บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๑๐. ทุติยสิกขัตตยสูตร ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ ๒ [๙๑] ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ ประการนี้ สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มี ทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ ประการนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๑๙}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๑๑. ปังกธาสูตร
ภิกษุผู้มีความเพียร มีความเข้มแข็ง มีปัญญา เพ่งพินิจ มีสติ คุ้มครองอินทรีย์ ครอบงำทุกทิศด้วยอัปปมาณสมาธิ๑- ประพฤติอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น ภายหลังฉันใด เมื่อก่อนก็ฉันนั้น เบื้องต่ำฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องต่ำก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่าเป็นนักศึกษา เป็นนักปฏิบัติ และมีความประพฤติบริสุทธิ์ ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้ตรัสรู้ชอบ๒- เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้ถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติในโลก ท่านผู้ประกอบด้วยวิมุตติอันเป็นที่สิ้นตัณหา ย่อมมีจิตหลุดพ้นจากสังขารธรรมเพราะวิญญาณดับสนิท เหมือนความดับแห่งประทีปฉะนั้นทุติยสิกขัตตยสูตรที่ ๑๐ จบ ๑๑. ปังกธาสูตร ว่าด้วยตำบลปังกธา [๙๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงตำบลของแคว้นโกศลชื่อปังกธา ทราบว่า พระผู้มีพระ ภาคประทับอยู่ ณ ตำบลปังกธาของชาวโกศลนั้น @เชิงอรรถ : @๑ อัปปมาณสมาธิ หมายถึงสมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตมรรค (องฺ.ติก.อ. ๒/๙๑/๒๔๕) @๒ ตรัสรู้ชอบ ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้อริยสัจ ๔ (องฺ.ติก.อ. ๒/๙๑/๒๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๐}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๑๙-๓๒๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=135 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=6242&Z=6265 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=530 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=530&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5681 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=530&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5681 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i521-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.089.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/03/an03-091.html https://suttacentral.net/an3.90/en/sujato https://suttacentral.net/an3.90/en/thanissaro
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]