ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๙. ปฐมวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๑
[๔๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์ สัทธินทรีย์ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๑-’ นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์ @เชิงอรรถ : @ พระพุทธคุณ ๙ บทนี้ แต่ละบทมีอรรถอเนกประการ คือ @๑. ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะห่างไกลจากกิเลส เพราะกำจัดข้าศึกคือกิเลส เพราะหักซี่กำแห่งสังสาระ @คือการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเป็นผู้ควรรับไทยธรรม เพราะไม่ทำบาปในที่ลับ @๒. ชื่อว่าตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๘๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]

๑. สุทธิกวรรค ๑๐. ทุติยวิภังคสูตร

วิริยินทรีย์ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร๑- เพื่อละอกุศลธรรม เข้าถึงกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง๒- มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศล- ธรรมอยู่ นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์ @เชิงอรรถ : @๓. ชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ วิชชา ได้แก่ วิชชา ๓ และวิชชา ๘ วิชชา ๓ คือ @(๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ @(๓) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ วิชชา ๘ คือ (๑) วิปัสสนาญาณ ญาณที่เป็นวิปัสสนา @(๒) มโนมยิทธิ มีฤทธิ์ทางใจ (๓) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ (๔) ทิพพโสต หูทิพย์ (๕) เจโตปริยญาณ @กำหนดรู้จิตผู้อื่นได้ (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ระลึกชาติได้ (๗) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ @หรือเรียกจุตูปปาตญาณ (๘) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ จรณะ ๑๕ คือ (๑) สีลสัมปทา @ความถึงพร้อมด้วยศีล (๒) อินทรียสังวร ความสำรวมอินทรีย์ (๓) โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้ @รู้จักประมาณในการบริโภค (๔) ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น (๕) มี @ศรัทธา (๖) มีหิริ (๗) มีโอตตัปปะ (๘) เป็นพหูสูต (๙) วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร (๑๐) มีสติมั่นคง @(๑๑) มีปัญญา (๑๒) ปฐมฌาน (๑๓) ทุติยฌาน (๑๔) ตติยฌาน (๑๕) จตุตถฌาน @๔. ชื่อว่าผู้เสด็จไปดี เพราะทรงดำเนินรุดหน้าไปไม่หวนกลับคืนมาหากิเลสที่ทรงละได้แล้ว @๕. ชื่อว่าผู้รู้แจ้งโลก เพราะทรงรู้แจ้งโลก เหตุเกิดแห่งโลก ความดับแห่งโลก วิธีปฏิบัติให้ลุถึงความ @ดับแห่งโลก (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค) และทรงรู้แจ้งโลกทั้งสาม คือ สังขารโลก สัตวโลก @และโอกาสโลก @๖. ชื่อว่าสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะทรงฝึกผู้ที่ควรฝึกฝนทั้งเทวดา มนุษย์ อมนุษย์ @และสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยอุบายต่างๆ @๗. ชื่อว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะทรงสั่งสอนทั้งเทวดาและมนุษย์ด้วยประโยชน์ @ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า ผู้ปฏิบัติตามแล้วสำเร็จมรรคผลในโลกนี้บ้าง จุติไปเกิดในสวรรค์ @กลับมาฟังธรรมแล้วสำเร็จมรรคผลบ้าง ทรงช่วยเหลือหมู่สัตว์ให้พ้นความกันดารคือความเกิด @๘. ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมดด้วยพระองค์เอง และทรงสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม @๙. ชื่อว่าเป็นพระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ประกอบด้วย @ภคธรรม ๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน, โลกุตตรธรรม, ยศ, สิริ, ความสำเร็จ @ประโยชน์ตามต้องการ และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรง @คายตัณหาในภพทั้งสาม (๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรง @มีส่วนแห่งปัจจัย ๔ เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘, สารตฺถ.ฏีกา ๑/๒๗๐-๔๐๐) @อนึ่ง พระพุทธคุณนี้ ท่านแบ่งเป็น ๑๐ ประการ โดยแยกข้อ ๖ เป็น ๒ ประการ คือ (๑) เป็นผู้ยอดเยี่ยม @(๒) เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ (วิสุทฺธิ. ๑/๒๖๕, วิ.อ. ๑/๑/๑๑๒-๑๑๓) @ เป็นผู้ปรารภความเพียร ในที่นี้หมายถึงประครองความเพียรทางกายและใจไว้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒/๑) @ มีความเข้มแข็ง ในที่นี้หมายถึงมีกำลังความเพียร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒/๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๘๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]

๑. สุทธิกวรรค ๑๐. ทุติยวิภังคสูตร

สตินทรีย์ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง รักษาตน๑- อย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูดไว้นานบ้าง นี้เรียกว่า สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น ทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”
ปฐมวิภังคสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุติยวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๒
[๔๘๐] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์ สัทธินทรีย์ เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ ปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน แปลจากคำบาลีว่า เนปกฺก อรรถกถาอธิบายว่า เป็นชื่อของปัญญาที่เป็น @อุปการะแก่สติ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔/๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๘๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๘๗-๒๘๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=190              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=5142&Z=5162                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=858              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=858&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=6732              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=858&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=6732                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn48.9/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :