บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๒. ปฐมสังขิตตสูตร ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยย่อ สูตรที่ ๑ [๔๘๒] ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์ ๒. เป็นพระอนาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอรหันต์นั้น ๓. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีนั้น ๔. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น ๕. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี๑- เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ โสดาบันนั้น @เชิงอรรถ : @๑ ธัมมานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลมีปัญญาแก่กล้า @บรรลุผลแล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๙๓}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๓. ทุติยสังขิตตสูตร
๖. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี๑- เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ โสดาบันผู้ธัมมานุสารีนั้นปฐมสังขิตตสูตรที่ ๒ จบ ๓. ทุติยสังขิตตสูตร ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยย่อ สูตรที่ ๒ [๔๘๓] ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์ ๒. เป็นพระอนาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอรหันต์นั้น ๓. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีนั้น ๔. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น ๕. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ โสดาบันนั้น ๖. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ โสดาบันผู้ธัมมานุสารีนั้น ภิกษุทั้งหลาย ความแตกต่างแห่งผลย่อมมีเพราะความแตกต่างแห่งอินทรีย์ ความแตกต่างแห่งบุคคลย่อมมีเพราะความแตกต่างแห่งผล อย่างนี้ทุติยสังขิตตสูตรที่ ๓ จบ @เชิงอรรถ : @๑ สัทธานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามศรัทธา ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลมีศรัทธาแก่กล้า @บรรลุผลแล้วกลายเป็นสัทธาวิมุตติ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๙๔}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๙๓-๒๙๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=193 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=5222&Z=5232 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=876 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=876&items=2 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=6750 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=876&items=2 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=6750 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn48.12/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]