ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๖. สัปปัญญวรรค ๑. สคาถกสูตร

๖. สัปปัญญวรรค
หมวดว่าด้วยผู้มีปัญญา
๑. สคาถกสูตร
ว่าด้วยตรัสองค์คุณของพระโสดาบันที่มีคาถา
[๑๐๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วย ธรรม ๔ ประการ เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ ในวันข้างหน้า ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา- ประพันธ์ต่อไปอีกว่า “ผู้ใดมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว มีศีลอันงามที่พระอริยะชอบใจ(และ)สรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๗๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๖. สัปปัญญวรรค ๒. วัสสังวุตถสูตร

เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม”๑-
สคาถกสูตรที่ ๑ จบ
๒. วัสสังวุตถสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่จำพรรษาในกรุงสาวัตถี
[๑๐๔๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษาในกรุง สาวัตถีแล้ว ไปถึงกรุงกบิลพัสดุ์โดยลำดับด้วยกรณียกิจบางอย่าง พวกเจ้าศากยะ ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ทรงสดับข่าวว่า ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษาในกรุงสาวัตถีมาถึง กรุงกบิลพัสดุ์แล้ว จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ตรัสถามภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่มีพระโรคาพาธ และมีพระพลานามัยแข็งแรง อยู่หรือ” ภิกษุนั้นถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคไม่มี พระโรคาพาธ และมีพระพลานามัยแข็งแรงอยู่” “ท่านผู้เจริญ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไม่มีโรคาพาธ และมีพลานามัย แข็งแรงอยู่หรือ” “มหาบพิตร แม้พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะก็ไม่มีโรคาพาธ และมี พลานามัยแข็งแรงอยู่” “ท่านผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ไม่มีโรคาพาธ และมีพลานามัยแข็งแรงอยู่หรือ” “มหาบพิตร แม้ภิกษุสงฆ์ก็ไม่มีโรคาพาธ และมีพลานามัยแข็งแรงอยู่” “ท่านผู้เจริญ ระหว่างพรรษานี้ อะไรๆ ที่ท่านได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาค มีอยู่หรือ” @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๒/๘๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๗๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๕๗๐-๕๗๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=369              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=9666&Z=9681                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1621              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1621&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1621&items=2                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn55.51/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :