ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต]

๑. อินทกสูตร

๑๐. ยักขสังยุต
๑. อินทกสูตร
ว่าด้วยอินทกยักษ์
[๒๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาอินทกูฏ ซึ่งเป็นภพของอินทก- ยักษ์ เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น อินทกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า รูปไม่ใช่ชีวะ สัตว์นี้จะมีร่างกายนี้ได้อย่างไรหนอ กระดูกและก้อนเนื้อมาจากไหน สัตว์นี้จะอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า รูปนี้เป็นกลละ๑- ก่อน จากกลละเกิดเป็นอัพพุทะ๒- จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ (ชิ้นเนื้อเล็ก) จากเปสิเกิดเป็นฆนะ (เป็นก้อน) จากฆนะเกิดเป็นปุ่ม ๕ ปุ่ม๓- ต่อจากนั้น ผม ขนและเล็บ จึงเกิดขึ้น @เชิงอรรถ : @ กลละ หมายถึงรูปละเอียดมีลักษณะกลมใส ขนาดเท่าหยดน้ำมันที่ติดอยู่บนขนแกะซึ่งเหลือจากการสบัด ๓ @ครั้ง (สํ.ส.อ. ๑/๒๓๕/๒๘๔, สํ.ฏีกา ๑/๒๓๕/๓๒๖) @ อัพพุทะ หมายถึงรูปละเอียดที่เกิดถัดจากกลละนั้นไป ๗ วัน มีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ มีลักษณะเหมือนดีบุก @เหลว (สํ.ส.อ. ๑/๒๓๕/๒๘๕, สํ.ฏีกา ๑/๒๓๕/๓๒๖) @ ปุ่ม ๕ ปุ่ม หมายถึงในสัปดาห์ที่ ๕ เกิดเป็นปุ่ม ๕ ปุ่ม คือ แขน ๒ เท้า ๒ ศีรษะ ๑ (สํ.ส.อ. ๑/๒๓๕/๒๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๓๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต]

๒. สักกสูตร

มารดาของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์นั้น บริโภคข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดานั้น ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปในครรภ์ ด้วยข้าวน้ำโภชนาหารอย่างนั้น
อินทกสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๓๗-๓๓๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=235              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=6627&Z=6642                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=801              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=801&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=7325              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=801&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=7325                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i801-e.php# https://suttacentral.net/sn10.1/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :