ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๓. ทีฆลัฏฐิสูตร
ว่าด้วยทีฆลัฏฐิเทพบุตร
[๙๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ทีฆลัฏฐิเทพบุตรมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเวฬุวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๐๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]

๒. อนาถปิณฑิกวรรค ๔. นันทนสูตร

ถ้าภิกษุหวังการบรรลุธรรมที่เป็นหัวใจ มีธรรมที่เป็นหัวใจเป็นอานิสงส์ เธอพึงเป็นผู้มีฌาน มีจิตหลุดพ้น รู้ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งโลก มีใจดี ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย๑-
ทีฆลัฏฐิสูตรที่ ๓ จบ
๔. นันทนสูตร
ว่าด้วยนันทนเทพบุตร
[๙๕] นันทนเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า ข้าแต่พระโคดม ผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ถึงญาณทัสสนะ๒- อันไม่มีสิ่งใดขวางกั้นของพระผู้มีพระภาค บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคล ประเภทใดว่าเป็นผู้มีศีล ประเภทใดว่าเป็นผู้มีปัญญา บุคคลประเภทใดล่วงทุกข์ได้ เทวดาทั้งหลายบูชาบุคคลประเภทใด @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบคาถาข้อ ๘๓ หน้า ๘๘ ในเล่มนี้ @ ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณา ทบทวน คือสำรวจรู้มรรคผล @กิเลสที่ละได้แล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน(เว้นพระอรหันต์ ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่) @(องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๔/๒๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๐๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๐๐-๑๐๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=94              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=1635&Z=1647                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=256              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=256&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=2763              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=256&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=2763                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i251-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/sn2.13/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :