บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๘. ปฏิลีนสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้หลีกเร้น [๓๘] ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุว่า ผู้มีปัจเจกสัจจะ๑- อันบรรเทาได้ ผู้มี การแสวงหาอันสละได้ดี ผู้มีกายสังขารอันระงับได้ ผู้หลีกเร้น ภิกษุผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างไร คือ ปัจเจกสัจจะเป็นอันมาก เช่น เห็นว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลก มีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคน ละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคต๒- เกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิด อีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ เหล่านั้นทั้งหมดของสมณะและพราหมณ์จำนวนมาก @เชิงอรรถ : @๑ ปัจเจกสัจจะ หมายถึงสัจจะที่แต่ละคนยึดถือตามความเห็นของตนว่า นี้เท่านั้นจริง @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๘/๓๓๙) @๒ ตถาคตในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้มาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน)ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า @อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตว์ (ดู ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๖๒}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. จักกวรรค ๘. ปฏิลีนสูตร
อันภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้ สละได้ คลายได้ ปล่อยวางได้ ละได้ สละคืนได้ ภิกษุผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละการใฝ่หากาม๑- ละการแสวงหาภพ๒- ระงับการ แสวงหาพรหมจรรย์ได้๓- ภิกษุผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างนี้แล ภิกษุผู้มีกายสังขารอันระงับได้๔- เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ภิกษุผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุผู้หลีกเร้น เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอัสมิมานะ๕- ได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือน ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุผู้หลีกเร้น เป็นอย่างนี้แล เราเรียกภิกษุว่า ผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ ผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี ผู้มีกายสังขารอันระงับได้ ผู้หลีกเร้น ด้วยประการฉะนี้ @เชิงอรรถ : @๑ ละการใฝ่กาม หมายถึงละได้ด้วยอนาคามิมรรค (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๘/๓๓๙) @๒ ละการแสวงหาภพ หมายถึงละได้ด้วยอรหัตตมรรค (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๘/๓๓๙) @๓ ระงับการแสวงหาพรหมจรรย์ได้ หมายถึงอัธยาศัยจิตใจที่มุ่งแสวงหาพรหมจรรย์ในชั้นสูงระงับไปด้วย @อรหัตตมรรค คือ เมื่อบรรลุอรหัตตผลแล้วก็ไม่ต้องแสวงหาพรหมจรรย์ต่อไป แต่การแสวงหาพรหมจรรย์ @ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิจะระงับไปด้วยโสดาปัตติมรรค (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๘/๓๓๙) @๔ มีกายสังขารอันระงับได้ หมายถึงลมหายใจเข้า ลมหายใจออกระงับไป คือ มีอยู่เหมือนไม่มีด้วยอำนาจ @จตุตถฌาน (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๘/๓๓๙) @๕ อัสมิมานะ หมายถึงมานะ (ความสำคัญตนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) ๙ ประการ คือ (๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขา @สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา (๓) เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัว @ว่าด้อยกว่าเขา (๔) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา @(๖) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าด้อยกว่าเขา (๗) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘) เป็นผู้ด้อย @กว่าเขา สำคัญว่าเสมอเขา (๙) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา สำคัญตัวว่าด้อยกว่าเขา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๘/๓๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๖๓}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. จักกวรรค ๙. อุชชยสูตร
การใฝ่หากาม การแสวงหาภพ และการแสวงหาพรหมจรรย์ อันภิกษุในธรรมวินัยนี้สละได้เด็ดขาดแล้ว การยึดถือว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้จริงอันเป็นพื้นฐานแห่งทิฏฐิ ภิกษุถอนขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุผู้คลายกำหนัดได้ทั้งหมด หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา ชื่อว่าสละคืนการแสวงหา ถอนรากฐานแห่งทิฏฐิได้ ภิกษุนั้นแลเป็นผู้สงบ มีสติ สงบระงับ ไม่พ่ายแพ้ ชื่อว่าเป็นพุทธะ เพราะละมานะได้ เราเรียกว่า ผู้หลีกเร้นปฏิลีนสูตรที่ ๘ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๖๒-๖๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=38 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=1093&Z=1128 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=38 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=38&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=7849 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=38&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=7849 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i031-e.php#sutta8 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i031-e2.php#sutta8 https://suttacentral.net/an4.38/en/sujato https://suttacentral.net/an4.38/en/bodhi
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]