ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๒. ทุติยสมุททสูตร
ว่าด้วยสมุทร สูตรที่ ๒
[๒๒๙] “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมกล่าวว่า ‘สมุทร สมุทร’ นั่นไม่ใช่สมุทรในอริยวินัย นั่นเป็นแอ่งน้ำใหญ่ เป็นห้วงน้ำใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ นี้เรียกว่า ‘สมุทรในอริยวินัย’ โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ในสมุทรนี้ โดยมากเป็นผู้เศร้าหมอง ยุ่งเหยิงประดุจด้ายของช่างหูก เป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นประดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย ย่อมไม่พ้นจากอบาย ทุคติ วินิบาต๒- และสงสารไปได้ ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น...มีอยู่ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ โลก ในที่นี้ได้แก่ สังขารโลก โลกคือสังขาร หรือสภาวธรรมที่มีการปรุงแต่งตามเหตุปัจจัย @(สํ.สฬา.อ. ๓/๒๒๘/๕๘) @ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก แต่มีลักษณะต่างกันคือ อบาย หมายถึงสถานที่ @ที่ปราศจากความเจริญงอกงามหรือความสุข ทุคติ หมายถึงสถานที่ที่มีแต่ความทุกข์ วินิบาต หมายถึง @สถานที่ที่สัตว์ผู้ทำความชั่วจะต้องตกไป (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๑๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๓. พาฬิสิโกปมสูตร

ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ นี้เรียกว่า ‘สมุทรในอริยวินัย’ โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ในสมุทรนี้โดย มากเป็นผู้เศร้าหมอง ยุ่งเหยิงประดุจด้ายของช่างหูก เป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นประดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย ย่อมไม่พ้นจากอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้ “บุคคลใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว บุคคลนั้นชื่อว่าข้ามสมุทรนี้ซึ่งมีทั้งคลื่น สัตว์ร้าย (และ) ผีเสื้อน้ำที่น่ากลัวข้ามได้ยากได้แล้ว เรากล่าวว่า ‘บุคคลนั้นล่วงพ้นเครื่องข้อง ละมัจจุ ไม่มีอุปธิ ละทุกข์เพื่อไม่เกิดอีกต่อไป ถึงความดับ ไม่ถึงการนับ ลวงมัจจุราชให้หลงได้”
ทุติยสมุททสูตรที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๑๘-๒๑๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=175              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=4399&Z=4435                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=287              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=287&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1254              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=287&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1254                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i285-e.php#sutta2 http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/salayatana/sn35-229.html https://suttacentral.net/sn35.229/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.229/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :