ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๑๐. นิรุตติปถสูตร

๑๐. นิรุตติปถสูตร
ว่าด้วยหลักภาษา
[๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓ ประการนี้ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ไม่ได้ ถูกทอดทิ้ง ไม่เคยถูกทอดทิ้ง ย่อมไม่ถูกทอดทิ้ง จักไม่ถูกทอดทิ้ง ไม่ถูกสมณ- พราหมณ์ผู้เป็นวิญญูชนคัดค้านแล้ว หลักการ ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือ ๑.รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ตั้งชื่อรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่ เรียกรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘จักมี’ เวทนาใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ตั้งชื่อเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘จักมี’ สัญญาใด ฯลฯ สังขารเหล่าใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกสังขารนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ตั้งชื่อสังขารนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติสังขารเหล่านั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกสังขาร เหล่านั้นว่า ‘จักมี’ วิญญาณใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติวิญญาณนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกวิญญาณ นั้นว่า ‘จักมี’ ๒. รูปยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกรูปนั้นว่า ‘จักมี’ ตั้งชื่อรูปนั้นว่า ‘จักมี’ และบัญญัติรูปนั้นว่า ‘จักมี’ (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๐๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๑๐. นิรุตติปถสูตร

เวทนาใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกเวทนานั้นว่า ‘จักมี’ ตั้งชื่อเวทนานั้นว่า ‘จักมี’ และบัญญัติเวทนานั้นว่า ‘จักมี’ (แต่) ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว สัญญาใด ฯลฯ สังขารเหล่าใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘จักมี’ ตั้งชื่อสังขารเหล่านั้นว่า ‘จักมี’ และบัญญัติสังขารเหล่านั้นว่า ‘จักมี’ (แต่) ไม่เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกสังขาร เหล่านั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’ ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’ และบัญญัติวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’ (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีแล้ว’ ๓. รูปใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ ตั้งชื่อรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ และบัญญัติรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘จักมี’ เวทนาใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ ตั้ง ชื่อเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ และบัญญัติเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ (แต่) ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘จักมี’ สัญญาใด ฯลฯ สังขารเหล่าใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘มีอยู่’ ตั้งชื่อสังขารเหล่านั้นว่า ‘มีอยู่’ และบัญญัติสังขารเหล่านั้น ว่า ‘มีอยู่’ (แต่) ไม่เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ไม่เรียก สังขารเหล่านั้นว่า ‘จักมี’ วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ และบัญญัติวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๐๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓ ประการ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ไม่ได้ถูกทอดทิ้ง ไม่เคยถูกทอดทิ้ง ย่อมไม่ถูกทอดทิ้ง จักไม่ถูกทอดทิ้ง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูชนคัดค้านแล้ว ภิกษุทั้งหลาย แม้ชนชาวอุกกลชนบท กับชนชาววัสสภัญญชนบททั้ง ๒ พวก นั้นเป็นผู้มีอเหตุกวาทะ๑- เป็นผู้มีอกิริยวาทะ๒- เป็นผู้มีนัตถิกวาทะ๓- ก็ได้สำคัญว่า หลักการ ๓ ประการ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ไม่ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ใส่โทษ และถูกคัดค้าน”
นิรุตติปถสูตรที่ ๑๐ จบ
อุปยวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อุปยสูตร ๒. พีชสูตร ๓. อุทานสูตร ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร ๕. สัตตัฏฐานสูตร ๖. สัมมาสัมพุทธสูตร ๗. อนัตตลักขณสูตร ๘. มหาลิสูตร ๙. อาทิตตสูตร ๑๐. นิรุตติปถสูตร @เชิงอรรถ : @ อเหตุกวาทะ หมายถึงลัทธิที่ปฏิเสธเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์ หรือเศร้าหมอง (สํ.ข.อ. ๒/๖๒/๓๐๗) @ อกิริยวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าการกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความ @เห็นที่ปฏิเสธกฎแห่งกรรม (สํ.ข.อ. ๒/๖๒/๓๐๗, ที.สี.อ. ๑๖๖/๑๔๕) @ นัตถิกวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง (สํ.ข.อ. ๒/๖๒/๓๐๗, @ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๐๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๐๐-๑๐๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=62              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=1586&Z=1637                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=134              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=134&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6744              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=134&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6744                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i105-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn22.62/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.62/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :