บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร ว่าด้วยอุบายกำจัดอาฆาต สูตรที่ ๒ [๑๖๒] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มี อายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้ กล่าวเรื่องนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการนี้ เป็นเครื่องกำจัดอาฆาตที่ เกิดขึ้นแก่ภิกษุได้อย่างสิ้นเชิง อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ แต่มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ๒. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ๓. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ได้ช่องแห่งใจ๑- ได้ความ เลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร @เชิงอรรถ : @๑ ได้ช่องแห่งใจ หมายถึงได้โอกาสให้วิปัสสนาจิตเกิดขึ้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๒/๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๖๖}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๒. อาฆาตวรรค ๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
๔. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ และไม่ได้ช่องแห่งใจ ไม่ได้ ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร ๕. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ และได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใส ทางใจตามกาลอันควร บรรดาบุคคล ๕ จำพวกนั้น ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ แต่มี ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ อย่างไร คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ แต่มีความประพฤติทาง วาจาบริสุทธิ์ ความประพฤติทางกายที่ไม่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุไม่พึงใส่ใจ ส่วนนั้นในเวลานั้น ส่วนความประพฤติทางวาจาที่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุก็พึง ใส่ใจแต่ส่วนนั้นในเวลานั้น เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร พบผ้าเก่า ที่ถนน เหยียบให้มั่นด้วยเท้าซ้าย เขี่ยออกดูด้วยเท้าขวา ส่วนใดยังใช้ได้ก็เลือกถือ เอาส่วนนั้นแล้วจากไป ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้ ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่มี ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ อย่างไร คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่มีความประพฤติทางกาย บริสุทธิ์ ความประพฤติทางวาจาที่ไม่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุไม่พึงใส่ใจส่วนนั้น ในเวลานั้น ส่วนความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุก็พึงใส่ใจแต่ ส่วนนั้นในเวลานั้น เปรียบเหมือนสระน้ำที่ถูกสาหร่ายและแหนคลุมไว้ คนเดินทาง มาถูกความร้อนกระทบ ร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน กระหายน้ำ เขาจึงลงสระน้ำนั้น แหวกสาหร่ายและแหนด้วยมือทั้งสองแล้วกอบน้ำขึ้นดื่มแล้วจึงจากไป ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๖๗}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๒. อาฆาตวรรค ๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความ ประพฤติทางวาจาก็ไม่บริสุทธิ์ แต่ได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใสทางใจตาม กาลอันควร อย่างไร คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจา ไม่บริสุทธิ์ แต่ได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร ความประพฤติ ทางกายที่ไม่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุไม่พึงใส่ใจส่วนนั้นในเวลานั้น แม้ความ ประพฤติทางวาจาที่ไม่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุก็ไม่พึงใส่ใจส่วนนั้นในเวลานั้น แต่การได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควรของเขาส่วนใด ภิกษุพึง ใส่ใจแต่ส่วนนั้นในเวลานั้น เปรียบเหมือนน้ำเล็กน้อยในรอยเท้าโค คนเดินทางมา ถูกความร้อนกระทบ ร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน กระหายน้ำ เขาเกิดความคิด อย่างนี้ว่า น้ำเล็กน้อยมีอยู่ในรอยเท้าโคนี้ ถ้าเราจักกอบขึ้นดื่ม หรือใช้ภาชนะ ตักดื่ม ก็จักทำน้ำนั้นให้ไหวบ้าง ให้ขุ่นบ้าง ให้ไม่ควรดื่มบ้าง ทางที่ดี เราควรจะ คุกเข่าก้มลงดื่มอย่างโคแล้วจึงค่อยไปเถิด เขาจึงคุกเข่าก้มลงดื่มอย่างโคแล้วจึงจากไป ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้ ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความ ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ และไม่ได้ช่องแห่งใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสทางใจ ตามกาลอันควร อย่างไร คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจา ไม่บริสุทธิ์ และไม่ได้ช่องแห่งใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร ภิกษุพึง เข้าไปตั้งความกรุณา ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ในบุคคลแม้เช่นนี้ว่า โอ ท่านผู้นี้ พึงละกายทุจริตแล้วเจริญกายสุจริต พึงละวจีทุจริตแล้วเจริญวจีสุจริต พึงละ มโนทุจริตแล้วเจริญมโนสุจริต ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้นี้หลังจากตายแล้ว อย่าไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เปรียบเหมือนคนเจ็บป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก เดินทางไกล แม้ข้างหน้าเขาก็มีบ้านอยู่ห่างไกล แม้ข้างหลังเขาก็มีบ้านอยู่ห่างไกล เขาไม่ได้อาหารที่เป็นสัปปายะ ยาที่ตรงกับโรค คนพยาบาลที่เหมาะสม และผู้ที่จะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๖๘}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๒. อาฆาตวรรค ๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
นำทางไปสู่บ้าน คนบางคนที่เดินทางไกลพึงเห็นเขา จึงเข้าไปตั้งความกรุณา ความ เอ็นดู ความอนุเคราะห์ในเขาว่า โอ ท่านผู้นี้ควรจะได้อาหารที่เป็นสัปปายะ ยาที่ตรง กับโรค คนพยาบาลที่เหมาะสม และผู้นำทางไปสู่บ้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า ท่านผู้นี้อย่าถึงความพินาศเสียหาย ณ ที่นี้เลย ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้ ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความ ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ และได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาล อันควร อย่างไร คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจา บริสุทธิ์ ได้ช่องแห่งใจและได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร แม้ความประพฤติ ทางกายที่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุพึงใสใจส่วนนั้นในเวลานั้น แม้ความ ประพฤติทางวาจาที่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุก็พึงใส่ใจส่วนนั้นในเวลานั้น แม้การ ได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควรของเขาส่วนใด ภิกษุก็พึงใส่ใจ ส่วนนั้นในเวลานั้น เปรียบเหมือนสระน้ำที่ใส จืดสนิท เย็น สะอาด มีท่าเทียบ น่ารื่นรมย์ ดาดาษไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ คนเดินทางมา ถูกความร้อนกระทบ ร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน กระหายน้ำ เขาพึงลงสระน้ำนั้น อาบบ้าง ดื่มบ้าง แล้วขึ้นมา นั่งบ้าง นอนบ้าง ที่ร่มไม้ใกล้สระน้ำนั้น ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยบุคคลที่น่าเลื่อมใส จิตจึงเลื่อมใส อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการนี้แล เป็นเครื่องกำจัดอาฆาตที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ ได้อย่างสิ้นเชิงทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตรที่ ๒ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๖๙}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๖๖-๒๖๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=162 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=4342&Z=4422 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=162 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=162&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1367 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=162&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1367 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i161-e.php#sutta2 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.162.than.html https://suttacentral.net/an5.162/en/sujato https://suttacentral.net/an5.162/en/thanissaro
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]