![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
๕. ผาสุวิหารสูตร ว่าด้วยผาสุวิหารธรรม๑- [๑๐๕] ภิกษุทั้งหลาย ผาสุวิหารธรรม ๕ ประการนี้ ผาสุวิหารธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ตั้งมั่นกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๒. ตั้งมั่นวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง @เชิงอรรถ : @๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๙๔ (ผาสุวิหารสูตร) หน้า ๑๖๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๘๒}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. ผาสุวิหารวรรค ๖. อานันทสูตร
๓. ตั้งมั่นมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๔. มีศีล๑- ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อน พรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๕. มีอริยทิฏฐิ๒- อันเป็นธรรมเครื่องนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้ทำตามเสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง ภิกษุทั้งหลาย ผาสุวิหารธรรม ๕ ประการนี้แลผาสุวิหารสูตรที่ ๕ จบ ๖. อานันทสูตร ว่าด้วยพระอานนท์ [๑๐๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง โกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ๑. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์พึงอยู่ผาสุกด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อานนท์ ภิกษุ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และไม่ติเตียนผู้อื่นเพราะอธิศีล แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์ก็พึงอยู่ผาสุกได้ ๒. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เหตุอื่นที่ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์พึงอยู่ผาสุกก็มี อยู่หรือ มี อานนท์ ภิกษุ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ไม่ติเตียนผู้อื่นเพราะอธิศีล และเป็นผู้ใส่ใจตนเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์ก็พึงอยู่ผาสุกได้ @เชิงอรรถ : @๑ ศีล ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๕/๔๗) @๒ อริยทิฏฐิ ในที่หมายถึงวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๕/๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๘๓}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=105 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=3048&Z=3059 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=105 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=105&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1047 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=105&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1047 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i101-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/an5.105/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]