ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๖. ปฐมภวสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งภพ สูตรที่ ๑
[๗๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระองค์ตรัสเรียกว่า ‘ภพ ภพ’ ด้วยเหตุเพียงไร ภพจึงมีได้ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุ จักไม่มีแล้ว กามภพพึงปรากฏได้บ้างไหม” พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรม๑- จึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณ๒- จึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้ เพราะธาตุอย่างหยาบ๓- ของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้” @เชิงอรรถ : @ กรรม หมายถึงกุศลกรรมและอกุศลธรรม (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๗/๒๒๘) @ วิญญาณ หมายถึงอภิสังขารวิญญาณที่เกิดร่วม คือเกิดพร้อมกับกรรม (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๗/๒๒๘, @องฺ.ติก.ฎีกา ๒/๗๗/๒๓๐) @ ธาตุอย่างหยาบ หมายถึงกามธาตุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๗/๒๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๗. ทุติยภวสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ใน รูปธาตุจักไม่มีแล้ว รูปภพพึงปรากฏบ้างไหม” พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหา จึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้ เพราะธาตุอย่างกลาง๑- ของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ใน อรูปธาตุจักไม่มีแล้ว อรูปภพพึงปรากฏบ้างไหม” พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้เพราะ ธาตุอย่างประณีต๒- ของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้ อานนท์ ภพมีได้ด้วยเหตุดังกล่าว มานี้แล”
ปฐมภวสูตรที่ ๖ จบ
๗. ทุติยภวสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งภพ สูตรที่ ๒
[๗๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลกับพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระองค์ตรัสเรียกว่า ‘ภพ ภพ’ ด้วยเหตุเพียงไร ภพจึงมีได้ พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ ธาตุอย่างกลาง หมายถึงรูปธาตุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๗/๒๒๘) @ ธาตุอย่างประณีต ในที่นี้หมายถึงอรูปธาตุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๗/๒๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๐๐-๓๐๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=121              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=5885&Z=5909                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=516              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=516&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5286              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=516&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5286                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i511-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.076.than.html https://suttacentral.net/an3.76/en/sujato https://suttacentral.net/an3.76/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :