บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๗. อปริหานิยสูตร ว่าด้วยอปริหานิยธรรม [๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ไม่อาจเสื่อม๑- ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สมบูรณ์ด้วยศีล ๒. คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๓. รู้จักประมาณในการบริโภค ๔. ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อม ด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @๑ หมายถึงไม่อาจเสื่อมจากสมถะและวิปัสสนา หรือมรรคและผล กล่าวคือไม่เสื่อมจากสมถะและวิปัสสนา @ที่ได้บรรลุแล้ว และจะได้บรรลุมรรคและผลที่ยังไม่ได้บรรลุ (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๓๗/๓๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๖๐}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. จักกวรรค ๗. อปริหานิยสูตร
ภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ๑- ย่อม ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ซึ่ง เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างนี้แล ภิกษุรู้จักประมาณในการบริโภค เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้ แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่าและจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และการอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา ภิกษุรู้จัก ประมาณในการบริโภค เป็นอย่างนี้แล ภิกษุประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการ จงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการ จงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอด ปัจฉิมยามแห่งราตรี ภิกษุประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างนี้แล๒- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ไม่อาจเสื่อม ชื่อว่า อยู่ใกล้นิพพานแน่แท้ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ ข้อ ๑๔ (สังวรสูตร) หน้า ๒๕ ในเล่มนี้ @๒ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๖/๑๕๙-๑๖๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๖๑}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. จักกวรรค ๘. ปฏิลีนสูตร
ภิกษุตั้งอยู่ในศีล สำรวมอินทรีย์ รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ มีความเพียรอยู่อย่างนี้ ไม่เกียจคร้านตลอดคืนและวัน ชื่อว่าบำเพ็ญกุศลธรรม เพื่อบรรลุสภาวะอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท หรือมีปกติเห็นภัยในความประมาท ไม่อาจเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้อปริหานิยสูตรที่ ๗ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๖๐-๖๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=37 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=1050&Z=1092 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=37 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=37&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=7842 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=37&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=7842 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i031-e.php#sutta7 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i031-e2.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.037.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/04/an04-037.html https://suttacentral.net/an4.37/en/sujato https://suttacentral.net/an4.37/en/bodhi
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]