ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๘. ปโรสหัสสสูตร
ว่าด้วยภิกษุกว่า ๑,๐๐๐ รูป
[๒๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑,๒๕๐ รูป สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไป ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา อันประกอบด้วยนิพพาน ส่วนภิกษุเหล่านั้นต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึก มาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๔๓-๑๒๔๕/๕๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๑๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต]

๘. ปโรสหัสสสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชี้แจงให้ ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาอันประกอบด้วยนิพพาน ส่วนภิกษุเหล่านั้น ต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ทางที่ดีเราควรจะสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะ พระพักตร์เถิด” ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทาง ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มี พระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อม ปรากฏแก่ข้าพระองค์” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ” ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลาย อันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า ภิกษุกว่า ๑,๐๐๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระสุคต ผู้ทรงแสดงพระธรรมอันปราศจากธุลี คือนิพพานอันไม่มีภัยแต่ที่ไหน ภิกษุทั้งหลายฟังธรรมอันปราศจากมลทิน ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีหมู่ภิกษุแวดล้อมทรงงดงามจริง พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่านาคะ เป็นพระฤๅษีผู้สูงสุดกว่าฤๅษีทั้งหลาย ทรงโปรยฝนอมตธรรม ให้ตกรดพระสาวกทั้งหลาย ข้าแต่พระมหาวีระเจ้า วังคีสะสาวกของพระองค์ ประสงค์จะเฝ้าพระศาสดาจึงออกจากที่พักกลางวัน มาถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์๑- @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๔๗-๑๒๕๐/๕๔๒-๕๔๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๑๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต]

๘. ปโรสหัสสสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วังคีสะ คาถาเหล่านี้เธอตรึกตรองไว้ก่อนแล้ว หรือปรากฏแก่เธอโดยฉับพลันทันที” ท่านพระวังคีสะทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คาถาเหล่านี้ข้าพระองค์ มิได้ตรึกตรองไว้ก่อนเลย แต่ปรากฏแก่ข้าพระองค์โดยฉับพลันทันที” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วังคีสะ ขอให้คาถาที่เธอไม่ได้ตรึกตรองไว้ก่อนเหล่านี้ จงปรากฏแก่เธอยิ่งๆ ขึ้นไปเถิด” ท่านพระวังคีสะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคด้วย คาถาทั้งหลาย ซึ่งตนไม่ได้ตรึกตรองไว้ก่อน ยิ่งขึ้นไปอีกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงครอบงำทางเป็นที่เกิดขึ้นแห่งมาร ทรงทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจดุจตะปู ท่านทั้งหลายจงดูพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงทำการปลดเปลื้องกิเลสเป็นเครื่องผูก ผู้อันตัณหา มานะและทิฏฐิอิงอาศัยไม่ได้ ผู้ทรงจำแนกธรรมเป็นส่วนๆ ได้นั้น ความจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสทางไว้หลายอย่างเพื่อถอนโอฆกิเลส หากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสทางอมตะนั้นไว้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้เห็นธรรม ก็ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทำแสงสว่างให้เกิด ทรงรู้แจ่มแจ้ง ได้เห็นนิพพานเป็นเหตุล่วงพ้นวิญญาณฐิติได้ทั้งหมด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๑๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต]

๙. โกณฑัญญสูตร

ครั้นทรงรู้และทำให้แจ้งจึงได้แสดงธรรมอันเลิศ แก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ๑๐ รูป เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมไว้ดีอย่างนี้ ท่านผู้รู้แจ้งธรรมทั้งหลายจะมีความประมาทได้อย่างไร เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุผู้ไม่ประมาทในคำสอนของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น พึงตั้งใจศึกษาทุกเมื่อ๑-
ปโรสหัสสสูตรที่ ๘ จบ
๙. โกณฑัญญสูตร
ว่าด้วยพระอัญญาโกณฑัญญะ
[๒๑๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้ เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ซึ่งท่านไม่ได้เข้าเฝ้านานแล้ว ได้หมอบลงแทบพระยุคลบาท ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จุมพิตพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคแล้ว นวดเฟ้นด้วยมือทั้งสองและประกาศชื่อว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ชื่อว่า โกณฑัญญะ ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ชื่อว่าโกณฑัญญะ พระพุทธเจ้าข้า” ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะนี้ นานๆ จึงจะได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้หมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มี พระภาคด้วยเศียรเกล้า จุมพิตพระยุคลบาทแล้ว นวดเฟ้นด้วยมือทั้งสองและประกาศ ชื่อว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ชื่อว่าโกณฑัญญะ ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ชื่อว่าโกณฑัญญะ’ ทางที่ดีเราควรสรรเสริญท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเถิด” @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๕๑-๑๒๕๔/๕๔๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๑๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๑๔-๓๑๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=216              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=6224&Z=6280                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=747              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=747&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6849              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=747&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6849                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i727-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/sn8.8/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :