บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๓. สีลสูตร ว่าด้วยศีล [๒๑๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ มีโทษ ๕ ประการนี้ โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติในธรรมวินัยนี้ ย่อมถึงความเสื่อมโภคทรัพย์ เป็นอันมาก ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษประการที่ ๑ ของ บุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ ๒. กิตติศัพท์อันชั่วของบุคคลผู้ทุศีลย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็นโทษประการ ที่ ๒ ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ ๓. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติจะเข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัท ก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมไม่แกล้วกล้า เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นโทษประการที่ ๓ ของบุคคล ผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ ๔. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมหลงลืมสติตาย นี้เป็นโทษประการที่ ๔ ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ ๕. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษประการที่ ๕ ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ มีโทษ ๕ ประการนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๕๕}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]
๒. อักโกสกวรรค ๓. สีลสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้ อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีโภคทรัพย์เป็น อันมาก ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล ๒. กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลย่อมขจรไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล ๓. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล จะเข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติย- บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัท ก็ตาม ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล ๔. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมไม่หลงลืมสติตาย นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๔ ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล ๕. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติ โลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ ของบุคคลผู้มีศีลเพราะ สมบูรณ์ด้วยศีล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีลมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แลสีลสูตรที่ ๓ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๕๖}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๕๕-๓๕๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=213 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=5901&Z=5927 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=213 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=213&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1958 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=213&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1958 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i211-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an5.213/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]