บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๕. กิมัตถิยสูตร ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ของการประพฤติพรหมจรรย์ [๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์ อะไร ข้าพระองค์ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว จึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ข้าพระองค์ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว ตอบอย่างนี้ ชื่อว่า พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ @เชิงอรรถ : @๑ วิเวก ในที่นี้หมายถึงวิเวก ๓ มีกายวิเวกเป็นต้น (สํ.ม.อ. ๓/๔/๑๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๘}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๖. ปฐมอัญญตรภิกขุสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เอาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถาม อย่างนั้นแล้ว ตอบอย่างนั้น ชื่อว่าพูดตรงตามคำที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เรา ด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มีคำเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมาที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ เพราะเธอทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นอยู่หรือ เธอทั้งหลาย ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นอยู่ มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น เป็นอย่างไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้คือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้นอย่างนี้กิมัตถิยสูตรที่ ๕ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๘-๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=5 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=125&Z=148 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=25 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=25&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=4047 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=25&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=4047 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/19i001-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/sn45.5/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.5/en/bodhi
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]