ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรรังเกียจ
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลที่ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ๒. บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ๓. บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร

บุคคลที่ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความ ประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี๑- เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน หยากเยื่อ บุคคลเช่นนี้ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะคนทั่วไปแม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคลเช่นนี้ แต่กิตติศัพท์อันชั่ว ของเขาก็กระฉ่อนไปว่า “คนคบมิตรชั่ว คบสหายชั่ว คบเพื่อนชั่ว” เปรียบเหมือน งูที่จมอยู่ในคูถ แม้จะไม่กัดใครๆ ก็จริง แต่ก็ทำเขาให้เปื้อนได้ แม้ฉันใด คน ทั่วไปก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคลเช่นนี้ แต่กิตติศัพท์อันชั่วของ เขาก็กระฉ่อนไปว่า “คนคบมิตรชั่ว คบสหายชั่ว คบเพื่อนชั่ว” เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควร เข้าไปนั่งใกล้ บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่า กล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ เปรียบเหมือนแผลเก่าถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมทำให้เกิดความเจ็บปวด มากขึ้น แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ เปรียบเหมือนถ่านไม้มะพลับถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมปะทุเกินประมาณ แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วย ความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๓ ติกนิบาต หน้า ๑๕๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๘. คูถภาณีสูตร

เปรียบเหมือนหลุมคูถถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมส่งกลิ่นเหม็นรุนแรงขึ้น แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือกันแล เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วย ความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ บุคคลเช่นนี้ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่าบุคคลนั้นอาจด่าเราบ้าง บริภาษเราบ้าง ทำเราให้ฉิบหายบ้าง เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควร เข้าไปนั่งใกล้ บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีศีล มีธรรมงาม บุคคลเช่นนี้ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าคนทั่วไปแม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคล เช่นนี้ แต่กิตติศัพท์อันงามของเขาก็ขจรไปว่า “คนคบมิตรดี คบสหายดี คบเพื่อนดี” เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บุคคลคบผู้ต่ำทรามย่อมพลอยต่ำทรามไปด้วย แต่คบผู้ที่เสมอกันย่อมไม่เสื่อมในกาลไหนๆ คบผู้ที่สูงกว่าย่อมเด่นขึ้นทันตาเห็น เพราะฉะนั้นจึงควรคบผู้ที่สูงกว่าตน
ชิคุจฉิตัพพสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๗๕-๑๗๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=71              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=3303&Z=3348                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=466              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=466&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=2360              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=466&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=2360                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i460-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/an3.27/en/sujato https://suttacentral.net/an3.27/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :