ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๒. ปหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง
[๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม เพื่อละสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างไร คือ จักขุเป็นสิ่งที่ควรละ รูปเป็นสิ่งที่ควรละ จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรละ จักขุสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ @เชิงอรรถ : @ สิ่งอันมิใช่วิสัย ในที่นี้หมายถึงการทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น การเทินศิลาขนาดเท่าเรือนยอดข้ามน้ำลึก @และการฉุดดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ลงมา เป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้ (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๓/๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๓. อภิญญาปริญญาปหานสูตร

โสตะเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ ฆานะเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ ชิวหาเป็นสิ่งที่ควรละ รสเป็นสิ่งที่ควรละ ชิวหาวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรละ ชิวหาสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ กายเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ มโน๑- เป็นสิ่งที่ควรละ ธรรมารมณ์เป็นสิ่งที่ควรละ มโนวิญญาณ๒- เป็นสิ่งที่ ควรละ มโนสัมผัส๓- เป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์๔- ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”
ปหานสูตรที่ ๒ จบ
๓. อภิญญาปริญญาปหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง
[๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงแก่ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างไร คือ จักขุเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ รูปเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ แล้วละ จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ จักขุสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่ เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ มโน ในที่นี้หมายถึงภวังคจิต (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔/๖) @ มโนวิญญาณ ในที่นี้หมายถึงชวนจิตที่เกิดร่วมกับอาวัชชนจิต (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔/๖) @ มโนสัมผัส ในที่นี้หมายถึงผัสสะที่เกิดพร้อมกับภวังคจิต (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔/๖) @ ความเสวยอารมณ์ ในที่นี้หมายถึงเวทนาที่เกิดพร้อมกับชวนจิต (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔/๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๒-๒๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=22              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=309&Z=318                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=25              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=25&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=111              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=25&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=111                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i024-e.php#sutta2 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.024.than.html https://suttacentral.net/sn35.24/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.24/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :