ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๙. คิหิสูตร
ว่าด้วยคฤหัสถ์
[๑๗๙] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี มีอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนแวดล้อม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า สารีบุตร เธอทั้งหลายพึง รู้จักคฤหัสถ์คนหนึ่งผู้นุ่งห่มผ้าขาว มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการ และเป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน๑- อันมีในจิตยิ่ง๒- ๔ ประการ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก และคฤหัสถ์นั้นเมื่อหวังอยู่ก็พึง พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว @เชิงอรรถ : @ ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นชื่อของรูปาวจรฌาน และรูปาวจรฌานนี้เอง ที่เรียกว่าเป็น @ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นเหตุให้ท่านผู้บำเพ็ญฌานได้ประสพเนกขัมมสุขที่ไม่เศร้าหมอง @ในอัตภาพปัจจุบัน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๘-๖๙) @ จิตยิ่ง (อภิเจตสิก) ในที่นี้หมายถึงจิตที่ยอดเยี่ยม(อุตตมจิต) ได้แก่จิตที่บริสุทธิ์(วิสุทธจิต) @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๘-๖๙, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๗๙/๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๙๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร

มีเปตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายสิ้นแล้ว มีทุคติสิ้นแล้ว มีวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๑- ในวันข้างหน้า’ คฤหัสถ์เป็นผู้มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท คฤหัสถ์เป็นผู้มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการนี้ คฤหัสถ์เป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก อะไรบ้าง คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้ มีพระภาค’ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง ประการที่ ๑ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งจิตที่ ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ผ่องแผ้ว @เชิงอรรถ : @ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๓ เบื้องสูง คือสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๒, ที.สี.อ. ๓๗๓/๒๘๑, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๐๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร

๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึง เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม เข้ามาในตน๑- อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็น สุขในปัจจุบัน อันมีในจิตยิ่งประการที่ ๒ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งจิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต ที่ยังไม่ผ่องแผ้ว ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็น นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันมีในจิตยิ่งประการที่ ๓ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความ หมดจดแห่งจิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ ผ่องแผ้ว ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่๒- ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันมีในจิต ยิ่งประการที่ ๔ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความหมดจดแห่ง จิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ผ่องแผ้ว คฤหัสถ์ผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการนี้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก @เชิงอรรถ : @ ควรน้อมเข้ามาในตน หมายถึงควรน้อมเข้ามาสู่จิตของตนหรือควรน้อมเข้ามาเพื่อการปฏิบัติ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘) @ ศีลที่พระอริยะใคร่ ในที่นี้หมายถึงศีลในอริยมรรค ศีลในอริยผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๐๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร

สารีบุตร พวกเธอพึงรู้จักคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่งผู้นุ่งห่มผ้าขาว มีการงาน สำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการ และเป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการนี้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก และคฤหัสถ์นั้นเมื่อหวังอยู่ ก็พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรก สิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายสิ้นแล้ว มีทุคติ สิ้นแล้ว และมีวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ บัณฑิตเห็นภัยในนรกแล้ว พึงเว้นบาปเสีย สมาทานอริยธรรม๑- แล้ว พึงเว้นบาปเสีย ก็ในเมื่อมีความพยายามอยู่ ไม่พึงเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวเท็จทั้งที่รู้ ไม่พึงหยิบฉวยสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ พึงยินดีภริยาของตน ไม่พึงยินดีภริยาผู้อื่น ไม่พึงดื่มสุราเมรัย๒- เครื่องยังจิตให้หลงไหล พึงระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพึงตรึกถึงพระธรรม๓- พึงเจริญจิตอันปราศจากพยาบาท๔- เพื่อเกื้อกูลแก่เทวโลก ทักษิณาที่ผู้ต้องการบุญแสวงหาบุญอยู่ให้แล้วในสัตบุรุษ๕- เป็นอันดับแรก @เชิงอรรถ : @ อริยธรรม ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๒ (จุนทีสูตร) หน้า ๔๙ ในเล่มนี้ @ ตรึกถึงพระธรรม ในที่นี้หมายถึงระลึกถึงโลกุตตรธรรม ๙ ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙) @ จิตอันปราศจากพยาบาท ในที่นี้หมายถึงพรหมวิหารจิตมีเมตตาจิตเป็นต้น ที่ไม่มีทุกข์ @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙) @ สัตบุรุษ ในที่นี้หมายถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๐๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร

ในเมื่อไทยธรรมมีอยู่พร้อม ย่อมมีผลไพบูลย์ สารีบุตร เราจักบอกสัตบุรุษให้ จงฟังคำของเรา โคผู้ที่ฝึกแล้วเป็นโคใช้งานที่สมบูรณ์ด้วยกำลัง มีเชาวน์ดี และเป็นสัตว์ที่ซื่อตรง จะเกิดในสีสันใดๆ คือ สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว สีด่าง สีตามธรรมชาติของตน สีเหมือนโคธรรมดา หรือสีเหมือนนกพิราบก็ตาม ชนทั้งหลายเทียมมันเข้าในแอก ไม่คำนึงถึงสีสันของมัน ฉันใด ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว มีความประพฤติดีงาม ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล พูดคำสัตย์ มีใจประกอบด้วยหิริ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะเกิดในหมู่มนุษยชาติใดๆ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะก็ตาม ก็ละความเกิดและความตายได้ มีพรหมจรรย์บริบูรณ์ ปลงภาระได้แล้ว ไม่ประกอบด้วยกิเลส ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ รู้จบธรรมทุกอย่าง๑- ดับสนิทเพราะไม่ถือมั่น ในเขตที่ปราศจากธุลี๒- เช่นนั้นแล ทักษิณาย่อมมีผลมาก @เชิงอรรถ : @ ธรรมทุกอย่าง ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑) @ ปราศจากธุลี หมายถึงไม่มีธุลี คือ ราคะ โทสะ และโมหะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๐๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. อุปาสกวรรค ๑๐. ภเวสีสูตร

คนพาลไม่รู้แจ้ง๑- ไม่มีปัญญา ไม่ได้สดับรับฟัง ย่อมให้ทานภายนอก๒- ไม่เข้าไปหาสัตบุรุษ ส่วนเหล่าชนผู้มีศรัทธาหยั่งลงตั้งมั่นในพระสุคต ย่อมเข้าไปหาสัตบุรุษผู้มีปัญญา ที่เขายกย่องกันว่าเป็นนักปราชญ์ ท่านเหล่านั้นผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไปสู่เทวโลก หรือไม่ก็เกิดในตระกูลดีในโลกนี้ และบรรลุนิพพานได้โดยลำดับ
คิหิสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ภเวสีสูตร
ว่าด้วยภเวสีอุบาสก
[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ขณะที่เสด็จพระดำเนินไปตามหนทางไกล ได้ทอดพระเนตรเห็น ป่าสาละใหญ่ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง จึงทรงแวะลงจากทางเสด็จเข้าไปสู่ป่าสาละนั้น ครั้นเสด็จถึงแล้วจึงได้ทรงแสดงการแย้ม๓- ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้คิดว่า “อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอาการแย้ม พระตถาคตย่อมไม่ทรงแสดงอาการแย้มให้ปรากฏโดยไม่มีเหตุ” จึงได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอาการแย้ม พระตถาคตย่อมไม่ทรงแสดงอาการแย้มโดย ไม่มีเหตุ” @เชิงอรรถ : @ ไม่รู้แจ้ง ในที่นี้หมายถึงไม่รู้จักนาบุญ หรือเขตบุญ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑) @ ภายนอก ในที่นี้หมายถึงนอกพุทธศาสนา (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑) @ แสดงอาการแย้ม หมายถึงการยิ้มน้อยๆ เพียงเห็นไรฟัน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๘๐/๖๙-๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๐๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๙๙-๓๐๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=179              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=4922&Z=4994                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=179              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=179&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1532              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=179&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1532                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i171-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.179.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/05/an05-179.html https://suttacentral.net/an5.179/en/sujato https://suttacentral.net/an5.179/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :