ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๒. อุปาสกวรรค ๑. กสิภารทวาชสูตร

๒. อุปาสกวรรค
หมวดว่าด้วยอุบาสก
๑. กสิภารทวาชสูตร
ว่าด้วยกสิภารทวาชพราหมณ์
[๑๙๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลา ทักขิณาคีรีชนบท แคว้นมคธ สมัยนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์ประกอบไถจำนวน ๕๐๐ ในฤดูหว่านข้าว ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร และจีวร เสด็จเข้าไปยังที่ทำการงานของกสิภารทวาชพราหมณ์ สมัยนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์กำลังเลี้ยงอาหารกันอยู่ ครั้งนั้น พระผู้มี พระภาคเสด็จเข้าไปยังสถานที่เลี้ยงอาหารของเขาแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร กสิภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืนบิณฑบาตอยู่ ได้กราบทูล ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระสมณะ ข้าพระองค์ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จึงบริโภค ข้าแต่พระสมณะ แม้พระองค์ก็จงไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จงบริโภคเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่านเหมือนกัน ครั้นไถ และหว่านแล้วก็บริโภค” กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าพระองค์ไม่เห็นแอก ไถ ผาล ประตัก หรือโคพลิพัททั้งหลายของท่าน เมื่อเป็นเช่นนี้ พระโคดมผู้เจริญยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วก็บริโภค” ครั้งนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า พระองค์ยืนยันว่าเป็นชาวนา แต่ข้าพระองค์ไม่เห็นการไถของพระองค์ พระองค์ผู้เป็นชาวนา ข้าพระองค์ถามแล้วขอจงตรัสบอก ข้าพระองค์จะรู้การไถของพระองค์นั้นได้อย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๘๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๒. อุปาสกวรรค ๑. กสิภารทวาชสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริเป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและประตัก เราคุ้มครองกาย คุ้มครองวาจาได้แล้ว สำรวมในการบริโภคอาหาร เราดายหญ้า [คือวาจาสับปลับ] ด้วยคำสัตย์ โสรัจจะของเราช่วยทำงานให้สำเร็จ ความเพียรของเราช่วยนำธุระไปให้ถึงความเกษมจากโยคะ นำไปไม่ถอยหลัง นำไปถึงที่ ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก เราทำนาอย่างนี้ นาที่เราทำนั้นมีผลเป็นอมตะ๑- บุคคลครั้นทำนาอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า “พระโคดมผู้เจริญ ผู้เป็นชาวนา ขอจง บริโภคผลที่เป็นอมตะที่ท่านไถเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การที่เรากล่าวคาถามิใช่เพื่ออาหาร พราหมณ์ นี้ไม่ใช่ธรรมเนียมของผู้เห็นธรรม พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่รับอาหารที่ได้มาเพราะการกล่าวคาถา พราหมณ์ เมื่อธรรมเนียมมีอยู่ จึงมีการประพฤติอย่างนี้ ท่านจงบำรุงด้วยข้าวและน้ำ และด้วยปัจจัยอื่น แก่พระขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งปวง @เชิงอรรถ : @ อมตะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (สํ.ส.อ. ๑/๑๙๗/๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๘๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๒. อุปาสกวรรค ๒. อุทยสูตร

ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว เพราะศาสนานั้นเป็นเขตบุญของผู้แสวงบุญ๑- เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้ มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
กสิภารทวาชสูตรที่ ๑ จบ
๒. อุทยสูตร
ว่าด้วยอุทยพราหมณ์
[๑๙๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า ไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ตักข้าวใส่บาตรถวายจนเต็ม แม้ครั้งที่ ๒ ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ จีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ฯลฯ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ก็ตักข้าว ใส่บาตรถวายจนเต็ม แม้ครั้งที่ ๓ ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ จีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ฯลฯ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ก็ตักข้าว ใส่บาตรถวายจนเต็มแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ติด ในรสจึงเสด็จมาบ่อยๆ” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบคาถาข้อ ๑๙๔ หน้า ๒๗๔-๒๗๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๘๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๘๓-๒๘๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=197              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=5561&Z=5614                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=671              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=671&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=5970              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=671&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=5970                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i671-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn07/sn07.011.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn07/sn07.011.piya.html https://suttacentral.net/sn7.11/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :