บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๑. ปฐมรโหคตสูตร
๘. อนุรุทธสังยุต ๑. รโหคตวรรค หมวดว่าด้วยผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ๑. ปฐมรโหคตสูตร ว่าด้วยผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด สูตรที่ ๑ [๘๙๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความรำพึงขึ้นมาว่า สติปัฏฐาน ๔ ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พลาดแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้น พลาดแล้ว สติปัฏฐาน ๔ ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรค ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้นปรารภแล้ว ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะทราบความรำพึงของท่านพระอนุรุทธะ ด้วยใจ จึงหายตัวไปปรากฏเฉพาะหน้าของท่านพระอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ทีนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า ท่าน อนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการ ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณา เห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรม เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายภายในอยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณา เห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๒๙}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๑. ปฐมรโหคตสูตร
ธรรมเป็นเหตุดับในกายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรม เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณา เห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายทั้ง ภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ หากเธอหวังว่า เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มี ความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ หากเธอหวังว่า เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความ หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ หากเธอหวังว่า เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ หากเธอหวังว่า เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล อยู่ ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ หากเธอหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่เถิด ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นอยู่ ๒. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนา ทั้งหลายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดใน เวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุ ดับในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๓๐}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๑. ปฐมรโหคตสูตร
เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน โลกได้ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในเวทนาทั้งหลายทั้ง ภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับใน เวทนาทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็น ทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลาย ทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ หากเธอหวังว่า เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความ หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ หากเธอหวังว่า เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความ หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ หากเธอหวังว่า เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ หากเธอหวังว่า เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล อยู่ ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ หากเธอหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ ในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นอยู่ ๓. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในจิตภายใน ฯลฯ ในจิตภายนอก ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในจิตทั้งภายในทั้งภายนอก อยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุ ดับในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร ฯลฯ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๓๑}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๒. ทุติยรโหคตสูตร
หากเธอหวังว่า เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความ หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ ในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นอยู่ ๔. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายภายใน ฯลฯ ในธรรมทั้งหลายภายนอก ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิด ในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็น ธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรม ทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ หากเธอหวังว่า เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความ หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ ในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นอยู่ ท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการปฐมรโหคตสูตรที่ ๑ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๒๙-๔๓๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=287 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=7247&Z=7305 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1253 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1253&items=10 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7432 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1253&items=10 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7432 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn52.1/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]