![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. อสุรวรรค ๑. อสุรสูตร
๕. อสุรวรรค หมวดว่าด้วยบุคคลเหมือนอสูรและเทวดา ๑. อสุรสูตร ว่าด้วยบุคคลเหมือนอสูรและเทวดา [๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนอสูร ๒. บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนเทวดา ๓. บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนอสูร ๔. บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนเทวดา บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนอสูร เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม แม้พวกพ้องของเขา ก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนอสูร เป็นอย่างนี้แล บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนเทวดา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม แต่พวกพ้องของเขา เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม๑- บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนเทวดา เป็นอย่างนี้แล บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนอสูร เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่พวกพ้องของเขา เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนอสูร เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @๑ กัลยาณธรรมหมายถึงธรรมดีหรือธรรมที่สะอาด เพราะกำจัดธรรมที่ไม่สะอาดมีราคะเป็นต้นได้ (องฺ.ทุก.อ. @๒/๔๙/๕๕, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๗๘/๓๖๑, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๗๘/๓๙๓ [อีกนัยหนึ่ง หมายถึงเบญจธรรม ธรรม ๕ @ประการ คือ (๑) เมตตากรุณา (๒) สัมมาอาชีวะ (๓) กามสังวร (สำรวมในกาม) (๔) สัจจะ (๕) สติ- @สัมปชัญญะ บางแห่งว่าแปลกไปบางข้อ คือ (๒) ทาน (๓) สทารสันโดษ (พอใจเฉพาะภรรยาของตน) @(๕) อัปปมาทะ (ความไม่ประมาท) และธรรม ๕ ประการนี้ควรประพฤติคู่กันไปกับการรักษาเบญจศีล] {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๓๙}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. อสุรวรรค ๒. ปฐมสมาธิสูตร
บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนเทวดา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แม้พวกพ้องของเขา ก็เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนเทวดา เป็น อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลกอสุรสูตรที่ ๑ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๓๙-๑๔๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=91 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=2501&Z=2524 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=91 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=91&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8461 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=91&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8461 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i091-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i091-e2.php# https://suttacentral.net/an4.91/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]