บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๒. ทุติยอภิสันทสูตร
๒. ทุติยอภิสันทสูตร ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๒ [๑๐๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้ ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี พระภาค นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๑ ๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ๔. มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทาน และการแจกทาน อยู่ครองเรือน นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ประการที่ ๔ ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้ การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้นำสุขมาให้ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้ที่จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณ ไม่ได้เลย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ย่อมไหลเรื่อยไปที่ปากน้ำใด การที่จะกำหนดปริมาณของน้ำที่ปากน้ำ นั้นว่า น้ำมีปริมาณเท่านี้อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ น้ำมี ปริมาณเท่านี้ ๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือน้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้ที่จริง ปริมาณของน้ำในมหาสมุทรนั้นย่อมถึงการนับว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย แม้ฉันใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๖๒}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๓. ตติยอภิสันทสูตร
การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้ที่จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณ ไม่ได้เลย ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา- ประพันธ์ต่อไปอีกว่า แม่น้ำหลายสายคับคั่งไปด้วยหมู่ปลา ไหลบ่าไปยังมหาสมุทร อันเป็นที่ขังน้ำขนาดใหญ่ ประมาณไม่ได้ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก๑- เป็นแหล่งรัตนะชั้นเยี่ยม ฉันใด สายธารแห่งบุญย่อมหลั่งไหลไปสู่นรชน ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด เปรียบเหมือนแม่น้ำคือห้วงน้ำไหลไปยังมหาสมุทร ฉันนั้นทุติยอภิสันทสูตรที่ ๒ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๕๖๒-๕๖๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=360 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=9548&Z=9576 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1607 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1607&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8097 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1607&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8097 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn55.42/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]