ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. คิลานวรรค ๔. ทุติยอุปัฏฐากสูตร

๔. ทุติยอุปัฏฐากสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรและไม่ควรพยาบาลภิกษุไข้ สูตรที่ ๒
[๑๒๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ไม่ควรพยาบาลภิกษุไข้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่สามารถ๑- จัดยา ๒. ไม่ทราบสิ่งที่เป็นสัปปายะและสิ่งที่ไม่เป็นสัปปายะ นำสิ่งที่ไม่เป็น สัปปายะเข้ามา นำสิ่งที่เป็นสัปปายะออกไป ๓. เห็นแก่อามิส๒- พยาบาล ไม่มีจิตเมตตาพยาบาล ๔. รังเกียจที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน หรือน้ำลายออกไปทิ้ง ๕. ไม่สามารถชี้แจงให้ภิกษุไข้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ตามกาลอันควร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรพยาบาลภิกษุไข้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควรพยาบาลภิกษุไข้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สามารถจัดยา ๒. ทราบสิ่งที่เป็นสัปปายะ และสิ่งที่ไม่เป็นสัปปายะ นำสิ่งที่ไม่เป็น สัปปายะออกไป นำสิ่งที่เป็นสัปปายะเข้ามา @เชิงอรรถ : @ ไม่สามารถ ในที่นี้หมายถึงไม่มีกำลังกายที่จะปรุงยา และไม่มีความรู้ที่จะจัดยา (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๒๔/๔๙) @ เห็นแก่อามิส หมายถึงหวังลาภสักการะมีจีวรเป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๒๔/๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๐๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. คิลานวรรค ๕. ปฐมอนายุสสาสูตร

๓. มีจิตเมตตาพยาบาล ไม่เห็นแก่อามิสพยาบาล ๔. ไม่รังเกียจที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน หรือน้ำลายออกไปทิ้ง ๕. สามารถชี้แจงให้ภิกษุไข้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ตามกาลอันควร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ควรพยาบาลภิกษุไข้
ทุติยอุปัฏฐากสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=124              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=3366&Z=3383                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=124              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=124&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1107              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=124&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1107                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i121-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an5.124/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :