บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค _____________ ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๑. ขันธสังยุต มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค หมวดว่าด้วยนกุลปิตาคหบดี ๑. นกุลปิตุสูตร ว่าด้วยนกุลปิตาคหบดี [๑] ข้าพเจ้า๑- ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน สถานที่พระราชทาน อภัยแก่หมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น นกุลปิตาคหบดีเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร๒- ได้กราบ ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาล มามาก ผ่านวัยมามาก มีกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วยประจำ พระผู้มีพระภาค @เชิงอรรถ : @๑ ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่นๆ ในเล่มนี้ หมายถึงพระอานนท์ @๒ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสม คือ เว้นโทษ ๖ ประการ ได้แก่ (๑) ไกลเกินไป @(๒) ใกล้เกินไป (๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป @(สํ.นิ.อ. ๒/๖๐/๙๘, องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร
และภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ ข้าพระองค์ก็ไม่ได้เห็นเป็นนิตย์ ขอพระผู้มี พระภาคโปรดโอวาท โปรดสั่งสอนข้าพระองค์ด้วยพระดำรัสที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี เรื่องนี้เป็น อย่างนั้น ความจริง กายนี้กระสับกระส่าย เป็นดังฟองไข่ มีเปลือกหุ้มไว้ อนึ่ง บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรับรองความไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว จะมีอะไรเล่า นอกจากความโง่เขลา เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เมื่อเรามีกาย กระสับกระส่ายอยู่ จิตจักไม่กระสับกระส่าย ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ ลำดับนั้น นกุลปิตาคหบดีชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจาก อาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ๑- แล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้ถามนกุลปิตาคหบดีดังนี้ว่า คหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านได้ฟัง ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคหรือไม่ นกุลปิตาคหบดีตอบว่า ท่านผู้เจริญ ทำไมจะไม่เป็นอย่างนี้เล่า บัดนี้ พระ ผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมตธรรมรดกระผมด้วยธรรมีกถา คหบดี พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมตธรรมรดท่านด้วยธรรมีกถาอย่างไร ท่านผู้เจริญ กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามาก มีกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วยประจำ พระผู้มีพระภาคและภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ ข้าพระองค์ก็ไม่ได้เห็นเป็นนิตย์ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดโอวาท โปรดสั่งสอนข้าพระองค์ด้วยพระดำรัสที่เป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด เมื่อกระผมกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับกระผมดังนี้ว่า คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ความจริง กายนี้ @เชิงอรรถ : @๑ กระทำประทักษิณ หมายถึงการเดินเวียนขวา คือเดินประณมมือเวียนขวาตามเข็มนาฬิกา ๓ รอบ @(วิ.อ. ๑/๑๕/๑๗๖-๑๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๒}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร
กระสับกระส่าย เป็นดังฟองไข่ มีเปลือกหุ้มไว้ อนึ่ง บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรับรองความไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว จะมีอะไรเล่า นอกจากความโง่เขลา เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิต จักไม่กระสับกระส่าย ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมตธรรมรดกระผมด้วยธรรมีกถา อย่างนี้ คหบดี ก็ท่านไม่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคให้ยิ่งขึ้นหรือว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และชื่อว่า มีจิตกระสับกระส่าย และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับ กระส่าย แต่ไม่ชื่อว่ามีจิตกระสับกระส่าย ท่านผู้เจริญ แม้กระผมมาจากที่ไกลก็เพื่อจะทราบเนื้อความแห่งพระภาษิต นั้นในสำนักท่านพระสารีบุตร ขอโอกาส เฉพาะท่านพระสารีบุตรเท่านั้นที่จะ อธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้ง คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวสักกายทิฏฐิ ๒๐ นกุลปิตาคหบดีรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า คหบดี บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และมีจิตกระสับกระส่าย เป็นอย่างไร คือ ปุถุชน๑- ในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ๒- ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย @เชิงอรรถ : @๑ ปุถุชน หมายถึงคนที่ยังมีกิเลสหนา ที่เรียกเช่นนี้ เพราะบุคคลประเภทนี้ยังมีเหตุก่อให้เกิดกิเลสอย่าง @หนานานัปการ ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ อันธปุถุชน คนที่ไม่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิต และ @กัลยาณปุถุชน คนที่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิตแล้ว (ที.สี.อ. ๗/๕๘-๘๙) @๒ ผู้ไม่ได้สดับ ในที่นี้หมายถึงผู้ไม่มีปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๑/๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร
ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา รูปนั้นแปรผัน เป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) จึงเกิดขึ้นแก่เขา พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา ดำรงอยู่ด้วยความ ยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาเป็นของเรา เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาเป็นของเรา เวทนานั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะเวทนา แปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา ดำรงอยู่ด้วย ความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นของเรา เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความ ยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นของเรา สัญญานั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะสัญญาแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดขึ้นแก่เขา พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร พิจารณา เห็นสังขารในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารเป็นของเรา เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น สังขาร สังขารเป็นของเรา สังขารนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะสังขารแปรผัน และเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ดำรงอยู่ด้วย ความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๔}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร
ยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา วิญญาณนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดขึ้นแก่เขา คหบดี บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และมีจิตกระสับกระส่าย เป็นอย่างนี้แล บุคคลแม้ชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่ไม่ชื่อว่ามีจิตกระสับกระส่าย เป็นอย่างไร คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดใน ธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด ในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดย ความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปเป็น ของเรา เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปเป็น ของเรา รูปนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา ไม่พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา ไม่ดำรงอยู่ ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาเป็นของเรา เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่ ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาเป็นของเรา เวทนานั้นแปรผัน เป็นอย่างอื่น เพราะเวทนาแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา ไม่พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา ไม่ดำรงอยู่ ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นของเรา เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่ ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นของเรา สัญญานั้น แปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะสัญญาแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๕}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๒. เทวทหสูตร
ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร ไม่พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร ไม่ดำรงอยู่ ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารเป็นของเรา เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่ ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารเป็นของเรา สังขารนั้นแปรผัน เป็นอย่างอื่น เพราะสังขารแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ไม่ดำรง อยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา เมื่อพระอริยสาวก นั้นไม่ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา วิญญาณ นั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น คหบดี บุคคลแม้ชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่ไม่ชื่อว่ามีจิตกระสับ กระส่าย เป็นอย่างนี้แล ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวอย่างนี้แล้ว นกุลปิตาคหบดีมีใจยินดี ชื่นชมภาษิต ของท่านพระสารีบุตรนกุลปิตุสูตรที่ ๑ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑-๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=1 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=1&Z=105 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=1 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=1&items=5 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6017 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=1&items=5 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6017 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i001-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.001.than.html https://suttacentral.net/sn22.1/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.1/en/bodhi
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]