ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๔. จตุตถวรรค

๑๔. เอตทัคควรรค
๔. จตุตถวรรค
หมวดที่ ๔
[๒๑๙] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นพหูสูต๑- (๑) [๒๒๐] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีสติ๒- (๒) [๒๒๑] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีคติ๓- (๓) [๒๒๒] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีธิติ๔- (๔) [๒๒๓] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นอุปัฏฐาก (๕) [๒๒๔] อุรุเวลกัสสปะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีบริวารมาก (๖) [๒๒๕] กาฬุทายีเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ยังสกุลให้เลื่อมใส (๗) [๒๒๖] พักกุละเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีอาพาธน้อย (๘) [๒๒๗] โสภิตะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ระลึกชาติได้ (๙) [๒๒๘] อุบาลีเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ทรงวินัย (๑๐) [๒๒๙] นันทกะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวสอนนางภิกษุณี (๑๑) [๒๓๐] นันทะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์๕- ทั้งหลายได้ (๑๒) @เชิงอรรถ : @ ผู้เป็นพหูสูต ในที่นี้หมายถึงได้เรียนพุทธพจน์โดยตรงจากพระผู้มีพระภาค ตั้งอยู่ในฐานะ “ขุนคลังปริยัติ” @ในศาสนาของพระทศพล (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๑๙-๒๒๓/๒๕๖) @ มีสติ ในที่นี้หมายถึงสามารถทรงจำพระพุทธพจน์ได้เป็นเลิศ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๑๙-๒๒๓/๒๕๖) @ มีคติ ในที่นี้หมายถึงจดจำที่มาของพระพุทธพจน์ได้หมดทุกบท แม้จะมีถึงหกหมื่นบท ก็จำได้ตามที่ @พระพุทธเจ้าตรัสไว้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๑๙-๒๒๓/๒๕๖) @ มีธิติ ในที่นี้หมายถึงเพียรเรียน เพียรสาธยาย เพียรทรงจำพระพุทธพจน์ และเพียรอุปัฏฐาก @(องฺ. เอกก.อ. ๑/๒๑๙-๒๒๓/๒๕๖) @ อินทรีย์ ในที่นี้หมายถึงอินทรีย์ ๖ หรืออายตนะภายใน ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) พระนันทะ @เป็นผู้สำรวมระวังการเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ @(ที.ปา. ๑๑/๓๒๓/๒๑๕, ม.อุ. ๑๔/๓๐๕/๒๗๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๙/๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๕. ปัญจมวรรค

[๒๓๑] มหากัปปินะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวสอนภิกษุ (๑๓) [๒๓๒] สาคตะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ฉลาดในเตโชธาตุ (๑๔) [๒๓๓] ราธะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง (๑๕) [๒๓๔] โมฆราชเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง (๑๖)
จตุตถวรรค จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๙-๓๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=17              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=675&Z=693                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=149              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=149&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=14&A=6083              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=149&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=14&A=6083                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i146-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an1.219-234/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :