ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๓. จันทูปมาสูตร

๓. จันทูปมาสูตร
ว่าด้วยการเปรียบเทียบภิกษุกับดวงจันทร์
[๑๔๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ... “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นเหมือนดวงจันทร์ จงพรากกาย๑- พรากจิต ออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิจ๒- ไม่คะนอง๓- เข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลายเถิด เปรียบเหมือนบุรุษพึงพรากกายพรากจิต แลดูบ่อน้ำซึ่งคร่ำคร่า ภูเขาที่ขรุขระ หรือแม่น้ำที่ขาดเป็นห้วงๆ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยนั้นก็ฉันนั้น เธอทั้งหลายก็จงเป็น เหมือนดวงจันทร์จงพรากกายพรากจิตออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิจ ไม่คะนอง เข้าไปสู่ ตระกูลทั้งหลาย กัสสปะเปรียบเหมือนดวงจันทร์ พรากกายพรากจิตออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิจ ไม่คะนองเข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุ เช่นไรจึงสมควรเข้าไปสู่ตระกูล “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่ง ภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงโบกฝ่าพระหัตถ์ในอากาศ ตรัสว่า ‘ภิกษุ ทั้งหลาย ฝ่ามือนี้ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่ติดในอากาศ ฉันใด จิตของภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้เข้าไปสู่ตระกูล ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่ติดในตระกูลทั้งหลาย โดยคิดว่า ‘ผู้ปรารถนาลาภ @เชิงอรรถ : @ พรากกายพรากจิตออก ในที่นี้หมายถึงให้ภิกษุเว้นจากการตรึกตรองถึงกามวิตกเป็นต้น แม้ว่าจะอยู่ใน @บ้านหรืออยู่ในป่าก็ตาม (สํ.นิ.อ. ๒/๑๔๖/๑๘๗) @ เป็นผู้ใหม่เป็นนิจ ในที่นี้หมายถึงให้ภิกษุทำตัวเหมือนอาคันตุกะที่เข้าไปสู่ตระกูล ถ้าเจ้าของบ้านเลื่อมใส นิมนต์ @ให้ฉันก็จงฉัน แต่ถ้าเจ้าของบ้านไม่เลื่อมใส ไม่นิมนต์ ก็ไม่ควรเข้าไปทำความคุ้นเคย (สํ.นิ.อ. ๒/๑๔๖/๑๘๗) @ ไม่คะนอง ในที่นี้หมายถึงให้ภิกษุสำรวมกาย วาจา ใจ ในเวลาอยู่ท่ามกลางหมู่คณะ เป็นต้น @(สํ.นิ.อ. ๒/๑๔๖/๑๘๘-๑๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๓๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๓.จันทูปมาสูตร

จงได้ลาภ ส่วนผู้ปรารถนาบุญ จงทำบุญ’ ฉันนั้น ภิกษุเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภ อันเป็นของตน ฉันใด ก็จงเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภของชนเหล่าอื่น ฉันนั้น ภิกษุ เช่นนี้จึงสมควรเข้าไปสู่ตระกูล จิตของกัสสปะผู้เข้าไปสู่ตระกูล ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่ติดในตระกูลทั้งหลาย โดย คิดว่า ‘ผู้ปรารถนาลาภ จงได้ลาภ ส่วนผู้ปรารถนาบุญ จงทำบุญ’ กัสสปะเป็นผู้ พอใจ ดีใจ ด้วยลาภอันเป็นของตน ฉันใด ภิกษุเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภของชน เหล่าอื่น ฉันนั้น เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ธรรมเทศนาของภิกษุเช่นไร ไม่บริสุทธิ์ ของภิกษุเช่นไรบริสุทธิ์” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่ง ภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้” “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ‘ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรม ของเรา ครั้นฟังแล้ว พึงเลื่อมใสธรรม และผู้ที่เลื่อมใสแล้ว พึงทำอาการของผู้ ที่เลื่อมใสต่อเรา’ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ธรรมเทศนาของภิกษุเช่นนี้ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์ ส่วนภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ไฉนหนอ ชนทั้งหลาย พึงฟังธรรมของเรา ครั้นฟังแล้ว พึงรู้ทั่วถึงธรรม และครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว พึงปฏิบัติ เพื่อความเป็นอย่างนั้น’ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น เธออาศัยความที่ธรรมเป็น ธรรมดีจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความกรุณาจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความเอ็นดูจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์จึงแสดงธรรม แก่ชนเหล่าอื่น ด้วยประการฉะนี้ ธรรมเทศนาของภิกษุเช่นนี้ชื่อว่าบริสุทธิ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๓๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๔. กุลูปกสูตร

กัสสปะมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ไฉนหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ครั้นฟังแล้ว พึงรู้ทั่วถึงธรรม และครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น’ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น เธออาศัยความที่ธรรมเป็นธรรมดีจึงแสดงธรรมแก่ชน เหล่าอื่น อาศัยความกรุณาจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความเอ็นดูจึงแสดง ธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ด้วยประการ ฉะนี้ ภิกษุทั้งหลาย เราจักกล่าวสอนเธอทั้งหลายให้(ประพฤติ)ตามกัสสปะ หรือผู้ ใดพึงเป็นเช่นกัสสปะ เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น และเธอทั้งหลายผู้ได้รับ โอวาทแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น”
จันทูปมาสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๓๗-๒๓๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=141              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=5212&Z=5274                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=470              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=470&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=4149              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=470&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=4149                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i462-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/sn16.3/en/sujato https://suttacentral.net/sn16.3/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :