ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๑๑. คันธภกสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อคันธภกะ
[๓๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อุรุเวลกัปปนิคมของชาว มัลละ แคว้นมัลละ ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อคันธภกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรง แสดงเหตุเกิดและความดับทุกข์แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เราพึงปรารภอดีตกาล แสดงเหตุเกิดทุกข์และความดับทุกข์แก่ ท่านว่า ‘อดีตกาลได้มีแล้วอย่างนี้’ ความสงสัยความเคลือบแคลงในเรื่องนั้นพึงมี แก่ท่าน ถ้าเราพึงปรารภอนาคตกาล แสดงเหตุเกิดทุกข์และความดับทุกข์แก่ท่านว่า ‘อนาคตกาลจักมีอย่างนี้’ ความเคลือบแคลงความสงสัยในเรื่องนั้นพึงมีแก่ท่าน อนึ่ง เรานั่งอยู่ในที่นี้แล จักแสดงเหตุเกิดและความดับทุกข์แก่ท่านผู้นั่งอยู่ใน ที่นี้เหมือนกัน ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๑๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๑. คันธภกสูตร

ผู้ใหญ่บ้านชื่อคันธภกะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส ดังนี้ว่า “ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร มีอยู่ไหม ที่โสกะ (ความ เศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวล- กัปปนิคมถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ” “มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า ที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ” “ผู้ใหญ่บ้าน อนึ่ง มีอยู่ไหม ที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมถูกประหาร จองจำ ปรับ ไหม หรือถูกตำหนิโทษ” “มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า ที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึง เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ” “ผู้ใหญ่บ้าน อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาสพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมบางพวกถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมบางพวกถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสพึง เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่าใดถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ ก็เพราะข้าพระองค์มีฉันทราคะในหมู่มนุษย์ ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่านั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๑๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๑. คันธภกสูตร

แต่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่าใดถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือ ถูกตำหนิโทษ ก็เพราะข้าพระองค์ไม่มีฉันทราคะในหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคม เหล่านั้น พระพุทธเจ้าข้า” “ผู้ใหญ่บ้าน ท่านจงนำนัยไปในทุกข์ที่เป็นอดีตและอนาคตด้วยธรรมนี้ ที่ท่านเห็น ทราบ บรรลุโดยไม่ประกอบด้วยกาล หยั่งลงแล้ว ทุกข์ที่เป็นอดีตอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์นั้นทั้งหมด มีฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ แม้ทุกข์ที่เป็นอนาคตอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจะเกิด จักเกิดขึ้น ทุกข์นั้นทั้ง หมดมีฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เท่าที่พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ดีว่า ‘ทุกข์ที่เป็นอดีตอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์นั้น ทั้งหมดมีฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ (ทุกข์ที่เป็นอนาคตอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจะเกิด จักเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมี ฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์)’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีกุมารชื่อจิรวาสี อาศัยอยู่ภายนอกที่พัก ข้าพระองค์ตื่นแต่เช้าตรู่ ย่อมส่งบุรุษไปด้วยสั่งว่า ‘ไปเถิดนาย เจ้าจงรู้จิรวาสีกุมาร’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตราบใดที่บุรุษนั้นยังไม่มา ตราบนั้นความกระวน- กระวายใจย่อมมีแก่ข้าพระองค์ว่า ‘ภัยใดๆ อย่าได้เบียดเบียนจิรวาสีกุมารเลย” “ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส พึงเกิดขึ้นเพราะจิรวาสีกุมารถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูก ตำหนิโทษหรือ” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เมื่อจิรวาสีกุมารยังมีชีวิตอยู่ ความกระวนกระวาย ใจยังมีแก่ข้าพระองค์ ก็ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจักไม่ เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะจิรวาสีกุมารถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูก ตำหนิโทษเล่า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๑๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๒. ราสิยสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านพึงทราบเนื้อความนั้นโดยเหตุนี้ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์นั้นทั้งหมดมีฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อใดท่านไม่ได้เห็นมารดาของจิรวาสีกุมาร ไม่ได้ฟังเสียง เมื่อนั้นท่านยังมีฉันทราคะหรือความรักในมารดาของจิรวาสีกุมารหรือ” “ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า” “ผู้ใหญ่บ้าน เพราะอาศัยการเห็นหรือการฟัง ท่านจึงได้มีฉันทราคะหรือ ความรักในมารดาของจิรวาสีกุมารหรือ” “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะมารดาของจิรวาสีกุมารถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษหรือ” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เมื่อมารดาของจิรวาสีกุมารยังมีชีวิตอยู่ ความ กระวนกระวายยังมีแก่ข้าพระองค์ ก็ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาสจักไม่เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะมารดาของจิรวาสีกุมารถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษเล่า” “ผู้ใหญ่บ้าน ท่านพึงทราบความข้อนั้นโดยเหตุนี้ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์นั้นทั้งหมดมีฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์”
คันธภกสูตรที่ ๑๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๔๑๖-๔๑๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=277              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=8263&Z=8344                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=627              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=627&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3715              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=627&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3715                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i586-e.php#sutta11 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn42/sn42.011.than.html https://suttacentral.net/sn42.11/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :