ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๔. ปริสาสูตร
ว่าด้วยบริษัท
[๙๖] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้ บริษัท ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม ๒. บริษัทที่แตกแยกกัน ๓. บริษัทที่สามัคคีกัน @เชิงอรรถ : @ สารทกาล หมายถึงฤดูใบไม้ร่วง @ ธรรมจักษุ ในที่นี้หมายถึงดวงตาเห็นธรรม คือการบรรลุโสดาปัตติมรรคที่กำหนดรู้อริยสัจ ๔ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๙๕/๒๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๔. ปริสาสูตร

บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุผู้เป็นเถระ ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม๑- เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คน รุ่นหลังต่างพากันตามอย่างภิกษุผู้เถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อ ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำ ให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม บริษัทที่แตกแยกกัน เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บริษัทที่แตกแยกกัน บริษัทที่สามัคคีกัน เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บริษัทที่สามัคคีกัน ในสมัยใด พวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ในสมัยนั้น พวกภิกษุย่อม ประสพบุญเป็นอันมาก ในสมัยนั้น พวกภิกษุอยู่กันเหมือนพรหม คืออยู่กันด้วย มุทิตาเจโตวิมุตติ ผู้มีความบันเทิงใจย่อมเกิดความอิ่มใจ กายของผู้มีความอิ่มใจ ย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนยอดเขา น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ทำให้ ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยม ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยมแล้วทำให้ หนองเต็ม หนองเต็มแล้วทำให้บึงเต็ม บึงเต็มแล้วทำให้แม่น้ำน้อยเต็ม แม่น้ำน้อย เต็มแล้วทำให้แม่น้ำใหญ่เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้วก็ทำให้มหาสมุทรเต็ม ฉันใด @เชิงอรรถ : @ โอกกมนธรรม หมายถึงนิวรณ์ ๕ (องฺ.ติก.อ. ๒/๙๖/๒๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๕. ปฐมอาชานียสูตร

ในสมัยใด พวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ในสมัยนั้น พวกภิกษุย่อม ประสพบุญเป็นอันมาก ในสมัยนั้น พวกภิกษุอยู่กันเหมือนพรหม คือ อยู่กันด้วย มุทิตาเจโตวิมุตติ ผู้มีความบันเทิงใจย่อมเกิดความอิ่มใจ กายของผู้มีความอิ่มใจ ย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้แล
ปริสาสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๒๘-๓๓๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=140              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=6421&Z=6453                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=535              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=535&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5778              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=535&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5778                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i532-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an3.95/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :