![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
๑๐. ขันธสูตร ว่าด้วยผู้พิจารณาเห็นความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ [๙๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว๑- ๒. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก๒- ๓. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม๓- ๔. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ๔- บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตตมรรค ปรารถนาผลที่ ยอดเยี่ยมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนา @เชิงอรรถ : @๑ หมายถึงเสขบุคคลผู้อยู่ด้วยความประมาท อยู่อย่างไม่ปรารภความเพียรเพื่ออรหัตตผล @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๐/๓๖๖) @๒ หมายถึงเสขบุคคลผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เริ่มทำวิปัสสนา แต่ยังไม่ได้ฌาน (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๐/๓๖๖) @๓ หมายถึงเสขบุคคลผู้เริ่มทำวิปัสสนา อยู่ด้วยความไม่ประมาทได้วิโมกข์ ๘ ประการ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๐/๓๖๖) @๔ หมายถึงพระขีณาสพผู้มีความละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๐/๓๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๓๗}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. มจลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เป็นดังนี้ ... สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารเป็นดังนี้ ... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิด ขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ แต่เธอไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนา เป็นดังนี้ ... สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารเป็นดังนี้ ... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้น แห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ และเธอได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใครขอร้อง ย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย ฯลฯ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึง เรานั้นแลว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เพราะเรามีคนขอร้องเท่านั้น จึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใครขอร้องย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลกขันธสูตรที่ ๑๐ จบ มจลวรรคที่ ๔ จบ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ปาณาติปาตสูตร ๒. มุสาวาทสูตร ๓. อวัณณารหสูตร ๔. โกธครุสูตร ๕. ตโมตมสูตร ๖. โอณโตณตสูตร ๗. ปุตตสูตร ๘. สังโยชนสูตร ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร ๑๐. ขันธสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๓๘}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๓๗-๑๓๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=90 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=2465&Z=2500 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=90 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=90&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8454 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=90&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8454 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i081-e.php#sutta10 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i081-e2.php#sutta10 https://suttacentral.net/an4.90/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]