ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๖. กามทสูตร

๖. กามทสูตร
ว่าด้วยกามทเทพบุตร
[๘๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี กามทเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมณธรรมบำเพ็ญได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมณธรรม บำเพ็ญได้ยากยิ่ง” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทเทพบุตร ชนทั้งหลายผู้ตั้งมั่นในศีล ของพระเสขะ ผู้ตั้งตนไว้มั่นคงแล้ว ย่อมบำเพ็ญสมณธรรมที่บำเพ็ญได้ยาก ความสันโดษ๑- ย่อมนำความสุขมาให้ แก่บุคคลผู้ออกจากเรือนบวช กามทเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สิ่งที่ได้ยากนี้ คือ ความสันโดษ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทเทพบุตร ชนเหล่าใด ยินดีในความสงบทางใจ มีใจยินดีในการอบรมจิตทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นย่อมได้แม้สิ่งที่ได้ยาก @เชิงอรรถ : @ ความสันโดษ หมายถึงความสันโดษในปัจจัย ๔ (คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช- @บริขาร) (สํ.ส.อ. ๑/๘๗/๑๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๙๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๖. กามทสูตร

กามทเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สิ่งที่ตั้งมั่นได้ยากนี้ คือ จิต พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทเทพบุตร ชนเหล่าใด ยินดีในความสงบแห่งอินทรีย์ ชนเหล่านั้นย่อมตั้งจิตที่ตั้งมั่นได้ยากให้ตั้งมั่นได้ กามทเทพบุตร พระอริยะเหล่านั้นตัดข่ายแห่งมัจจุได้แล้ว กามทเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทางที่ไปได้ยาก คือ ทางที่ไม่สม่ำเสมอ๑- พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทเทพบุตร อริยบุคคลทั้งหลาย ย่อมไปได้แม้ในทางที่ไปได้ยาก ซึ่งเป็นทางที่ไม่สม่ำเสมอ ส่วนผู้ไม่ใช่อริยบุคคลย่อมดิ่งศีรษะ ตกลงไปในทางที่ไม่สม่ำเสมอ ทางนั้นสม่ำเสมอสำหรับอริยบุคคลทั้งหลาย เพราะอริยบุคคลทั้งหลาย เป็นผู้สม่ำเสมอในทางที่ไม่สม่ำเสมอ
กามทสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ ทางที่ไม่สม่ำเสมอ ในที่นี้หมายถึงหมู่สัตว์ผู้ไม่สม่ำเสมอ (สํ.ส.อ. ๑/๘๗/๑๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๙๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๙๑-๙๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=87              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=1466&Z=1494                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=232              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=232&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=2652              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=232&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=2652                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i221-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn02/sn02.006.olen.html https://suttacentral.net/sn2.6/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :