ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๓. เผณปิณฑูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ
[๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา เขตเมือง อยุชฌา ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคานี้พึงพัดฟองน้ำกลุ่มใหญ่มา บุรุษผู้มีตาดีก็จะพึง เห็น เพ่ง พิจารณาฟองน้ำกลุ่มใหญ่นั้นโดยแยบคายได้ เมื่อเขาเห็น เพ่ง พิจารณาฟองน้ำกลุ่มใหญ่นั้นโดยแยบคาย ฟองน้ำก็จะพึงปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หาสาระมิได้เลย สาระในฟองน้ำจะมีได้อย่างไร แม้ฉันใด รูปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ ฉันนั้นเหมือนกัน ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม ภิกษุเห็น เพ่ง พิจารณารูปนั้นโดยแยบคาย เมื่อเธอเห็น เพ่ง พิจารณารูปนั้น โดยแยบคาย รูปก็จะปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หาสาระมิได้เลย สาระในรูปจะมี ได้อย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๘๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๓. เผณปิณฑูปมสูตร

เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกในสารทฤดู ฟองน้ำเกิดขึ้นและดับไปบนผิวน้ำ บุรุษผู้มี ตาดีก็พึงเห็น เพ่ง พิจารณาฟองน้ำนั้นโดยแยบคายได้ เมื่อเขาเห็น เพ่ง พิจารณา ฟองน้ำนั้นโดยแยบคาย ฟองน้ำก็จะพึงปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หาสาระมิได้เลย สาระในฟองน้ำนั้นจะมีได้อย่างไร แม้ฉันใด เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ฉันนั้นเหมือน กัน ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม ภิกษุเห็น เพ่ง พิจารณาเวทนานั้นโดยแยบคาย เมื่อเธอเห็น เพ่ง พิจารณาเวทนานั้นโดยแยบคาย เวทนาก็จะปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หาสาระมิได้เลย สาระในเวทนาจะมีได้อย่างไร เมื่อเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนยังอยู่ พยับแดดระยิบระยับในเวลาเที่ยง บุรุษ ผู้มีตาดีก็จะพึงเห็น เพ่ง พิจารณาพยับแดดนั้นโดยแยบคายได้ เมื่อเขาเห็น เพ่ง พิจารณาพยับแดดนั้นโดยแยบคาย พยับแดดก็จะปรากฏเป็นของว่าง เปล่า ฯลฯ สาระในพยับแดดจะมีได้อย่างไร แม้ฉันใด สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ฉันนั้น เหมือนกัน ฯลฯ บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้ ถือขวานที่คมเข้าไปสู่ป่า เขาเห็นต้นกล้วยใหญ่ ตรง กำลังรุ่น ไม่มีแก่นในป่านั้นจึงตัดโคน ตัดปลาย แล้ว ปอกกาบออก เขาปอกกาบออกแล้ว ไม่ได้แม้กระพี้ในต้นกล้วยนั้น จะได้แก่นแต่ ที่ไหนเล่า บุรุษผู้มีตาดีก็จะเห็น เพ่ง พิจารณาต้นกล้วยนั้นโดยแยบคายได้ เมื่อ เขาเห็น เพ่ง พิจารณาต้นกล้วยนั้นโดยแยบคาย ต้นกล้วยก็จะพึงปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หาแก่นมิได้เลย แก่นในต้นกล้วยจะมีได้อย่างไร แม้ฉันใด สังขารเหล่าใด เหล่าหนึ่งก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือใกล้ ก็ตาม ภิกษุเห็น เพ่ง พิจารณาสังขารนั้นโดยแยบคาย เมื่อเธอเห็น เพ่ง พิจารณาสังขารนั้นโดยแยบคาย สังขารก็จะปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หาสาระ มิได้เลย สาระในสังขารทั้งหลายจะมีได้อย่างไร นักมายากลหรือลูกมือนักมายากลแสดงมายากลที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง บุรุษ ผู้มีตาดีก็จะพึงเห็น เพ่ง พิจารณามายากลนั้นโดยแยบคายได้ เมื่อเขาเห็น เพ่ง พิจารณามายากลนั้นโดยแยบคาย มายากลก็จะพึงปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หา สาระมิได้เลย สาระในมายากลจะมีได้อย่างไร แม้ฉันใด วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๘๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๓. เผณปิณฑูปมสูตร

ภิกษุเห็น เพ่ง พิจารณาวิญญาณนั้นโดยแยบคาย เมื่อเธอเห็น เพ่ง พิจารณา วิญญาณนั้นโดยแยบคาย วิญญาณก็จะปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หาสาระมิได้เลย สาระในวิญญาณจะมีได้อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อม หลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ฯลฯ ไม่มีกิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา- ประพันธ์ต่อไปอีกว่า “พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้วว่า ‘รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ สัญญาอุปมาด้วยพยับแดด สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย และวิญญาณอุปมาด้วยมายากล ภิกษุเพ่งพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ นั้นโดยแยบคายด้วยประการใดๆ ขันธ์ ๕ นั้น ก็ปรากฏเป็นของว่างเปล่าด้วยประการนั้นๆ การละธรรม ๓ ประการซึ่งพระพุทธเจ้า ผู้ทรงมีปัญญาดุจแผ่นดิน ทรงปรารภกายนี้ แสดงไว้แล้ว ท่านทั้งหลาย จงดูรูปที่บุคคลทิ้งแล้ว เมื่อใด อายุ ไออุ่น และวิญญาณละกายนี้ เมื่อนั้น กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนเป็นเหยื่อของสัตว์อื่น ปราศจากเจตนา ความสืบต่อเป็นเช่นนี้ นี้เป็นมายากลสำหรับหลอกลวงคนโง่ ขันธ์ ๕ เปรียบเหมือนเพชฌฆาต เราบอกแล้ว สาระในขันธ์ ๕ นี้ไม่มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๘๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๔. โคมยปิณฑสูตร

ภิกษุผู้ปรารภความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ทั้งกลางวันและกลางคืน ภิกษุเมื่อปรารถนาบทอันไม่จุติ๑- พึงละสังโยชน์๒- ทั้งปวง ทำที่พึ่งแก่ตน ประพฤติดุจบุคคลถูกไฟไหม้ศีรษะฉะนั้น”
เผณปิณฑูปมสูตรที่ ๓ จบ
๔. โคมยปิณฑสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยก้อนโคมัย
[๙๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง เสมออยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ” @เชิงอรรถ : @ บทอันไม่จุติ ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (สํ.ข.อ. ๒/๙๕/๓๕๓) @ สังโยชน์ หมายถึง กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์กับทุกข์ มี ๑๐ ประการ คือ (๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่า @เป็นตัวของตน (๒) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต (๔) กามราคะ @ความติดใจในกามคุณ (๕) ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ หรือพยาบาท ความคิดร้าย (๖) รูปราคะ @ความติดใจในรูปธรรม (๗) อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม (๘) มานะ ความถือตัว (๙) อุทธัจจะ @ความฟุ้งซ่าน (๑๐) อวิชชา ความไม่รู้จริง (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑, @อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๐/๕๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๘๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๘๐-๑๘๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=95              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=3132&Z=3191                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=242              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=242&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=7714              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=242&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=7714                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i237-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.095.than.html https://suttacentral.net/sn22.95/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.95/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :