ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

๔. สมจิตตวรรค
หมวดว่าด้วยเทวดาพร้อมใจกัน
[๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและภูมิ สัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภูมิอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ อสัตบุรุษเป็นคนอกตัญญู๑- เป็นคนอกตเวที๒- ความเป็นคนอกตัญญู ความเป็นคนอกตเวที อสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ความเป็นคนอกตัญญู และ ความเป็นคนอกตเวที ทั้งหมดนี้เป็นภูมิอสัตบุรุษ ภูมิสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ สัตบุรุษเป็นคนกตัญญู เป็นคนกตเวที ความเป็นคนกตัญญู ความเป็นคน กตเวที สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ความเป็นคนกตัญญู และความเป็นคนกตเวที ทั้งหมดนี้เป็นภูมิสัตบุรุษ (๑)
การตอบแทนที่ทำได้ยาก
[๓๔] การทำตอบแทนแก่ท่านทั้งสองเราไม่กล่าวว่าเป็นการทำได้โดยง่าย ท่านทั้งสองคือใคร คือ มารดาและบิดา ถึงบุตรจะมีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี ประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง ประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง ปฏิบัติ ท่านทั้งสองนั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการบีบนวด๓- และแม้ ท่านทั้งสองนั้นจะถ่ายอุจจาระและปัสสาวะลงบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแล การ กระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรได้ทำ หรือทำตอบแทนแก่มารดาและบิดาเลย ถึง บุตรจะสถาปนามารดาและบิดาไว้ในราชสมบัติซึ่งเป็นเจ้าเหนือหัวแห่งแผ่นดินใหญ่ที่มี @เชิงอรรถ : @ อกตัญญู หมายถึงผู้ไม่รู้อุปการะที่บุคคลอื่นกระทำแก่ตน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๓/๓๑) @ อกตเวที หมายถึงผู้ไม่รู้จักทำอุปการะที่บุคคลอื่นกระทำแก่ตนให้ปรากฏ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๓/๓๑) @ การบีบนวด หมายถึงการดึงไปและดึงมาซึ่งมือและเท้าเป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๔/๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

รัตนะ ๗ ประการมากมายนี้ การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรได้ทำ หรือทำ ตอบแทนแก่มารดาและบิดาเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาและบิดามีอุปการะ มาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดให้มารดาและบิดาผู้ไม่มีศรัทธา สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ใน สัทธาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ให้มารดาและบิดาผู้ทุศีล สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในสีลสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศีล) ให้มารดาและบิดาผู้ตระหนี่ สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในจาคสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ) ให้มารดาและบิดาผู้ ไม่มีปัญญา สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยปัญญา) ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นชื่อว่าอันบุตรได้ทำและทำตอบแทน แก่มารดาและบิดา (๒)
วาทะ ๒ อย่าง
[๓๕] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูล ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมมีวาทะ๑- อย่างไร กล่าวถึงอะไร” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เรามีวาทะว่าควรทำ และมีวาทะว่าไม่ควรทำ” พราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านพระโคดมมีวาทะว่าควรทำและมีวาทะว่าไม่ควรทำ อย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เรากล่าวว่า ไม่ควรทำกายทุจริต วจีทุจริต และ มโนทุจริต ไม่ควรทำบาปอกุศลธรรมหลายอย่าง แต่ควรทำกายสุจริต วจีสุจริต และ มโนสุจริต ควรทำกุศลธรรมหลายอย่าง พราหมณ์ เรามีวาทะว่าควรทำและมีวาทะ ว่าไม่ควรทำอย่างนี้แล” @เชิงอรรถ : @ วาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ ความเชื่อ เช่น คำว่า นัตถิกวาทะ ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์ @บริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง (เทียบ ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

พราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” (๓)
ทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก
[๓๖] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ทักขิไณยบุคคล(คนที่ควรแก่ของทำบุญ)ในโลกมีกี่จำพวก และควรให้ทาน ในเขตไหน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ในโลกมีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก คือ ๑. พระเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) ๒. พระอเสขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษา) ในโลกมีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวกนี้แล และพึงให้ทานในเขตนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ พระสุคตศาสดาครั้นตรัสพระดำรัสนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า ในโลกนี้ พระเสขะและพระอเสขะ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาของทายกผู้บูชาอยู่ พระเสขะและพระอเสขะเหล่านั้นเป็นคนตรง ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ นี้เป็นเขต๑- ของทายกผู้บูชาอยู่ ทานที่ให้ในเขตนี้มีผลมาก (๔) @เชิงอรรถ : @ เขต หมายถึงที่ตั้ง ที่พึ่ง ที่งอกงามแห่งบุญ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๖/๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

บุคคลผู้มีสังโยชน์ ๒ จำพวก
[๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่ปราสาทของวิสาขามิคาร- มาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุ ทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นตอบรับแล้ว ท่านพระสารีบุตร จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลที่มีสังโยชน์ภายใน๑- และบุคคลที่มี สังโยชน์ภายนอก๒- ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นตอบรับแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ภายใน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้ เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นหลังจากมรณภาพแล้วจะ ไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง๓- เธอจุติจากอัตภาพนั้น เป็นอาคามี กลับมาสู่ความ เป็นมนุษย์นี้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายใน เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ บุคคลผู้มีสังโยชน์ภายนอก เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา @เชิงอรรถ : @ สังโยชน์ภายใน ในที่นี้หมายถึงฉันทราคะในกามภพที่เป็นไปภายใน หรือหมายถึงโอรัมภาคิยสังโยชน์ @(สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๗/๔๐) @ สังโยชน์ภายนอก ในที่นี้หมายถึงฉันทราคะในรูปภพและอรูปภพที่อยู่ภายนอก หรือหมายถึง @อุทธัมภาคิยสังโยชน์(สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๗/๔๐) @ หมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง หมายถึงหมู่เทพชั้นกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๗/๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นบรรลุเจโตวิมุตติที่สงบอย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้น หลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง๑- เธอจุติจากอัตภาพนั้นเป็น อนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็น มนุษย์นี้ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบ พร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ ดับกามทั้งหลาย ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับภพ ทั้งหลาย เธอปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เธอปฏิบัติเพื่อสิ้นความโลภ หลังจากมรณภาพ แล้วจะไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง เธอจุติจากอัตภาพนั้นเป็นอนาคามีไม่กลับมา สู่ความเป็นมนุษย์นี้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายนอกเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็น มนุษย์นี้ ครั้งนั้น เทวดาจำนวนมากพร้อมใจกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ได้ยืน ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ณ ปราสาทของวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม ท่านพระสารีบุตร นั้นกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ภายในและบุคคลที่มีสังโยชน์ภายนอกให้ภิกษุ ทั้งหลายฟัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทต่างร่าเริง ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มี พระภาคทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่เถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ต่อจากนั้น ได้ทรงหายจาก พระเชตวันไปปรากฏต่อหน้าท่านพระสารีบุตรที่ปราสาทของวิสาขามิคารมาตาใน บุพพาราม เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น พระผู้มี พระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ฝ่ายท่านพระสารีบุตรก็ถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร @เชิงอรรถ : @ หมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง หมายถึงหมู่เทพชั้นสุทธาวาส ๕ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๗/๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เทวดาจำนวนมากพร้อมใจกันเข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ ปราสาทของวิสาขามิคาร- มาตา ในบุพพาราม ท่านพระสารีบุตรนั้นกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ภายนอกให้ภิกษุทั้งหลายฟัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัท ต่างร่าเริง ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่าน พระสารีบุตรถึงที่อยู่เถิด” เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ในพื้นที่มีขนาดพอที่ปลายเหล็ก แหลมจรดลงได้ จำนวน ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดเสียดกัน เธออาจมีความคิดอย่างนี้ว่า “จิตซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในพื้น ที่มีขนาดพอที่ปลายเหล็กแหลมจรดลงได้จำนวน ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดเสียดกันอย่าง นั้น เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นได้เจริญในภพนั้นแน่นอน” ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นอย่าง นั้น จิตซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในพื้นที่มีขนาดพอที่ปลายเหล็กแหลม จรดลงได้ จำนวน ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดเสียดกันอย่างนั้น เป็นจิตอัน เทวดาเหล่านั้นได้เจริญในธรรมวินัยนี้นั่นเอง เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ก็จักสงบด้วย เราจักนำกายและจิตที่สงบเท่านั้นเข้าไปในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย” สารีบุตร เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล สารีบุตร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ได้เสียโอกาสแล้ว (๕)
เหตุปัจจัยแห่งการวิวาท
[๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกัททมทหะ เขตเมืองวรณา ครั้งนั้น พราหมณ์อารามทัณฑะเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้สนทนา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่าน พระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านกัจจานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แม้กษัตริย์ ก็ขัดแย้งกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ก็ขัดแย้งกับพราหมณ์ แม้คหบดีก็ขัดแย้งกับ คหบดี” พระมหากัจจานะตอบว่า “พราหมณ์ เพราะความยึดมั่นกามราคะ ตกอยู่ใน อำนาจกามราคะ กำหนัดยินดีในกามราคะ ถูกกามราคะกลุ้มรุม และถูกกามราคะ ครอบงำเป็นเหตุ แม้กษัตริย์ก็ขัดแย้งกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ก็ขัดแย้งกับพราหมณ์ แม้คหบดีก็ขัดแย้งกับคหบดี” พราหมณ์อารามทัณฑะถามว่า “อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สมณะขัดแย้ง กับสมณะ” พระมหากัจจานะตอบว่า “เพราะความยึดมั่นทิฏฐิราคะ๑- ตกอยู่ในอำนาจทิฏฐิ ราคะ กำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ ถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และถูกทิฏฐิราคะครอบงำเป็น เหตุ แม้สมณะก็ขัดแย้งกับสมณะ” พราหมณ์อารามทัณฑะถามว่า “บุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การ ตกอยู่ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และบุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การตก อยู่ในอำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และการถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้ยังมีอยู่ในโลกหรือ” พระมหากัจจานะตอบว่า “บุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การตกอยู่ใน อำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการ ถูกกามราคะครอบงำนี้ และบุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การตกอยู่ใน อำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และ การถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้ยังมีอยู่ในโลก” @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐิราคะ ในที่นี้หมายถึงราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยทิฏฐิ ๖๒ ประการ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๘/๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

พราหมณ์อารามทัณฑะถามว่า “ก็ใครในโลกที่ล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะ กลุ้มรุม และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และที่ล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การ ตกอยู่ในอำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และการถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้” พระมหากัจจานะตอบว่า “ในชนบทด้านทิศตะวันออกมีเมืองหลวงชื่อสาวัตถี ณ กรุงสาวัตถีนั้น ขณะนี้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นกำลัง ประทับอยู่ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การตกอยู่ ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และทรงล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การตกอยู่ใน อำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และการ ถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้” เมื่อพระมหากัจจานะตอบอย่างนี้แล้ว พราหมณ์อารามทัณฑะได้ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประนมมือไปยังทิศที่พระผู้มี พระภาคประทับอยู่ อุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า “ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบ น้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมพระผู้มี พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะ กลุ้มรุม และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และทรงล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การ ตกอยู่ในอำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และการถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้ ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่าน ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านกัจจานะประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบ เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป ในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมพระองค์ นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านกัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็น อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” (๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

ภูมิคนแก่และภูมิคนหนุ่ม
[๓๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ป่าคุนทาวัน เขตเมืองมธุรา ครั้งนั้น พราหมณ์กัณฑรายนะเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้สนทนา ปราศรัย ฯลฯ พราหมณ์กัณฑรายนะผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่าน กัจจานะ ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่า สมณะกัจจานะไม่ยอมกราบ ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย หรือไม่เชื้อเชิญให้นั่ง ท่านกัจจานะ เรื่องที่ ข้าพเจ้าได้ทราบมานั้นจริงทีเดียว การที่ท่านกัจจานะทำเช่นนั้นไม่สมควรเลย” ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า “ภูมิคนแก่และภูมิคนหนุ่มที่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงรู้ทรงเห็นพระองค์นั้นตรัสไว้มีอยู่ ถึงแม้นับแต่เกิดมา บุคคลจะเป็นคนแก่มีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี แต่เขายังบริโภคกาม อยู่ใน ท่ามกลางกาม ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ถูกกามวิตกกัดกินอยู่ ยังเป็นผู้ ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม เขาย่อมถึงการนับว่าเป็นหนุ่ม ไม่ใช่ผู้ใหญ่แท้ ถึงแม้ว่า จะเป็นเด็ก๑- ยังหนุ่มมีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นคนหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย แต่เขาไม่บริโภคกาม ไม่อยู่ในท่ามกลางกาม ไม่ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ไม่ถูกกามวิตกกัดกินอยู่ ไม่ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม เขาย่อมถึงการนับว่า เป็นบัณฑิต เป็นผู้ใหญ่แท้” เมื่อท่านพระมหากัจจานะกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์กัณฑรายนะได้ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าของภิกษุหนุ่ม ๑๐๐ รูป ด้วยเศียรเกล้า กล่าวว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ใหญ่ ตั้งอยู่ในภูมิของผู้ใหญ่ แต่ข้าพเจ้าเป็น เด็ก ตั้งอยู่ในภูมิของเด็ก ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านกัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอด ชีวิต” (๗) @เชิงอรรถ : @ เป็นเด็ก ในที่นี้หมายถึงคนหนุ่ม (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๙/๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

สมัย ๒ อย่าง
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาที่พวกโจรมีกำลัง๑- พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายย่อม อ่อนกำลัง ในสมัยนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมไม่สะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป หรือออกคำสั่งไปยังชนบทชายแดน แม้พวกพราหมณ์และคหบดีก็ไม่สะดวกที่จะ ผ่านไป ออกไป หรือตรวจตราการงานภายนอก ในทำนองเดียวกัน ในเวลาที่พวกภิกษุเลวทรามมีกำลัง๒- พวกภิกษุผู้มีศีลเป็น ที่รักย่อมอ่อนกำลัง ในสมัยนั้น ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมนิ่งเงียบ นั่งในท่ามกลาง สงฆ์หรืออพยพไปอยู่ชนบทชายแดน ข้อนี้นั้นย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในเวลาที่พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายมีกำลัง พวกโจรย่อมอ่อนกำลัง ในสมัยนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมมีความสะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป หรือออกคำสั่งไป ยังชนบทชายแดน แม้พวกพราหมณ์และคหบดีก็มีความสะดวกที่จะผ่านไป ออกไป หรือตรวจตราการงานภายนอก ในทำนองเดียวกัน ในเวลาที่ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักมีกำลัง ภิกษุเลวทรามย่อม อ่อนกำลัง ในสมัยนั้น ภิกษุเลวทรามย่อมนิ่งเงียบ นั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์หรือออก ไปทางใดทางหนึ่ง ข้อนี้นั้นย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๘)
การปฏิบัติที่ทรงสรรเสริญและไม่ทรงสรรเสริญ
[๔๑] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญการปฏิบัติผิดของคน ๒ จำพวก คือ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิด เพราะการปฏิบัติผิดเป็นเหตุ ย่อมไม่ทำให้ญายกุศลธรรม๓- สำเร็จบริบูรณ์ @เชิงอรรถ : @ มีกำลัง ในที่นี้หมายถึงเพียบพร้อมด้วยฝักฝ่ายพรรคพวก เพียบพร้อมด้วยลูกน้อง บริวาร เพียบพร้อม @ด้วยทรัพย์ เพียบพร้อมด้วยที่อยู่อาศัย และเพียบพร้อมด้วยพาหนะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๐/๕๐) @ มีกำลัง ในที่นี้หมายถึงประกอบด้วยคนอุปัฏฐากทั้งหญิงทั้งชายจำนวนมาก มีความเกี่ยวข้องคุ้นเคยกับ @พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๐/๕๑) @ ญายกุศลธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลธรรมพร้อมทั้งวิปัสสนาและมรรค (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๑/๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

ภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญการปฏิบัติชอบของคน ๒ จำพวก คือ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบ เพราะการปฏิบัติชอบเป็นเหตุย่อม ทำให้ญายกุศลธรรมสำเร็จบริบูรณ์ (๙)
บุคคลผู้ทำให้ศาสนาเสื่อมและเจริญ
[๔๒] ภิกษุพวกที่คัดค้านอรรถและธรรมโดยสูตรที่ตนเรียนไว้ไม่ดีด้วยพยัญชน- ปฏิรูป๑- นั้นชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุย่อมประสพสิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และชื่อว่าทำให้สัทธรรมนี้สูญหายไป ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรมโดยสูตรที่ตนเรียนไว้ดีด้วยพยัญชนปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คน หมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพ บุญเป็นอันมาก และชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๐)
สมจิตตวรรคที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๗๗-๘๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=32              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=1617&Z=1840                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=277              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=277&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=706              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=277&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=706                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i277-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an02/an02.031.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an02/an02.033.niza.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an02/an02.038.than.html https://suttacentral.net/an2.32-41/en/sujato https://suttacentral.net/an2.32-41/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :