ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๖. อัปปัสสุตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มีสุตะน้อย
[๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวก๓- ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้มีสุตะน้อยทั้งไม่เข้าถึงสุตะ ๒. บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่เข้าถึงสุตะ ๓. บุคคลผู้มีสุตะมาก แต่ไม่เข้าถึงสุตะ ๔. บุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเข้าถึงสุตะ บุคคลผู้มีสุตะน้อยทั้งไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ ถึงความเชี่ยวชาญในจิต คือ ถึงความมีวสีแห่งจิต ในที่นี้หมายถึงพระอนาคามี @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕/๒๘๑) @ ผู้ถึงฝั่ง ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพเท่านั้น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕/๒๘๑) @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๘๙/๒๑๖-๒๑๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. ภัณฑคามวรรค ๖. อัปปัสสุตสูตร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ๑- น้อย ทั้งเขาก็หารู้อรรถ๒- รู้ธรรม๓- แห่งสุตะ น้อยนั้นแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะน้อยทั้งไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละน้อย แต่ เขารู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้นแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะ น้อย แต่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้มีสุตะมาก แต่ไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละมาก แต่เขาหารู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะมากนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะมาก แต่ไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ นวังคสัตถุสาสน์ คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ คือ (๑)สุตตะ ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ @ปริวาร พระสูตรในสุตตนิบาต และพุทธวจนะอื่นๆ ที่มีชื่อว่าสุตตะ หรือสุตตันตะ (๒)เคยยะ ได้แก่ @ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน หมายถึงพระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะสคาถวรรคใน @สังยุตตนิกาย (๓)เวยยากรณะ ได้แก่ ความร้อยแก้วล้วน หมายเอาอภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตร @ที่ไม่มีคาถา และพุทธพจน์อื่นใดที่ไม่จัดเข้าในองค์ ๘ ข้อที่เหลือ (๔)คาถาได้แก่ ความร้อยกรองล้วน @หมายเอาธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร (๕)อุทาน @ได้แก่ พระคาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระทัยอันสหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ พร้อมทั้งข้อความ @อันประกอบอยู่ด้วย รวมเป็นพระสูตร ๘๒ สูตร (๖)อิติวุตตกะได้แก่ พระสูตร ๑๑๐ สูตรที่ตรัสโดย @นัยว่า “วุตฺตํ เหตํ ภควตา” (๗)ชาตกะ ได้แก่ ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดก เป็นต้น @(๘)อัพภูตธรรม ได้แก่ พระสูตรที่ว่าด้วยเหตุอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏทุกสูตร เช่น ที่ตรัสว่า “ภิกษุ @ทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้มีอยู่ในอานนท์” ดังนี้เป็นต้น (๙)เวทัลละ ได้แก่ @พระสูตรแบบถามตอบซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้และความพอใจ ถามต่อๆ ไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหา- @เวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาชนิยสูตร และมหาปุณณมสูตร @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖/๒๘๒, วิ.อ. ๑/๒๖) @ อรรถ ในที่นี้หมายถึงอรรถกถา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖/๒๘๒) @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงบาลี (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖/๒๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. ภัณฑคามวรรค ๖. อัปปัสสุตสูตร

บุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเข้าถึงสุตะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละมาก ทั้งเขาก็รู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะมากนั้น แล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ถ้าบุคคลมีสุตะน้อย ทั้งไม่ตั้งมั่นในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียนเขา ทั้งในด้านศีลและสุตะ ถ้าบุคคลแม้มีสุตะน้อย แต่ตั้งมั่นดีในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในด้านศีล แต่สุตะของเขาไม่สมบูรณ์ ถ้าบุคคลแม้มีสุตะมาก แต่ไม่ตั้งมั่นในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียนเขาในด้านศีล แต่สุตะของเขาสมบูรณ์ ถ้าบุคคลมีสุตะมาก ทั้งตั้งมั่นดีในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขา ทั้งในด้านศีลและสุตะ ใครเล่าจะสามารถติเตียนเขาผู้มีสุตะมาก ทรงธรรม มีปัญญา เป็นพุทธสาวก ผู้เป็นเหมือนแท่งทองชมพูนุท๑- แม้เทวดาและมนุษย์ก็สรรเสริญเขา ถึงพรหมก็สรรเสริญเขา
อัปปัสสุตสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ ทองชมพูนุท หมายถึงทองคำบริสุทธิ์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖/๒๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๙-๑๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=6              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=134&Z=164                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=6              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=6&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6518              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=6&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6518                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i001-e.php#sutta6 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i001-e2.php#sutta6 https://suttacentral.net/an4.6/en/sujato https://suttacentral.net/an4.6/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :