารถนา รูปเหล่านั้นเป็นรูปที่ดี ยิ่งสำหรับเขา รูปเหล่านั้นเป็นรูปยอดเยี่ยมสำหรับเขา มหาบพิตร เสียงเหล่าใด... มหาบพิตร กลิ่นเหล่าใด... มหาบพิตร รสเหล่าใด... มหาบพิตร โผฏฐัพพะเหล่าใดเป็นที่พอใจของคนบางคน โผฏฐัพพะเหล่านั้น ไม่เป็นที่พอใจของคนบางคน เขาพอใจ มีความดำริเต็มรอบด้วยโผฏฐัพพะเหล่าใด โผฏฐัพพะอื่นจากโผฏฐัพพะเหล่านั้นจะยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เขาก็ไม่ปรารถนา โผฏฐัพพะเหล่านั้นเป็นโผฏฐัพพะที่ดียิ่งสำหรับเขา โผฏฐัพพะเหล่านั้นเป็นโผฏฐัพพะ ยอดเยี่ยมสำหรับเขา” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๔๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๓. โทณปากสูตร

สมัยนั้น จันทนังคลิกอุบาสกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น ลำดับนั้น จันทนังคลิกอุบาสก ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุอย่างหนึ่งปรากฏ แก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เหตุอย่างหนึ่งปรากฏแก่ข้าพระองค์” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จันทนังคลิกะ เหตุนั้นจงปรากฏแก่ท่านเถิด” ลำดับนั้น จันทนังคลิกอุบาสกได้สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเฉพาะพระพักตร์ ด้วยคาถาที่สมควรแก่เหตุนั้นว่า ดอกปทุมชื่อโกกนุท บานในเวลาเช้า ยังไม่สิ้นกลิ่น ยังหอมอยู่ ฉันใด ท่านจงดูพระอังคีรส ผู้ไพโรจน์อยู่ ดุจดวงอาทิตย์รุ่งโรจน์อยู่ในอากาศ ฉันนั้น ลำดับนั้น พระราชา ๕ พระองค์นั้น ทรงให้จันทนังคลิกอุบาสกห่มผ้า ๕ ผืน ทันใดนั้น จันทนังคลิกอุบาสกก็ถวายให้พระผู้มีพระภาคทรงห่มผ้า ๕ ผืนเหล่านั้น
ปัญจราชสูตรที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๔๓-๑๔๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=123              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2575&Z=2630                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=359              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=359&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=3744              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=359&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=3744                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i354-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/sn3.12/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :