ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๕. จีวรทานสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. โอวาทวรรค
๕. จีวรทานสิกขาบท
ว่าด้วยการถวายจีวร
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๑๖๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตไป ตามถนนสายหนึ่ง ภิกษุณีรูปหนึ่งก็เที่ยวบิณฑบาตไปตามถนนสายเดียวกันนั้น ทีนั้น ภิกษุได้กล่าวกับภิกษุณีรูปนั้นดังนี้ว่า “ไปเถิด น้องหญิง ที่โน้นมีผู้ถวาย ภิกษา” ภิกษุณีก็กล่าวอย่างนี้ว่า “ไปเถิด พระคุณเจ้า ที่โน้นมีผู้ถวายภิกษา” ภิกษุ และภิกษุณีทั้ง ๒ รูปนั้นจึงเป็นเพื่อนกัน เพราะพบกันอยู่เนืองๆ ต่อมา ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรกำลังแจกจีวรของสงฆ์ ภิกษุณีรูปนั้นไปรับ โอวาท แล้วเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ไหว้ภิกษุรูปนั้น แล้วยืน ณ ที่สมควร ภิกษุผู้เป็นเพื่อนรูปนั้นได้กล่าวกับภิกษุณีรูปนั้นผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรว่า “น้อง หญิง นี้จีวรส่วนแบ่งของเรา เธอจะรับหรือไม่” ภิกษุณีตอบว่า “รับ เจ้าข้า เพราะดิฉันมีจีวรเก่า” ทีนั้น ภิกษุนั้นจึงได้ให้จีวรแก่ภิกษุณีรูปนั้น ส่วนตนเองก็ยังคงใช้จีวรเก่า ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่าน บัดนี้ท่านจงตัดเย็บจีวรของท่าน” ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ จึงให้จีวรแก่ภิกษุณีเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่างๆ แล้ว จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๓๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๕. จีวรทานสิกขาบท พระบัญญัติ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอให้จีวรแก่ภิกษุณีจริงหรือ” ภิกษุนั้นทูล รับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ ภิกษุณีนั้นเป็น ญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า” พระ ผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ภิกษุผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือ ไม่เหมาะสม ความน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใส ของที่มีอยู่หรือไม่มีอยู่ของภิกษุณี ผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติเล่า โมฆบุรุษ การ กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๑๗๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายพากันมีความยำเกรง จึงไม่ยอมให้จีวรแลก เปลี่ยนกับภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่ยอมให้จีวรแลกเปลี่ยนกับพวกเราเล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยินภิกษุณีทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยนจีวรได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สหธรรมิก ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๔๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๕. จีวรทานสิกขาบท บทภาชนีย์

สิกขมานา สามเณร สามเณรี ให้จีวรแลกเปลี่ยนกันได้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้สหธรรมิก ๕ เหล่านี้ ให้จีวรแลกเปลี่ยนกันได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๑๗๑] อนึ่ง ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๗๒] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา ตลอดเจ็ดชั่วคน ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ คำว่า เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน คือ ภิกษุให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ยกเว้น แลกเปลี่ยนกัน
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๗๓] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ให้จีวร ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๔๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๕. จีวรทานสิกขาบท อนาปัตติวาร

ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ให้จีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลก เปลี่ยนกัน ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้จีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้น ไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน
ติกทุกกฏ
ภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ภิกษุให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ เว้นไว้แต่ แลกเปลี่ยนกัน ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้จีวร ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๗๔] ๑. ภิกษุผู้ให้แก่ภิกษุณีที่เป็นญาติ ๒. ภิกษุแลก คือ เอาจีวรราคาถูกแลกจีวรราคาแพง หรือจีวรราคา แพงแลกจีวรราคาถูก ๓. ภิกษุเจ้าของจีวรที่ภิกษุณีถือวิสาสะเอาไป ๔. ภิกษุเจ้าของจีวรที่ภิกษุณีขอยืมไป ๕. ภิกษุให้บริขารอื่น นอกจากจีวร ๖. ภิกษุให้แก่สิกขมานา ๗. ภิกษุให้แก่สามเณรี ๘. ภิกษุวิกลจริต ๙. ภิกษุต้นบัญญัติ
จีวรทานสิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๔๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๓๙-๓๔๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=61              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=9724&Z=9803                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=442              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=442&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=7911              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=442&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=7911                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc25/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :